Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/77846
Title: การแยกให้บริสุทธิ์ และตรวจสอบของโบรมิเลนจากต้นสับปะรด
Other Titles: Purification and characterization of bromelain from pineapple stem
Authors: นิตยา ว่องนราธิวัฒน์
Advisors: วินิจ ชำวิวรรธน์
สัณห์ พชิยยกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: โบรมิลิน
สับปะรด
Bromelin
Pineapple
Issue Date: 2531
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยเพื่อเพิ่มความบริสุทธิ์ของผงโบรมิเลนที่เตรียมโดยการตกตะกอนด้วยอะซีโตนให้สูงจขึ้นด้วยเทคนิคการไดอะไลซีส อุลตราฟิลเตรชัน คูโอไลซ์ ซี225 และเซฟาเดกซ์ จี 100 โครมาโตกราฟฟี พบว่า เทคนิคดังกล่าวไม่สามารถเพิ่มความบริสุทธิ์ขิง เอนไซม์ให้สูงขึ้นได้ไม่มากนัก (~ 1.4-2 เท่า) แอคติวิตีของผงโบรมิเลนมีค่าประมาณ 281-604 หน่วยซีดียูต่อมิลลิกรัมผง แอคติววิตีของโบรมิเลนในน้ำสกัดจากต้น สับปะรดสามารถกระตุ้นให้สูงขึ้นได้ด้วยกรดอะมิโนซีสเทอีนไฮโดรคลอไรด์ และโซเดียมเมทาไบซัลไฟท์ กรด เอทธิลลีนไดอะมีนเททระอะซีทิคสามารถเสริมฤทธิ์การกระตุ้นแอคติวิตีของเอนไซม์โดยกรดอะมิโนซีสเทอีน ไฮโดรคลอไรด์ได้ประมาณ 1.5 เท่า ผงโบรมิเลนที่ทำให้บริสุทธิ์บางส่วนโดยการตกตะกอนด้วยกรดโพลีอะไคร์ลิคจะมีแอคติวิตีต่อมิลลิกรัมผงสูงกว่าผงโบรมิเลนจากการตกตะกอนโดยอะซีโตนประมาณ 4-5 เท่า (~ 1941 หน่วยซีดียูต่อมิลลิกรัมผง) และให้ผลผลิตประมาณ 1.2 กรัมต่อกิโลกรัมต้นสับปะรด การทำให้เอนไซม์จากผงโบรมิเลนที่เตรียมได้บริสุทธิ์สูงขึ้นโดยใช้เทคนิคอุลตราฟิลเตรชัน คาร์บอกซีเมทธิลเซลลูโลสโครมาโตกราฟฟี เซฟาเดกซ์ จี 100 โครมาโตกราฟฟี หรือเทคนิคร่วมของคาร์บอกซีเมทธิลเซลลูโลสกับเซฟาเดกซ์ จี 100 โครมาโตกราฟฟีไม่มีผลในการเพิ่มแอคติวิตีของเอนไซม์ แต่จากการตรวจสอบด้วยเทคนิคโพลีอะไดร์ละไมด์เจล อิเลคโตรโฟริซีสพบว่ามีชนิดของโปรตีนในผงโบรมิเลนลดลง ผงโบรมิเลนที่มีความบริสุทธิ์ สูงนี้จะมีคุณสมบัติต่าง ๆ ในการเร่งปฏิกิริยาการไฮโดรไลซ์เคซีนเกือบไม่แตกต่างกันกับผงโบรมิเลนก่อนเพิ่มความบริสุทธิ์ ยกเว้นเอนไซม์ที่มีความบริสุทธิ์สูงจะมีความเสถียรต่ออุณหภูมิลดลง เอนไซม์โบรมิเลนสามารถตรึงบนคาร์บอกซีเมทธิลเซลลูโลสและเสริมด้วยกลูตารัลดีไฮด์ได้ โดยที่เอนไซม์ตรึงทั้งชนิดเสริมและไม่เสริมด้วยกลูตารัลดีไฮด์จะเร่งปฏิกิริยา ได้สูงสุดที่อุณหภูมิต่ำกว่าเอนไซม์อิสระ (45 °ซ สำหรับเอนไซม์ตรึงและ 65 °ซ สำหรับเอนไซม์อิสระ) โบรมิเลนตรึงมีความเสถียรต่ออุณหภูมิ (30-50 °ซ) สูงกว่าเอนไซมิอิสระอย่างชัดเจน นอกจากนี้การตรึงเอนไซม์บนคาร์บอนซีเมทธิลเซลลูโลสจะทำให้ความสามารถในการไฮโดรไลซ์สับสเตรทเคซีนเพิ่มขึ้นประมาณ 15-20 เท่าเมื่อเทียบกับเอนไซม์อิสระ
Other Abstract: Several attempts to further purify the bromelain powder obtained from acetone precipitation step were on dialysis, ultrafiltration, Duolite C-225 and Sephadex G-100 chromtography. By using those techniques, the purity of the enzyme were found to be insignificantly increased (~ 1.4-2 folds). The activity of bromelain powder was 281-604 CDU/mg powder. The activity of brome-lain from stem extracts could be raised by either cysteine hydrochloride or sodium metabisulphite. The activation effect of cysteine hydrochloride on the enzyme activity was additionally enhanced (~ 1.5 folds) when supplemented with ethylenediaminetetraacetic acid. Partial purification by polyacrylic acid yielded approximately 1.2 g bromelain powder/kg stem with the activity per mg powder (~ 1941 CDU) 4-5 folds higher than that from the acetone precipitation. The further purification of so obtained enzyme powder by ultrafiltration, CM-Cellulose chromatography and Sephadex G-100 chromatography or combination of the two later techniques gave no improvement of bromelain activity. Neverthe-less, results from PAGE analysis cleary illustrated the decrease in types of protein in the enzyme powder. This highly purified bromelain powder was not significantly different from the polyacrylic acid enzyme powder at the aspect of its properties to catalyze casein hydrolysis although its stability to temperature was found to be lowered. Bromelain could be immobilized on CM-Cellulose, either with or without glutaraldehyde. Both immobilized enzymes had the optimum temperature at 45℃ , while the free from optimally catalyzed reaction at 65℃. The immobilized was more stable at 30-50℃ than the free enzyme. Moreover the results also indicated that immobilization of bromelain on CM-Cellulose could enhance its capacity to hydrolyze substrate casein by 15-20 folds in comparison to the free enzyme.
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เทคโนโลยีชีวภาพ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/77846
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.1988.109
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.1988.109
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Nitaya_wo_front_p.pdfหน้าปกและบทคัดย่อ1.28 MBAdobe PDFView/Open
Nitaya_wo_ch1_p.pdfบทที่ 11.04 MBAdobe PDFView/Open
Nitaya_wo_ch2_p.pdfบทที่ 21.18 MBAdobe PDFView/Open
Nitaya_wo_ch3_p.pdfบทที่ 34.88 MBAdobe PDFView/Open
Nitaya_wo_ch4_p.pdfบทที่ 41.83 MBAdobe PDFView/Open
Nitaya_wo_back_p.pdfบรรณานุกรมและภาคผนวก1.41 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.