Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/77858
Title: | การสกัดน้ำมันจากข้าวโพดที่ปลูกในประเทศ |
Other Titles: | Extraction of oil from locally grown corn |
Authors: | ดวงแข วิเศษพจนกิจ |
Advisors: | สมศักดิ์ ดำรงค์เลิศ พันธิพา จันทวัฒน์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Subjects: | น้ำมันข้าวโพด การสกัดด้วยสารตัวทำละลาย Corn oil Solvent extraction |
Issue Date: | 2525 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ในการทดลองนี้ได้นำข้าวโพดพันธุ์สุวรรณ 1 มาสกัดน้ำมันโดยก่อนสกัดได้แยกต้นอ่อนออกจากเมล็ด ข้าวโพดวิธี Wet-Milling Process ซึ่งในวิธีดังกล่าวมีตัวแปรที่สำคัญคือ อุณหภูมิ, เวลาและความเข้มข้นของสารละลายซัลเฟอร์ไดออกไซด์ที่ใช้ในการแช่ข้าวโพด (Steeping) พลังจากแยกต้นอ่อนแล้วจึงสกัดน้ำมันโดยใช้วิธีการบีบโดยใช้เครื่องไฮโครลิค การใช้ตัวทำละลายนอร์มอลเฮกเชน และวิธีการบีบโดยใช้เครื่องไฮโคร ลิคควบกับการใช้ตัวทำละลายนอร์มอลเฮกเชน จากการทดลองพบว่าสภาวะที่เหมาะสมในการแยกต้นอ่อนโดยวิธี Wet-Milling คือ แช่ข้าวโพดด้วยสารละลายซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ความเข้มข้น 0.2 % (น้ำหนักต่อปริมาตร) ที่อุณหภูมิ 50°ซ เป็นเวลา 2 วัน ต้นอ่อนที่ได้มีสิ่งปลอมปนน้อยมาก ต้นอ่อนที่ได้ถูกทำให้แห้ง บดให้ได้ขนาดพอเหมาะ ผ่านขั้นตอนการนึ่ง (Steaming) ก่อนแล้วจึงนำมาสกัดน้ำมัน ปริมาณน้ำมันในต้นอ่อนที่ได้มีค่าเฉลี่ยประมาณ 41 เปอร์เซ็นต์ การบีบน้ำมันโดยใช้เครื่องไฮโครลิคได้ค่าความคันที่เหมาะสมประมาณ 1,149 ก.ก. ต่อตาราง ช.ม. ขนาดอนุภาคของต้นอ่อนที่เหมาะสมคือ 1.0 – 2.0 ม.ม. ซึ่งจะได้น้ำมันเฉลี่ย 24.87 เปอร์เซ็นต์ คิดเป็นประมาณ 60 เปอร์เซ็นต์ของน้ำมันที่มีทั้งหมดในต้นอ่อน การสกัดน้ำมันด้วยตัวทำละลายนอร์มอลเฮกเซนโดยวิธีรีฟลัก (Reflux) สภาวะที่เหมาะสมคือใช้ต้นอ่อนขนาดอนุภาค 0.5 – 1.0 ม.ม. ปริมาณต้นอ่อน : นอร์มอลเฮกเซน = 1 : 20 (น้ำหนักต่อปริมาตร) เป็นเวลา 12 ช.ม. จะได้น้ำมันเฉลี่ยถึง 31.76 เปอร์เซ็นต์ หรือ 80 เปอร์เซ็นต์ของน้ำมันที่มีทั้งหมดในต้นอ่อน การสกัดด้วยวิธีการบีบน้ำมันโดยใช้เครื่องไฮโครลิคควบคู่กับการใช้ตัวทำละลายนอร์มอลเฮกเซน เมื่อนำกากต้นอ่อนที่ผ่านการบีบโดยเครื่องไฮโครลิคมาสกัดน้ำมันต่อโดยใช้ตัวทำละลาย ได้น้ำมันเพิ่มจากวิธีการบีบโดยใช้เครื่องไฮโครลิคอีก 14 เปอร์เซ็นต์ จากปริมาณต้นอ่อนที่ใช้ รวมปริมาณน้ำมันที่ได้จากวิธีนั้งสิ้นจากต้นอ่อน 38.87 เปอร์เซ็นต์ หรือ 94.80 เปอร์เซ็นต์ของน้ำมันที่มีทั้งหมดในต้นอ่อน น้ำมันดิบที่สกัดได้ทั้ง 3 วิธีคุณสมบัติไม่แตกต่างกันมาก เมื่อวิเคราะห์พบว่า มีค่ากรดไขมันอิสระในช่วง 1.7 – 2.0 เปอร์เซ็นต์ Gum มีในช่วง 2.3 – 2.6 เปอร์เซ็นต์ สีของน้ำมันที่ได้มีค่าเปอร์เซ็นต์ Transmittance (ที่ 276 นาโนมิเตอร์) อยู่ในช่วง 54 – 70 ค่าเปอร์ออกไซด์ของน้ำมันที่ได้จากวิธีการบีบโดยใช้เครื่องไฮโครลิคและใช้นอร์มอลเฮกเซนจะมีค่าในช่วง 17 – 22 มิลลิอีควิวาเลนท์ต่อน้ำมัน 1 ก.ก. ส่วนน้ำ มันที่ได้จากการนำกากที่ได้จากการบีบโดยใช้เครื่องไฮโครลิคมาสกัดน้ำมันที่เหลือด้วยนอร์มอลเฮกเซนพบว่า มีค่าเปอร์ออกไซด์เฉลี่ยประมาณ 30.55 มิลลิอีควิวาเลนท์ต่อน้ำมัน 1 ก.ก. คุณสมบัติของน้ำมันดิบที่ได้มีค่าไม่สูงไปกว่ามาตรฐานของน้ำมันและไขมันบริโภคมากนักจึงน่าที่จะนำไปทำให้บริสุทธิ์โดยไม่ต้องผ่านกรรม วิธีที่ยุ่งยากและสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายมากนัก ส่วนกรรมวิธีสำหรับการสกัดน้ำมันจากต้นอ่อนของข้าวโพดนั้น การสกัดด้วยวิธีการบีบน้ำมันโดยใช้เครื่องไฮโครลิคควบกับการใช้ตัวทำละลายจะมีความเหมาะสมที่สุด เนื่องจากเมื่อพิจารณาแล้วจะได้ผลคุ้มค่ากับการลงทุนคือ จะได้ปริมาณน้ำมันสูงและต้นทุนการผลิตต่ำ โดยวิธีนี้จากการวิเคราะห์ทางเศษฐศาสตร์ สำหรับกาผลิตในประเทศไทยน้ำมันข้าวโพดดิบจะมีต้นทุนการผลิต 10.78 บาทต่อน้ำมัน 1 ก.ก. |
