Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7777
Title: | การปรับปรุงอัลกอริทึมการสร้างกรณีทดสอบแบบเอ็นเวย์ |
Other Titles: | Improvement of algorithm for n-way test case generation |
Authors: | กิติภูมิ ชัยสุวรรณ |
Advisors: | อรรถสิทธิ์ สุรฤกษ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | athasit@cp.eng.chula.ac.th |
Subjects: | ซอฟต์แวร์ -- การทดสอบ อัลกอริทึม |
Issue Date: | 2549 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การทดสอบแบบแพร์ไวส์เป็นการทดสอบซอฟต์แวร์ ที่ใช้ทดสอบทุกคู่ของค่าที่เป็นไปได้ของแต่ละพารามิเตอร์ ในขณะที่การทดสอบแบบเอ็นเวย์นั้น จะสร้างกรณีทดสอบที่ใช้ทดสอบเฉพาะกรณีที่จำเป็นเท่านั้น ในงานวิจัยนำเสนอการปรับปรุงอัลกอริทึมไอพีโอ เพื่อให้สามารถนำมาใช้ทดสอบซอฟต์แวร์แบบเอ็นเวย์ได้ ประเด็นที่จะปรับปรุงอัลกอริทึม มุ่งเน้นไปที่จำนวนกรณีทดสอบที่สร้างออกมา โดยการทดสอบในงานวิจัยนี้ จะเปรียบเทียบจำนวนกรณีทดสอบกรณีที่พารามิเตอร์ของระบบมีความสัมพันธ์เป็นแบบแพร์ไวส์ ระหว่างจำนวนกรณีทดสอบที่สร้างขึ้นจากอัลกอริทึมที่นำเสนอ กับจำนวนกรณีทดสอบที่สร้างขึ้นจากวิธีการวิเคราะห์ค่าขอบเขต วิธีการทดสอบสภาพทนทาน วิธีการทดสอบกรณีเลวร้ายที่สุด และอัลกอริทึมไอพีโอ ส่วนในกรณีที่พารามิเตอร์ของระบบมีความสัมพันธ์กันแบบเอ็นเวย์ จะเปรียบเทียบจำนวนกรณีทดสอบที่สร้างขึ้นจากอัลกอริทึมไอพีโอที่นำเสนอ กับจำนวนกรณีทดสอบที่สร้างขึ้นด้วยวิธีเออีทีจี ซึ่งผลการทดสอบ โดยเฉลี่ยแล้วจำนวนกรณีทดสอบที่สร้างขึ้นจากอัลกอริทึมที่นำเสนอ มีจำนวนน้อยกว่าหรือเท่ากับจำนวนกรณีทดสอบที่สร้างจากวิธีเออีทีจีด้วยความเชื่อมั่น 99% |
Other Abstract: | Pair-wise testing is a kind of software testing that combines all pairs of input values of each parameter while n-way testing generates only the necessary test cases. The thesis proposes an improvement version of in-parameter-order algorithm (IPO) for n-way test case generation. The concept of improvement focuses on the number of generating test cases. For pair-wise testing, the proposed algorithm is compared with boundary value analysis, robustness testing, worst-case testing and IPO. For n-way testing, the proposed algorithm is compared with AETG (Automatic efficient test generator). The result of statistical test at 99% confidence interval shows that number of test cases generated by the proposed algorithm is less than or equal to the number of test cases obtained from AETG. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิศวกรรมซอฟต์แวร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7777 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.1490 |
ISBN: | 9741425031 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2006.1490 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Eng - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Kitipoom_Ch.pdf | 1.79 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.