Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/77753
Title: การพัฒนาสารเคลือบเชลเล็กเพื่อยืดอายุ การเก็บรักษามะม่วงน้ำดอกไม้และมังคุด
Other Titles: Development of shellac coating for extending shelf-life of mango (cv.namdokmai) and mangosteen
Authors: ผ่องเพ็ญ อรรคสีวร
Advisors: โศรดา กนกพานนท์
อภิตา บุญศิริ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Subjects: สารเคลือบผิวเพื่อป้องกัน
มะม่วง
มังคุด
Protective coatings
Mango
Mangosteen
Issue Date: 2548
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การพัฒนาสารเคลือบที่มีองค์ประกอบหลักคือเชลแล็ก เพื่อเคลือบผิวผลไม้เขตร้อนสองชนิดคือมะม่วงน้ำดอกไม้และมังคุด โดยมีสูตรพื้นฐานคือสูตร Lab-a ประกอบด้วยสารประกอบหลักคือเชลแล็ก และกรดโอเลอิก 15 และ 1 เปอร์เซ็นต์ (โดยน้ำหนัก) ตามลำดับ และพัฒนาเป็นสูตร Lab-b ซึ่งองค์ประกอบเหมือนสูตร Lab-a แต่มีการเติมพอลิเอทิลีนไกคอลและซิลิโคนออย 10 และ 0.1 เปอร์เซ็นต์ (โดยน้ำหนัก) ตามลำดับ ทำการทดสอบประสิทธิภาพของสารเคลือบที่เตรียมขึ้นกับสารเคลือบทางการค้าที่นำเข้าจาก ต่างประเทศคือ Teva โดยการนำไปพ่นเคลือบมังคุดในอัตรา 20 มิลลิลิตรต่อกิโลกรัม ทำการทดสอบที่สอง สภาวะคือที่อุณหภูมิห้อง (30+5°C) และอุณหภูมิ 13+1 ˚C พบว่ามังคุดที่เก็บรักษาที่อุณหภูมิ 13+1 ˚c สามารถเก็บรักษาได้นานกว่าการเก็บรักษาที่อุณหภูมิห้องประมาณ 2 สัปดาห์ เมื่อเปรียบเทียบลักษณะทาง คุณภาพของมังคุดระหว่างกลุ่มที่ไม่ได้เคลือบและเคลือบ พบว่าการเคลือบสามารถเพิ่มความสวยงาม มันเงา น่ารับประทานให้กับมังคุด สามารถลดการสูญเสียน้ำหนัก ชะลอการเหี่ยวของกลีบเลี้ยง ชะลอการ ลดลงของความแข็งเปลือก ลดอัตราการหายใจและการผลิตเอทิลีนในผลิตผล และไม่ทำให้เกิดอาการ ผิดปกติกับกลิ่นและรสชาติ โดยมังคุดที่เคลือบด้วยสูตร Lab-a ให้ประสิทธิภาพดีที่สุด ผลไม้เขตร้อนอีก ชนิดที่นำมาทดสอบประสิทธิภาพของสารเคลือบคือมะม่วง ทดสอบโดยพ่นสารเคลือบสูตร Lab-a lab-c (องค์ประกอบหลักเหมือน Lab-a แต่ลดปริมาณเชลแล็กลงเหลือ 10 เปอร์เซ็นต์ (โดยน้ำหนัก) และ Teva ในอัตรา 20 มิลลิลิตรต่อกิโลกรัม ทำการทดสอบที่สองสภาวะคือเก็บรักษาที่อุณหภูมิห้อง (25+5 ˚C) และ 12+1˚C พบว่าการเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 12+1˚c สามารถเก็บรักษามะม่วงได้นานกว่าการเก็บรักษาที่ อุณหภูมิห้องประมาณ 2 สัปดาห์ และการเคลือบสามารถเพิ่มความมันเงา ลดการสูญเสียน้ำหนัก ชะลอการ ลดลงของเปอร์เซ็นต์กรค และลดอัตราการหายใจได้ โดยสารเคลือบสูตร Lab-c ให้ประสิทธิภาพดีที่สุด การขึ้นรูปสารเคลือบเพื่อทดสอบสมบัติของฟิล์มพบว่าสารเคลือบทางการค้าและสูตร Lab-b ไม่สามารถ ขึ้นรูปฟิล์มได้ เมื่อวัดสมบัติทางความร้อนพบว่าสารเคลือบที่เตรียมได้ในห้องปฏิบัติการมีอุณหภูมิเปลี่ยน สถานะคล้ายแก้วอยู่ระหว่าง 31 ถึง 35 ˚C ซึ่งต่ำกว่าสารเคลือบทางการค้า Teva ที่มีอุณหภูมิเปลี่ยนสถานะคล้ายแก้วเท่ากับ 59 ˚C ส่วนค่าความทนดึงของฟิล์มทั้งสามสูตรคือ Lab-a Lab-c และ Lab-d มีค่าเท่ากับ 242.54 218.96 และ 50.32 MPa ตามลำดับ เปอร์เซ็นต์การยืดตัวเท่ากับ 2.99 2.73 และ 5.83 % ตามลำดับ และค่าความสามารถในการแพร่ผ่านของไอน้ำของฟิล์มเคลือบที่เตรียมโดยใช้เทคนิคการหล่อฟิล์มทั้งสาม สูตร (Lab-a Lab-c และ Lab-d) มีค่าเท่ากับ 4.29 13.24 และ 18.13 g-m/m2-S-Pa ตามลำดับ