Other Abstract: | Crude corn oil was extracted from germ which was separated from Suwan I hybrid corn by the Wet-Milling process. The important variations studied in the milling process were the steeping time, temperature and the concentration of sulfur dioxide solution used in the steeping step. Three extracting processes including the hydraulic press, the solvent extraction and the prepress solvent extraction were used to extract oil from the separated tissue. The result obtained from the experiment revealed that the appropriate condition for the germ separation was a two day steeping in 0.2% W/V sulfur dioxide solution, at 50℃. By using this combination, the separated germ was almost free from other tissue contamination and its oil content, determined on the dried weight basis by Soxhlet extraction, was around 21% By hydraulic pressing at optimum condition found in this experiment, a 24.87% by weight of crude corn oil which represents almost 60% of the total oil in germ was recovered. The socalled optimum condition of the process was set up at 1,149 kg./cm². pressure and 1.0– 2.0 mm. particle size of the ground germ. The appropriate condition drawn from the results of the solvent extraction was a 12 hour refluxing of the 0.5 – 1.0 mm. particle of the germ with a proportion of 1 : 20 (weight : volume) of germ : n-hexane. The percent recovery of the oil was 31.76 or 80% of the total oil in germ. An additional of 14% of oil was recovered from solvent extraction of the hydraulic prepressed germ. Thus the total amount of oil recovered by the prepress solvent extraction Was summed up to as high as 94.80% of the total oil content of the germ. Quality of crude corn oil obtained via the three extracting pathways are almost identical. Quantitative analyses of these oils disclosed that their free fatty acid content, gum content and transmittant value at 276 nm. Were 1.7 – 2.0%, 2.3 – 2.6% and 54 – 70%, respectively. As for the peroxide value, a quantity of 17 – 22 milliequivalent of peroxide per kg. of oil was found in the hydraulic pressed and the solvent extracted oil ; while that was detected in oil extracted from the hydraulic prepressed germ was as high as 30.55 milliequivalent/kg. of oil. When comparing these quality factors with those set up as standard for edible fat and oil, a narrow gap was observed. Thus it should be reasonable to predict that refining of these crude oils should be able to carry out by using any regular standard refining procedure. From the economic analysis data of the three extracting processes, it is obvious that the solvent prepress method is superior. The efficiency feature of the mentioned process is such that crude corn oil could be produced at a production cost of ฿ 10.78/kg. |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | เคมีเทคนิค |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/77858 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.1982.24 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.1982.24 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Duangkae_vi_front_p.pdf | หน้าปกและบทคัดย่อ | 1.35 MB | Adobe PDF | View/Open |
Duangkae_vi_ch1_p.pdf | บทที่ 1 | 672.94 kB | Adobe PDF | View/Open |
Duangkae_vi_ch2_p.pdf | บทที่ 2 | 1.86 MB | Adobe PDF | View/Open |
Duangkae_vi_ch3_p.pdf | บทที่ 3 | 1.37 MB | Adobe PDF | View/Open |
Duangkae_vi_ch4_p.pdf | บทที่ 4 | 968.19 kB | Adobe PDF | View/Open |
Duangkae_vi_ch5_p.pdf | บทที่ 5 | 2.3 MB | Adobe PDF | View/Open |
Duangkae_vi_ch6_p.pdf | บทที่ 6 | 1.57 MB | Adobe PDF | View/Open |
Duangkae_vi_ch7_p.pdf | Chapter 7 | 769.99 kB | Adobe PDF | View/Open |
Duangkae_vi_back_p.pdf | บรรณานุกรมและภาคผนวก | 1.35 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.