Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7788
Title: | ผลกระทบของสนามแม่เหล็กไฟฟ้า ที่มีต่อการเจริญเติบโตของเมล็ดถั่วเขียว |
Other Titles: | Effect of electromagnetic field on the growth of green gram |
Authors: | ร่มฉัตร ยูรประถม |
Advisors: | มานะ ศรียุทธศักดิ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | Mana.S@Chula.ac.th |
Subjects: | ถั่วเขียว -- การเจริญเติบโต สนามแม่เหล็กไฟฟ้า |
Issue Date: | 2540 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วิทยานิพนธ์นี้ได้เสนอผลการศึกษา ผลกระทบของสนามแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีต่อเมล็ดถั่วเขียว โดยทำการศึกษาผลของสนามแม่เหล็กไฟฟ้า 2 ลักษณะ คือ สนามเหล็กไฟฟ้าแบบชั่วขณะ และสนามแม่เหล็กไฟฟ้าแบบต่อเนื่อง การศึกษาผลกระทบของสนามแม่เหล็กไฟฟ้าแบบชั่วขณะ โดยได้ทำการทดลองเปรียบเทียบกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่มเมล็ดควบคุมที่ไม่ได้รับสนามแม่เหล็กไฟฟ้า (Control) กับกลุ่มเมล็ดที่ได้รับสนามแม่เหล็กไฟฟ้า (Exposure) ซึ่งในแต่ละกลุ่มเมล็ดมีการให้ในลักษณะพัลส์โดยทำการแปรจำนวนพัลส์ 0, 20, 40, 60, 80, 100 พัลส์ จากนั้นทำการเปรียบเทียบการเจริญเติบโตระหว่าง กลุ่มที่ได้รับปริมาณสนามแม่เหล็กไฟฟ้าที่จำนวนพัลส์ต่างๆ กับที่ 0 พัลส์ เพื่อหาความแตกต่าง และนำความแตกต่างของแต่ละกลุ่มมาวิเคราะห์เปรียบเทียบกันระหว่างกลุ่มควบคุมที่ได้รับกับกลุ่มที่ไม่ได้รับสนามแม่เหล็กไฟฟ้า ผลจากการศึกษาพบว่ามีความแตกต่างของการเจริญเติบโตระหว่างกลุ่มที่ได้รับและไม่ได้รับสนามแม่เหล็กไฟฟ้า อย่างไรก็ตามยังไม่ชัดเจนว่าเป็นผลจากสนามแม่เหล็กไฟฟ้าเพียงอย่างเดียว การศึกษาผลกระทบของสนามแม่เหล็กไฟฟ้าแบบต่อเนื่องได้แยกเป็น 2 การทดลองคือการทดลองกับเมล็ดถั่วและการทดลองกับต้นถั่ว โดยทำการทดลองในลักษณะเปรียบเทียบเช่นเดียวกัน โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่มคือกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้รับสนามแม่เหล็กไฟฟ้า กับกลุ่มที่ได้รับสนามแม่เหล็กไฟฟ้า โดยกำหนดปริมาณสนามแม่เหล็กไฟฟ้าในแต่ละการทดลองเท่ากับ 100mG, 200mG, 300mG และ 400mG จากการทดลองพบว่าเกิดความแตกต่างของการเจริญเติบโตที่ค่าสนามแม่เหล็กไฟฟ้าที่ค่าสนาม 100mG ที่ให้กับต้นถั่ว โดยจะทำให้ต้นถั่วมีการเจริญเติบโตได้เร็ว ส่วนการให้สนามแม่เหล็กไฟฟ้ากับเมล็ด พบว่าเกิดความแตกต่างของการเจริญเติบโต โดยที่ค่าสนามแม่เหล็กไฟฟ้า 300mG และ 400mG ต้นถั่วมีการเจริญเติบโตดีกว่ากลุ่มเมล็ดควบคุม |
Other Abstract: | This thesis presents the effect of transient and continuous electromagnetic field on the growth of green gram. In the transient electromagnetic field experiment, studying by comparing between control (un-exposed) and exposure group has been done. Pulsed field from 0 to 100 pulses was used in the experiments. The growth between the exposure groups with different pulse and 0 pulse was investigated and then compared to the control groups. It was found that there were differences in the growth between the two groups but it is still difficult to conclude that this is due to the electromagnetic field. For the experiment on the continuous electromagnetic field, the field was applied to the seeds before and during growing. the growth between the control (un-exposure) groups and the exposure groups have been compared. The strength of magnetic field of 100, 200, 300 and 400 mG were used in the experiments. The result shows that applying the field strength of 100 mG during growing will stimulate the bean so that they will grow faster than the control groups. Moreover, it was found that when applying the field of 300 and 400 mG to the seed before growing, the bean will grow faster than the control groups. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540 |
Degree Name: | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิศวกรรมไฟฟ้า |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7788 |
ISBN: | 9746380257 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Romchut_Yo_front.pdf | 823.1 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Romchut_Yo_ch1.pdf | 350.62 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Romchut_Yo_ch2.pdf | 1.11 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Romchut_Yo_ch3.pdf | 3.94 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Romchut_Yo_ch4.pdf | 606.31 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Romchut_Yo_back.pdf | 305.96 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.