Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/77915
Title: | การตอบสนองทางสรีรวิทยาและการแสดงออกของยีน PsbS1 ที่ตอบสนองต่อภาวะเครียดจากความเค็มของข้าวสายพันธุ์ทนเค็มที่ได้จากประชากร CSSL |
Other Titles: | Physiological responses and PsbS1 gene expression responding to salt stress condition of salt-tolerant rice lines obtained from CSSL population |
Authors: | พนิตา ชุติมานุกูล |
Advisors: | บุญธิดา โฆษิตทรัพย์ ศุภจิตรา ชัชวาลย์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ |
Subjects: | ข้าว -- การปรับปรุงพันธุ์ การแสดงออกของยีน Rice -- Breeding Gene expression |
Issue Date: | 2556 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินการตอบสนองทางสรีรวิทยาบางประการของข้าวสายพันธุ์ที่ได้รับการแทนที่บางส่วนของโครโมโซม (CSSL) ที่อยู่ระหว่างเครื่องหมายโมเลกุล RM1003 และ RM3362 บน โครโมโซมที่ 1 ที่มีขนาดต่าง ๆ กัน ข้าวในประชากร CSSL นี้มีพื้นฐานทางพันธุ์กรรมเหมือนกับข้าวพันธุ์ KDML105 และได้รับชิ้นส่วนโครโมโซมที่ 1 ที่คาดว่ามียีนทนแล้งจากข้าวสายพันธุ์ทนแล้งซึ่งเป็นสายพันธุ์ ดับเบิ้ลแฮบพลอยด์คือ สายพันธุ์ DH212 ดังนั้นการทดลองนี้จึงประเมินการตอบสนองต่อภาสะเครียดจากความเค็มในข้าวประชากร CSSL โดยศึกษาเปรียบเทียบกับข้าวพันธุ์ KDML105 และ DH212 รวมทั้งพันธุ์ มาตรฐานทนเค็มคือข้าวพันธุ์ Pokkali และข้าวพันธุ์มาตรฐานไวต่อความเค็มคือพันธุ์ IR29 ในการศึกษาช่วง เวลาที่เหมาะสมในการศึกษาการตอบสนองทางสรีรวิทยา พบว่าการได้รับความเค็มด้วยโซเดียมคลอไรด์ ที่ความเข้มข้น 150 มิลลิโมลาร์ เป็นเวลา 21 วัน ข้าวพันธุ์ KDML105 IR29 ไม่สามารถมีชีวิตรอดได้ ดังนั้นการทดลองในประชากร CSSL จึงมีการศึกษาในช่วงเวลาถึง 18 วันหลังได้รับภาวะเค็ม โดยเก็บผลในวันที่ 0 6 12 และ 18 วันหลังได้รับภาวะเค็ม ข้าวหลังจากได้รับภาวะเค็มด้วยสารละลายโซเดียมคลอไรด์ ที่ระดับความเข้มข้น 75 mM เป็นเวลา 18 วัน พบว่า CSSL16 มีการเจริญเติบโตดีที่สุด ในขณะที่ภายใต้ สารละลาย โซเดียมคลอไรด์ที่ความเข้มข้น 150 mM ข้าวสายพันธุ์ CSSL10 มีการเจริญเติบโตดีที่สุด ซึ่ง ข้าว CSSL ทั้งสองพันธุ์นี้ได้รับส่วนของยีนทนภาวะเครียดจากโครโมโซมที่ 1 เต็มส่วนตามที่ได้ศึกษาไว้คืออยู่ระหว่างเครื่องหมายโมเลกุล RM1003 และ RM3362 ข้าว CSSL10 CSSL12 และ CSSL16 ยกเว้น CSSL11 ที่มีการแทนที่ชิ้นส่วนทนเค็มบริเวณโครโมโซมที่ 1 มีอัตราการสังเคราะห์ด้วยสงสูงสุด (Amax) ที่ 18 วันหลังได้รับภาวะเค็ม 75 mM เพิ่มสูงขึ้น ในขณะที่ Amax ของข้าวสายพันธุ์ CSSL11 และ CSSL26 มีค่าลดลง ซึ่ง CSSL26 นี้ได้รับส่วนของยีนทนเค็มที่อยู่ระหว่างเครื่องหมายโมเลกุล RM3462 และ RM529 เป็นที่น่าสนใจว่าข้าวสายพันธุ์ CSSL27 ที่ได้รับส่วนของยีนทนเค็มที่อยู่ระหว่างเครื่องหมายโมเลกุล RM7594 RM3442 มี Amax เพิ่มขึ้น ยีน PsbS1 เป็นยีนสำคัญยีนหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง โดยเป็นยีนที่เป็นรหัสของโปรตีน chlorophyll a/b binding ข้าว CSSL27 และข้าวประชากร CSSL อื่น ๆ ที่ได้รับชิ้นส่วนเต็มของยีนที่ทำการศึกษา จะมียีน PsbS1 จากข้าวสายพันธุ์ DH212 ในขณะที่ข้าว CSSL26 มียีน PsbS1 ที่ได้จากข้าวพันธุ์ KDML105 เมื่อเปรียบเทียบการแสดงออกของยีน PsbS1 ในความเข้มข้นเกลือ 75 mM ระหว่างข้าวสายพันธุ์ CSSL11 CSSL16 CSSL26 CSSL27 KDML105 และ DH212 พบว่าข้าวพันธุ์ KDML105 และสายพันธุ์ CSSL26 มีการแสดงออกของยีน PsbS1 ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 18 วันหลังได้รับภาวะเค็ม ขณะที่ข้าว CSSL อื่น ๆ มีความสามารถในการปรับการแสดงออกของยีน PsbS1 ได้คล้ายคลึงกับข้าว DH212 จากข้อมูลนี้แสดงให้เห็นถึงความแตกต่างในการควบคุมการแสดงออกของยีน PsbS1 เมื่ออยู่ในภาวะเค็มของข้าวสายพันธุ์ต่าง ๆ ซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องกับการปรับตัวในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงระหว่างได้รับภาวะเครียดจากความเค็ม และนำไปสู่ความสามารถในการทนเค็มในข้าว |
