Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/77815
Title: Prevalence of enteric helminths and protozoa and identification of hookworm, threadworm and giardia spp. In cats in Bangkok and vicinity, Thailand
Other Titles: ความชุกของพยาธิและโปรโตซัวในทางเดินอาหารและการระบุชนิดของพยาธิปากขอ พยาธิเส้นด้าย และเชื้อจีอาร์เดีย ในแมวในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ประเทศไทย
Authors: Wanarit Jitsamai
Advisors: Woraporn Sukhumavasi
Other author: Chulalongkorn university. Faculty of Veterinary Science
Issue Date: 2019
Publisher: Chulalongkorn University
Abstract: A total of 835 fecal samples collected from client-owned and community cats between 2014 and 2016 were subjected to wet fecal smear and/or PBS-ethyl acetate and/or ZnSO4 centrifugal flotation. Ancylostoma spp. was the most common, 28.5%, followed by 6.7% Toxocara spp., 5.3% Cystoisospora spp., 4.4% Platynosomum fastosum, 2.5% Taenia taeniaeformis, 1.7% Strongyloides spp., 1.4% Spirometra spp., 1.3% Dipylidium caninum, 0.1% Eucoleus aerophilus and 0.1% Opisthorchis-like trematode egg. For retroviruses, FeLV and FIV were positive 7.1% (19/269) and 5.2% (14/269), respectively, without association with endoparasitic infection. Based on Giardia copro-antigen detection test, 3.9% (9/233) of tested cats were positive. From multivariable logistic regression, ability to access outdoors and having segment or adult worm in feces were significantly associated with Ancylostoma spp. infection. From a total of 207 hookworm positive sediment samples were subjected to PCR amplifying ITS1, 5.8S and partial ITS2 regions, 59.9% (124/207) was positive and submitted to sequencing. Out of 64 sequences obtained, 98.4% (63/64) were identified as A. ceylanicum and 1.6% (1/64) was found as A. tubaeforme. A. ceylanicum-positive samples were selected to amplify COX1 gene and the result suggested that A. ceylanicum in this study was most likely have a low potential in zoonotic transmission. For Giardia molecular identification, a total of 304 DNA samples was grouped in a pool of 4 samples and were tested with nested PCR targeting SSU rRNA gene of Giardia. Only 1 sample was positive and Giardia assemblage D was confirmed. Strongyloides felis was identified base on distinct post vulva constriction. Ultrastructure of en face views revealed hexagonal stoma surrounded by circumorally elevations in both male and female free-living adult. Characterization of partial 18s rRNA including hypervariable region I demonstrated cat threadworm was molecularly distinguishable from other species but still grouped in S. stercoralis and S. procyonis clade.
