Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/77866
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorChaudhury, Ranjit Roy-
dc.contributor.advisorพุฒิพงษ์ วรวุฒิ-
dc.contributor.authorนงลักษณ์ สัตยาสถิต-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2021-11-23T10:46:56Z-
dc.date.available2021-11-23T10:46:56Z-
dc.date.issued2518-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/77866-
dc.description.abstractการใช้ยาฉีดคุมกำเนิด ชนิด Depo Medroxyprogesterone Acetate (DMPA) ซึ่งเป็นสารสังเคราะห์พวก Steroid hormone ที่ให้ฤทธิ์ ของ progestin สูง และกำลังใช้มากในสตรีปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหญิง แม่ลูกอ่อน ได้ทำการศึกษาผลที่มีต่อหนูภายหลังคลอด และขณะเลี้ยงลูกอ่อน เพื่อที่จะหา ข้อมูลว่า (1) DMPA ขนาด 5 ไมโครกรัม/กรัม น้ำหนักตัวซึ่งเป็นปริมาณสองเท่า กับ ที่ใช้นึกคุมกำเนิดในคน โดยฉีดเข้ากล้ามเนื้อในวันที่ 9 ภายหลังคลอด ว่าจะมีผลต่อการ หลั่งของน้ำนมในหนูแม่ลูกอ่อนหรือไม่อย่างใด Biological parameter ที่ใช้ใน การวัดปริมาณการหลั่งของน้ำนมได้ประเมินจากน้ำหนักของลูกที่เพิ่มขึ้น หลังจากที่ให้ลูกกูด นมแม่ โดยเปรียบเทียบกับหนูกลุ่ม control ที่ได้รับการฉีด vehicle แทน นอกจากนี้ยังได้ทำการศึกษาจำนวนเซลชนิดต่าง ๆ ภายในต่อมใต้สมองส่วนหน้า และ secretory activity ของ alveoli ในต่อมน้ำนมว่า มีส่วนสัมพันธ์กับผลของยา นี้ที่มีต่อการหลั่งน้ำนมอย่างใด (2) DUPA อย่างเดียวโดยฉีดเข้ากล้ามเนื้อในวันที่ 9 ภายหลังคลอด มีผลต่อการสร้างน้ำนมในแม่หนูที่ไม่ให้ลูกอ่อนดูดนมเลย ภายหลังคลอด หรือไม่ (3) DMPA ขนาด 5 ไมโครกรัม/กรัม น้ำหนักตัวเมื่อฉีดเข้ากล้ามเนื้อในแม่ ลูกอ่อนวันที่ 3 ภายหลังคลอด สามารถส่งผ่านไปยังลูกที่ดูดนม โดยผ่านทางน้ำนม และ มีผลต่อการเจริญเติบโตและหน้าที่การทำงานของระบบสืบพันธุ์ของลูกหรือไม่ จากการทดลองผลปรากฏว่า DMPA มีผลต่อการเพิ่มการหลั่งของน้ำนม เฉพาะแม่หนูที่เลี้ยงลูกอ่อน และมีลูกอ้อนดูดนมอยู่เท่านั้น หลักฐานนี้ได้มาจากปริมาณน้ำนม(milk yield) ที่วัดได้เพิ่มขึ้น และ alveoil ของต่อมน้ำนมในแม่ลูกอ่อนที่ได้ รับการฉีด DNPA มีน้ำนมอยู่มากกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับหนูกลุ่ม control และการเพิ่มนี้มีส่วนสัมพันธ์กับการเพิ่มจำนวน acidophilic cells นอกจากนี้ยัง พบว่าไม่มีความแตกต่างระหว่างน้ำหนักของลูกหนูที่ฉีด DMPA และหนูกลุ่ม control จนอายุถึง 60 วัน อย่างไรก็ดีในหนูตัวเมียที่ได้รับการฉีด DMPA การเปิดของช่อง คลอดช้าลงจาก 36.2 – 0.3 วัน เป็น 37.6 - 0.5 วัน และช่วงอายุที่มี estrous cycle เป็นปกติช้าจาก 39.3 - 0.9 วัน เป็น 44.3 - 1.4 วัน แต่การล่าช้าของ sexual maturity ไม่ได้มีอิทธิพลต่อ fertility ของ สัตว์เหล่านี้ โดยที่เมื่อหนูตัวเมียผสมกับหนูตัวผู้ปกติยังคงพบมีช่วงเวลาของการตั้งครรภ์ เป็นปกติ และลูกที่เกิดมาเป็นปกติ สำหรับลูกหนูตัวผู้ที่แม่ได้รับการฉีด DMPA ไม่ได้แสดงความแตกต่าง ต่อการเจริญเติบโตให้เห็นตลอดการติดตามจนกระทั่งอายุได้ 60 วัน และเมื่อผสมกับหนูตัวเมียปกติ ลูกที่เกิดมาเป็นปกติ และการเจริญเติบโตเป็นปกติ อาจเป็นไปได้ว่าการฉีด DMPA เพียงครั้งเดียวในขนาด 5 ไมโครกรัม/กรัม น้ำหนักตัวสามารถที่จะกระตุ้นแม่ลูกอ่อนให้หลั่งฮอร์โมน prolactin ไปกระตุ้นการสร้างน้ำนมติดต่อกันได้เป็นเวลานานเกินกว่า 10 วัน โดยที่ส่วนหนึ่งของ DMPA ที่ฉีดในแม่หนูอาจจะถูกส่งผ่านไปยังลูกที่ดูดนมโดยผ่านทางน้ำนม และมีผลสำคัญต่อ differentiation ของหน้าที่การทำงานของไฮโปทาลามัส ที่ควบคุม onset ของ puberty ของลูกอ่อนที่ดูดนมได้ด้วย-