Other Abstract: | This research was aimed to evaluate some physiological responses of the chromosome segment substitution lines (CSSL), containing various regions between RM1003 and RM3362 markers on chromosome 1 of rice. These CSSLs had ‘KDML105’ rice genetic background and obtained the putative salt tolerant regions from the chromosome 1 of the drought tolerant double haploid line, DH212. Therefore, the experiments were performed to evaluate salt-stress responses among CSSLs, ‘KDML105’ and DH212 rice, in comparison with the salt tolerant standard cultivar, ‘Pokkali’ rice and salt susceptible cultivar, ‘IR29’ rice. To determine the appropriate period for physiological response study, it was found that after 21 days under 150 mM NaCI treatment, ‘KDML105’ and ‘IR29’ rice could not prolong life in this condition. Therefore, the evaluation experiments on CSSLs were performed up to 18 days after treatments. and the data were collected on 0, 6, 12 and 18 days after treatments. After 18 days of 75 mM NaCI treatment, CSSL16 showed the best growth responses among the tested plant lines, while the growth performance of CSSL10 was the best under 150 mM NaCI treatment. Both of them possessed the full segment between RM1003 and RM3362 markers of chromosome 1. The maximum photosynthetic rate (Amax) on day 18 after 75 mM NaCI treatment of all CSSLs containing the full segment of putative tolerant region from chromosome1, CSSL10, CSSL12, and CSSL26, which contained only some part of the putative tolerant region, between RM3462 and RM529. Interestingly, CSSL27, containing the putative tolerant region, between RM7594 and RM3442 also showed the increase in Amax. One of the important genes involving in photosynthesis is PsbS1gene, encoding chlorophyll a/b binding protein, which is the component in photosystem II complex. CSSL27 and CSSLs, containing the full segments of the putative tolerant region obtained PsbS1gene from DH212 rice, while CSSL26 obtained this gene from ‘KDML105’rice. The PsbS1gene expression during 75 mM NaCI treatment was compared among CSSL11, CSSL16, CSSL26, CSSL27, ‘KDML105’ and DH212. The significant reduction in PsbS1gene expression during 18 days of salt stress was found in ‘KDML105’ and CSSL26, while other CSSLs tested showed the ability to adapt the level of PsbS1gene expression similar to what was found in DH212. These data suggested the difference in the regulation of PsbS1gene expression during salt stress in these plant lines, which contributed to the adaptation in photosynthesis process during salt stress and lead to salt tolerant ability in rice. |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | พฤกษศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/77915 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.1951 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2013.1951 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Panita_ch_front_p.pdf | หน้าปกและบทคัดย่อ | 1.36 MB | Adobe PDF | View/Open |
Panita_ch_ch1_p.pdf | บทที่ 1 | 824.55 kB | Adobe PDF | View/Open |
Panita_ch_ch2_p.pdf | บทที่ 2 | 1.49 MB | Adobe PDF | View/Open |
Panita_ch_ch3_p.pdf | บทที่ 3 | 1.03 MB | Adobe PDF | View/Open |
Panita_ch_ch4_p.pdf | บทที่ 4 | 7.8 MB | Adobe PDF | View/Open |
Panita_ch_ch5_p.pdf | บทที่ 5 | 1.67 MB | Adobe PDF | View/Open |
Panita_ch_ch6_p.pdf | บทที่ 6 | 694.68 kB | Adobe PDF | View/Open |
Panita_ch_back_p.pdf | บรรณานุกรมและภาคผนวก | 1.62 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.