Other Abstract: Shellac based coating formulations for extending shelf-life for two tropical fruits, mango (cv. Namdokmai) and mangosteen were evaluated. Formulations Lab-a (shellac 15 %(w/w) and oleic acid 1 %(w/w)) and Lab-b (Lab-a with PEG and silicone oil 10 and 0.1 %(w/w) respectively) were tested in comparison with Teva, a commercial coating formula, for their efficacy in extending the shelf-life of mangosteen. Mangosteenes were coated (sprayed) with the formulated solutions at 20 ml solutions/1 kg and were stored at two conditions, room temperature (30+5˚C) and 13+1 ˚C. Storage at 13+1 °C prolonged mangosteens's shelf-life by 2 weeks over those stored at the room temperature. The most effective formula for coating mangosteen was Lab-a. Qualities of coated mangosteenes were superior to those of the control (non coating) group. Coating with Lab-a improved gloss, reduced weight loss, delay calyx wrinkle and pericarp's softening, reduced respiration rate and ethylene production. Mangoes were coated with either Lab-a, Lab-c (10 %(w/w) shellac) or Teva stored either at room temperature (25+5°C) or at 12 ˚C Storage at 12 ˚C prolonged the mangoes's shelf-life by 2 weeks over those stored at the room temperature. Lab-c was the best formulation for keep qualities of mangoes. Coating with Lab-c increased gloss, improved appearances, reduced weight loss, percent titrable acidity, and respiration rate. Films of coating formulation containing shellac 5-15 %(w/w) had glass transition temperature (Tg) ranged from 31 - 35 °C while Teva had a Tg of 59 ˚C. Tensile strength of the formulated films ranged from 50 - 242 MPa, percent elongation ranged from 2.73– 5.83% and water vapor permeability ranged from 4.29 - 18.13 g-m/m2 -S-Pa.
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมเคมี
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/77753
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2005.1933
ISSN: 9741747233
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2005.1933
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pongpen_ac_front_p.pdfหน้าปกและบทคัดย่อ1.3 MBAdobe PDFView/Open
Pongpen_ac_ch1_p.pdfบทที่ 1785.07 kBAdobe PDFView/Open
Pongpen_ac_ch2_p.pdfบทที่ 22.6 MBAdobe PDFView/Open
Pongpen_ac_ch3_p.pdfบทที่ 31.29 MBAdobe PDFView/Open
Pongpen_ac_ch4_p.pdfบทที่ 45.56 MBAdobe PDFView/Open
Pongpen_ac_ch5_p.pdfบทที่ 5687.22 kBAdobe PDFView/Open
Pongpen_ac_back_p.pdfบรรณานุกรมและภาคผนวก3.52 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.