Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/77847
Title: | การเก็บรักษามะนาวในภาชนะบรรจุประเภทฟิล์มพลาสติกในบรรยากาศดัดแปลง |
Other Titles: | Modified atmosphere storage of limes in selected plastic films |
Authors: | สุวรรณ หล่อวิวัฒนพงศ์ |
Advisors: | ชัยยุทธ ธัญพิทยากุล |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Subjects: | มะนาว -- การเก็บและรักษา พลาสติกในการบรรจุหีบห่อ Lemon -- Preservation Plastics in packaging |
Issue Date: | 2531 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | งานวิจัยนี้ได้ศึกษาถึงการเก็บรักษามะนาวสดในภาชนะบรรจุประเภทฟิล์มพลาสติก ที่อุณหภูมิ 10±2℃ ความชื้นสัมพัทธ์ 85-90% ซึ่งบรรยากาศดัดแปลงจะเกิดขึ้นโดยธรรมชาติ และจะช่วยยืดอายุการเก็บรักษามะนาวสดได้นานขึ้น โดยการทดลองขั้นแรกได้วัดอัตราการหายใจของมะนาวที่ 10±2℃ และได้ศึกษาสมบัติในด้านการซึมผ่านไอน้ำและกาซของฟิล์มพลาสติกชนิดต่าง ๆ 5 ชนิด ได้แก่ Cellophane/LDPE , OPP/LDPE , PP , LDPE และ HDPE จากนั้นนำฟิล์มพลาสติกดังกล่าวมาใช้บรรจุมะนาวที่ผ่านการฆ่าเชื้อรามาแล้ว โดยปิดผนึกให้สนิทภายใต้บรรยากาศปกติ แล้วนำไปเก็บรักษาไว้ที่ อุณหภูมิดังกล่าว พบว่าบรรยากาศดัดแปลงที่เกิดขึ้นในฟิล์มพลาสติกชนิดต่าง ๆ มีดังนี้คือ ฟิล์ม Cellophane/LDPE จะให้ความเข้มข้นของกาซออกซิเจนประมาณ 0-4% คาร์บอนไดออกไซด์ 7-8% ฟิล์ม และ PP OPP/LDPE จะให้ความเข้มข้นของกาซออกซิเจน 0-4% คาร์บอนไดออกไซด์ 14-16% ส่วนฟิล์ม LDPE และ HDPE จะให้ความเข้มข้นของกาซออกซเจน 14-19% คาร์บอนไดออกไซด์ 2-6% ฟิล์ม PP , OPP/LDPE และ Cellophane /LDPE จะทำให้มะนาวที่เก็บรักษาไว้ 4 สัปดาห์ มีลักษณะสีผิวเป็นสีน้ำตาล คุณภาพทางเคมีด้อยลงมากและกลิ่นรสผิดปกติไป ส่วนมะนาวที่เก็บในฟิล์ม HDPE และ LDPE ไว้ 14 สัปดาห์ ยังคงลักษณะสดเต่ง รวมทั้งสมบัติทางเคมีไม่แตกต่างกัน จากนั้นได้เลือกฟิล์ม HDPE มาเก็บรักษามะนาวที่มีอายุการเก็บเกี่ยว 4 และ 5 เดือน โดยได้ศึกษาผลของการมีสารดูดกาซเอทธิลีนในภาชนะบรรจุด้วย พบว่าการเก็บรักษามะนาวที่มีอายุการเก็บเกี่ยว 4 เดือน จะให้ผลดีมาก สามารถเก็บรักษามะนาวไว้ได้ 4 เดือน โดยมีเปอร์เซ็นต์การเน่าเสียมาก คือ 0-1.25% และมะนาวยังคงสดเต่ง เพียงแต่สีผิวเปลี่ยนเป็นสีเหลือ คุณภาพทางเคมีเปลี่ยน แปลงน้อยมาก ส่วนกลิ่นรสใกล้เคียงกับการสดมาก การประเมินผลด้วยการนำไปประกอบเป็นอาหารได้รับการยอมรับ 100% สำหรับผลของสารดูดกาซเอทธิลีนสามารถซลอการเปลี่ยนสีผิวของมะนาวได้ดีกว่าการไม่ ใช้สารดูดกาซเอทธิลีน และสามารถชะลอการเปลี่ยนสีผิวของมะนาวที่มีอายุการเก็บเกี่ยว 4 เดือน ได้ดีกว่า มะนาวที่มีอายุการเก็บเกี่ยว 5 เดือน โดยที่มะนาวที่มีอายุการเก็บเกี่ยว 4 เดือน ยังคงมีสีเขียวปนอยู่ แม้ เก็บรักษาไว้เป็นเวลานานถึง 4 เดือน |
Other Abstract: | Modified atmosphere storage to extend the shelf life of limes in plastic films at 10±2℃ and 85-90% RH was studied. At first the respiration rate of lime at 10±2℃ and the permeability to gases and vapour of the five selected. Fungicide treated limes were then sealed under atmospheric condition in these packaqing films and kept at 10±2℃ and 85-90% RH. The resulting modified atmospheres in the selected films were : 0-4% O₂ and 7-8% CO₂ for Cellophane/LDPE, 0-4% O₂ and 14-16% CO₂ for PP and OPP/LDPE and 14-19% O₂ and 2-6% CO₂ for LDPE and HDPE. PP, OPP/LDPE and Cellophane/LDPE films gave anaerobic condition and caused the limes to develop brown color skin , off flavor and low chemical qualities in 4 weeks. On the other hand , limes packaged in HDPE and LDPE still retained the same original chemical properties after 14 weeks storage; they were still fresh and turgid but with yellow skin color. Next , HDPE was selected for storage of limes to study the effects of maturity and ethylene absorbent on the fruit quality in the packages. The 4-month harvested limes gave better quality than 5-month harvested samples after storage for 4 months with only 0-1 . 25 percent spoilage. The limes were still fresh but with yellow skin. There were little chemical quality changes, and the flavor was as good as the fresh limes. Organoleptic test results from cooking trial showed 100% acceptance. The ethylene absorbent had an effect on retardation of skin color change; it could retain the color of 4-month harvested limes better than the 5-month harvested limes and the 4-month harvested lime still retained some green color after 4 months storage, |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | เทคโนโลยีทางอาหาร |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/77847 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.1988.18 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.1988.18 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Suwan_la_front_p.pdf | หน้าปกและบทคัดย่อ | 1.26 MB | Adobe PDF | View/Open |
Suwan_la_ch1_p.pdf | บทที่ 1 | 722.84 kB | Adobe PDF | View/Open |
Suwan_la_ch2_p.pdf | บทที่ 2 | 1.57 MB | Adobe PDF | View/Open |
Suwan_la_ch3_p.pdf | บทที่ 3 | 1.07 MB | Adobe PDF | View/Open |
Suwan_la_ch4_p.pdf | บทที่ 4 | 4.4 MB | Adobe PDF | View/Open |
Suwan_la_ch5_p.pdf | บทที่ 5 | 1.53 MB | Adobe PDF | View/Open |
Suwan_la_ch6_p.pdf | บทที่ 6 | 706.96 kB | Adobe PDF | View/Open |
Suwan_la_back_p.pdf | บรรณานุกรมและภาคผนวก | 1.58 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.