Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/77962
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | สมพรนุช ตันศรีสุข | - |
dc.contributor.author | ภัทรธรณ์ แสนพินิจ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2021-12-21T09:16:55Z | - |
dc.date.available | 2021-12-21T09:16:55Z | - |
dc.date.issued | 2562 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/77962 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (อ.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562 | en_US |
dc.description.abstract | วิทยานิพนธ์มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการสร้างสรรค์เรื่องเล่าราหูในสื่อสมัยใหม่และวิเคราะห์บทบาทในบริบทสังคมพุทธศาสนาไทย เรืองเล่าราหูในสื่อสมัยใหม่ที่ศึกษามีทั้งหมด 45 แหล่ง ทั้งจากสื่อสิ่งพิมพ์ ได้แก่ หนังสือและนิตยสาร มี 17 แหล่ง และสื่อดิจิทัล ได้แก่ เว็บไซต์, เฟซบุ๊กและยูทูบ มี 28 แหล่ง ผลการศึกษาพบว่าเรื่องเล่าราหูในหนังสือรวบรวมเรื่องของราหูฉบับเต็มและเป็นแหล่งข้อมูลต้นตอของเรื่องเล่าราหูในสื่ออื่นๆ เรียบเรียงขึ้นใหม่โดยอิงกับตำนานราหูจากวรรณคดีพราหมณ์-ฮินดู, วรรณคดีพุทธศาสนา และวรรณกรรมไทยด้วยกลวิธี 3 แบบ ได้แก่ (1) ตัดต่อ, (2) ปรับเปลี่ยนเนื้อหาโดยการดัดแปลงกับขยายความ และ (3)สร้างเรื่งอเล่าขึ้นใหม่ การตัดต่อคือการเลือกตำนานสำคัญเพื่ออธิบายภูมิหลังและชูบทบาทของราหูในเรื่องเล่า ได้แก่ ตอนกำเนิดเทพนพเคราะห์และตอนบุพกรรมกับพระอาทิตย์และพระจันทร์จากเฉลิมไตรภพ, พระพุทธเจ้าทรมานราหูจากจันทิมสูตรและสุริยสูตร ราหูฟังธรรมและได้รับพุทธพยากรณ์จากอรรถกถาโสณทัณฑสูตร การปรับเปลี่ยนเนื้อหาคือการดัดแปลงตำนานที่มีอยู่เดิมมาอธิบายเพิ่มเติมเพื่อให้ราหูมีภาพลักษณ์ที่ดี เป็นเทพที่ควรได้รับการบูชาในพุทธศาสนา ตำนานที่ดัดแปลง ได้แก่ ตอนราหูดื่มน้ำอมฤตเพื่อแสดงว่าราหูมิได้เป็นผู้กระทำความผิด และตอนที่ได้รับพุทธพยากรณ์ การสร้างขึ้นใหม่เป็นเล่าที่มาของสถานะความเป็นเทพของราหู และประสบการณ์บุคคลซึ่งไม่อิงกับตำนานที่มีอยู่เดิม ได้แก่ โชคลาภจากราหู และความศักดิ์สิทธิ์ของเครื่องราง เรื่องเล่าราหูในสื่อดิจิทัลมีพื้นที่จำกัดจึงมีเฉพาะตอนสำคัญ ได้แก่ กำเนิดและพงศ์พันธุ์, การลักดื่มน้ำอมฤต, การพบพระพุทธเจ้าและได้รับพุทธพยากรณ์, และการร่วมรจนาบทนะโม เรื่องเล่าราหูในสื่อสมัยใหม่มีบทบาทสำคัญทำให้ตำนานราหูจากวรรณคดีศาสนาและวรรณกรรมไทยเป็นที่รู้จักในสังคมไทยปัจจุบัน ช่วยสร้างเสริมความมั่นใจของผู้บูชา รับรองหรือสนับสนุนการบูชาราหูทั้งในแง่อามิสบูชาและปฏิบัติบูชา และช่วยอธิบายรูปแทนและเครื่องรางพระราหูที่ถูกสร้างขึ้นภายหลัง รวมถึงพิธีทรงเจ้าซึ่งอ้างว่าราหูเข้าร่างทรงเพื่อช่วยเหลือมนุษย์ ทั้งหมดนี้สะท้อนให้เห็นบทบาทของตำนานเทพปกรณัมในศาสนาพราหมณ์-ฮินดูซึ่งเป็นพื้นฐานของตำนานเทวดาในพุทธศาสนาในการสร้างเรื่องเล่ารองรับความเชื่อและพิธีกรรมเกี่ยวกับผีและวิญญาณในพุทธศาสนาปัจจุบัน | en_US |
dc.description.abstractalternative | The dissertation aims to study the creation of narratives of Rāhu in modern media and to analyze their roles in Thai Buddhist context. There are 45 narratives, 17 are publications (i.e., paperback and periodicals), and 28 and digital media (i.e., website, Facebook, and YouTube). It is found that narratives of Rāhu published in paperback are more comprehensive in covering the full extend of Rāhu stories and become the original versions for the other media. They are composed based on Brahman-Hindu literature, Buddhist literature, and Thai literature with 3 methods : (1) editing, (2) modification with content adaptation and elaboration, and (3) new creation. Editing is an act of selecting original texts about the background and Rāhu's role in the creation. The most common texts are the birth of the Nine Planet (Navagraha) and the previous deeds of the sun god and the moon god from Chalermtraibhop, the Buddha's tamimg of Rāhu from Candima-Suriyasutta and Rahu's hearing of Buddha's sermon and receiving Bhuddha's prediction for commentary of Sonadondasutta. Modification is an act of changing original text. while adding information to improve Rāhu's image in order to increase worth for worship in Buddhism. The most modified text are Rāhu's drinking elixir of immortality to propose that Rāhu did not cheat the drink and Rāhu's hearing Buddha's sermon to state that Rāhu attained Sotapanna. New creation is an act of developing Rāhu's godhood and retelling a story about experience of luck with Rāhu and his amulet. Digital Media provide limited area of information, normally offering the immortality, encounter with Buddha, Buddha's prediction, and co-compositon of reverence to Buddha. The narratives of Rāhu in modern media play a significant role in making the legend of Rāhu from religious literature and Thai literature that are widely known in Thai society, enhancing a Buddhist's confidence in Rāhu, supporting Rāhu worship, explaning new-style Rāhu images and amulets, and presenting Rāhu shaman. The created narratives reflect the role of Brahman-Hindu mythology in the foundation of Buddhist gods and new narratives supporting animism and spiritualism in Thai Buddhism. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2019.1056 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | ราหู | en_US |
dc.subject | เทพปกรณัมพุทธศาสนา | en_US |
dc.subject | พุทธศาสนากับวรรณกรรม | en_US |
dc.subject | Rahu | en_US |
dc.subject | Buddhist mythology | en_US |
dc.subject | Buddhism and literature | en_US |
dc.title | เรื่องเล่าราหูในสื่อสมัยใหม่ : การสร้างสรรค์และบทบาทในบริบทสังคมพุทธศาสนาไทย | en_US |
dc.title.alternative | Narratives of Rāhu in modern media : Creation and roles in Thai buddhist context | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาเอก | en_US |
dc.degree.discipline | ภาษาบาลี-สันสกฤต และพุทธศาสน์ศึกษา | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.identifier.DOI | 10.58837/CHULA.THE.2019.1056 | - |
Appears in Collections: | Arts - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5980518122.pdf | ไฟล์วิทยานิพนธ์ฉบับเต็ม | 5.57 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.