dc.description.abstractalternativeThe injectable contraceptive steroid, Depo Medroxyprogesterone acetate (DMPA) one of the most popular contraceptive steroid for lactating women were studied in post-partum and lactating rats in order to determine (1) if DMPA dose 5 ug/gm. body weight (double human dose) affected milk secretion of lactating mother. Biological parameter for milk secretion was assessed by the increase in weight gain of the litters after suckling, comparing to the control inwhich the vehicle of DMPA was injected instead. Moreover, histological observations of pituitary cytology and of secretory activities of mammary gland's alveoli were also carried out in order to correlate with the effect of this agent on milk secretion. (2) if DMPA alone could exert any influence on lactogenesis of litters removed post-partum rats. (3) if DMPA administered into lactating mother could transmitted into the suckling infants and affects growth and reproductive functions in the later life of the litters. The result obtained indicated that, DMPA caused an increase in milk secretion only in the lactating mothers with suckled pups. This came from evidence that mammary gland alveoli in DMPA treated lactating rats were more distended with secretion than the control and correlated well with the increase in acidophil population. There was no apparent difference between the body weight of the DMFA treated and control female litters as observed upto sixty days of age. However, female litters whose mother received DMPA showed significantly delay the age of vaginal canalization from 36.2 + 0.3 days to 37.6 + 0.5 days and the age of the first exhibition of the regularity of the estrous cycle from 39.3 + 0.9 days to 44.3 + 1.4 days respectively. The delay on the onset of sexual maturity does not have any influences on fertility of these animals since all DMPA treated could mated with normal males having normal pregnancyand gave birth with normal number of healthy infants at expected time. The male offspring of DMPA treated mother showed no difference in growth as followed up to 60 days of age for the F1, generation and 45 days of age for the F2, generation. All of males sired normal healthy pups. It is suggested that a single injection of DMPN may stimulate lactating mothers to continue to secrete more prolactin and more milk yield. The drug may be transmitted into their suckling litters through the milk and may exert significant role for differentiation of hypothalamic function controlling the onset of puberty of the suckling infants.-
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.1975.8-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectยาคุมกำเนิดen_US
dc.subjectหนูที่เป็นสัตว์ทดลองen_US
dc.subjectContraceptive drugsen_US
dc.subjectRats as laboratory animalsen_US
dc.titleผลของยาฉีดคุมกำเนิดดีโป เมดดรอกซีโปรเจสเตอโรน อาซีเตท (ดีโป โปรเวอรา) ที่มีต่อการหลั่งน้ำนมในหนูแม่ลูกอ่อนen_US
dc.title.alternativeEffect of the injectable depo medroxyprogesterone actatte (Depo Provera) on milk secretion in lactating ratsen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineชีววิทยาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.1975.8-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Nonglak_sa_front_p.pdfหน้าปกและบทคัดย่อ961.64 kBAdobe PDFView/Open
Nonglak_sa_ch1_p.pdfบทที่ 1849.87 kBAdobe PDFView/Open
Nonglak_sa_ch2_p.pdfบทที่ 2624.71 kBAdobe PDFView/Open
Nonglak_sa_ch3_p.pdfบทที่ 31.01 MBAdobe PDFView/Open
Nonglak_sa_ch4_p.pdfบทที่ 42.06 MBAdobe PDFView/Open
Nonglak_sa_ch5_p.pdfบทที่ 5734.62 kBAdobe PDFView/Open
Nonglak_sa_back_p.pdfบรรณานุกรมและภาคผนวก1.04 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.