Other Abstract: การศึกษาในครั้งนี้ ได้ทำการเก็บตัวอย่างมูลแมว จำนวน 835 ตัวอย่าง จากแมวที่มีเจ้าของและแมวที่อาศัยอยู่รอบชุมชน ในระหว่างปี พ.ศ. 2557 – 2559 นำมาตรวจโดยกล้องจุลทรรศน์ ด้วยเทคนิคการป้ายมูลโดยตรง  เทคนิคทำให้ไข่ปรสิตจมโดยการปั่นเหวี่ยงโดยใช้สารละลาย PBS และ ethyl acetate เทคนิคทำให้ไข่ปรสิตลอยตัวด้วยวิธีการปั่นเหวี่ยงโดยใช้สารละลายซิงค์ซัลเฟต ผลการตรวจพบความชุกของพยาธิปากขอ มากที่สุดถึงร้อยละ 28.5 ตามด้วยพยาธิไส้เดือนร้อยละ 6.7 เชื้อบิดร้อยละ 5.3 พยาธิใบไม้ในท่อน้ำดีร้อยละ 4.4 พยาธิตืดแมวร้อยละ 2.5 พยาธิเส้นด้ายร้อยละ 1.7 พยาธิตืดปลาร้อยละ 1.4 พยาธิตืดหมัดร้อยละ 1.3 พยาธิเส้นผมร้อยละ 0.1 และ พยาธิใบไม้ในตับร้อยละ 0.1 จากการตรวจหาการติดเชื้อไวรัส FeLV และ FIV พบว่าแมวร้อยละ 7.1 (19/269) และร้อยละ 5.2 (14/269) ให้ผลบวกต่อเชื้อไวรัส FeLV และ FIV ตามลำดับ โดยไม่พบความสัมพันธ์กับการติดเชื้อปรสิตในทางเดินอาหาร นอกจากนี้ จากการตรวจหาโปรตีนของเชื้อจีอาร์เดียร์ด้วยชุดทดสอบ พบว่าร้อยละ 3.9 (9/233) ให้ผลบวก การวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติคแบบหลายตัวแปร พบว่า ความสามารถในการออกนอกบ้านและการพบพยาธิปล้องสุกหรือตัวเต็มวัยในมูล เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการติดพยาธิปากขอ ตัวอย่างที่ตรวจพบไข่พยาธิปากขอ จำนวน 207 ตัวอย่าง ได้ตรวจเพิ่มเติมด้วยวิธีปฏิกิริยาลูกโซ่โพลิเมอเรส โดยเพิ่มจำนวนจีน  ITS1, 5.8S และ ITS2  พบว่าให้ผลบวก ร้อยละ 59.9 (124/207) และผลการวิเคราะห์ลำดับเบสจำนวน 64 ตัวอย่าง พบว่าเป็นพยาธิปากขอชนิด Ancylostoma ceylanicum 63 ตัวอย่าง และชนิด A. tubaeforme 1 ตัวอย่าง จากการตรวจเพิ่มเติมด้วยจีน COX1 พบว่า พยาธิปากขอชนิด A. ceylanicum จัดอยู่คนละกลุ่มกับที่พบในมนุษย์  นอกจากนี้ตัวอย่าง DNA ที่สกัดได้จากมูลแมวจำนวนทั้งสิ้น 304 ตัวอย่าง ได้นำมารวมกันเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 4 ตัวอย่าง จากนั้นตรวจหาสารพันธุกรรมชองเชื้อจีอาร์เดียร์ ด้วยวิธีปฏิกิริยาลูกโซ่โพลิเมอเรส โดยเพิ่มจำนวนจีน SSU rRNA พบว่า มีเพียง 1 ตัวอย่างที่ให้ผลบวก และตัวอย่างดังกล่าวจัดอยู่ในกลุ่ม assemblage D พยาธิเส้นด้ายได้รับการวินิจฉัยเพิ่มเติมว่าเป็นชนิด Strongyloides felis โดยพบลักษณะการคอดเข้ามาของลำตัวบริเวณท้ายรูเปิดช่องคลอด การศึกษาภายใต้กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน พบว่า รูปร่างของปากมีลักษณะช่องเปิดเป็นหกเหลี่ยมและถูกล้อมรอบด้วยขอบปากที่ยกนูนขึ้นมาโดยรอบ ทั้งในตัวเต็มวัยเพศผู้และเพศเมีย จากการตรวจด้วยวิธีปฏิกิริยาลูกโซ่โพลิเมอเรส โดยเพิ่มจำนวนจีน 18s rRNA ร่วมกับการวิเคราะห์ลำดับเบสส่วน hypervariable region I พบว่า มีลำดับเบสที่แตกต่างจากพยาธิเส้นด้ายตัวอื่นในฐานข้อมูล แต่ยังคงอยู่ในกลุ่มของพยาธิเส้นด้ายชนิด S. stercoralis และ S. procyonis
Description: Thesis (Ph.D.)--Chulalongkorn University, 2019
Degree Name: Doctor of Philosophy
Degree Level: Doctoral Degree
Degree Discipline: Veterinary Pathobiology
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/77815
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2019.538
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2019.538
Type: Thesis
Appears in Collections:Vet - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5775511831.pdf3.22 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.