Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78012
Title: การถ่ายยีนต้านทานยาปราบวัชพืชไบอะลาฟอสรูปแบบลิเนียร์ดีเอ็นเอเข้าสู่กล้วยไม้ช้างกระ Rhynchostylis gigantea
Other Titles: Transformation of bialaphos resistant gene in linear DNA form into Rhynchostylis gigantea
Authors: อินทิรา จารุเพ็ง
Advisors: ปิยะศักดิ์ ชอุ่มพฤกษ์
ปิยรัษฎ์ ปริญญาพงษ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Subjects: ยากำจัดวัชพืช
กล้วยไม้ช้างกระ
Herbicides
Rhynchostylis gigantea
Issue Date: 2550
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: พัฒนาวิธีการถ่ายยีนต้านทานยาปราบวัชพืชไบอะลาฟอสรูปแบบลิเนียร์ดีเอ็นเอเข้าสู่กล้วยไม้ช้างกระ Rhynchostylis gigantea เริ่มจากหาสูตรอาหารที่เหมาะสมในการเพิ่มปริมาณแคลลัสจากโปรโตคอร์มที่ได้จากการเพาะเมล็ด การทดสอบหาปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการถ่ายยีน ได้แก่ ระดับปริมาณดีเอ็นเอในรูปแบบลิเนียร์ดีเอ็นเอ ระดับความเข้มข้นของสารละลาย PEG ระยะเวลาในการส่งผ่านสนามไฟฟ้าที่ระดับแรงเคลื่อนไฟฟ้า 50 โวลท์ และอิทธิพลของการให้ชุดการทดลองที่มีและไม่มีจีโนมดีเอ็นเอของกล้วยไม้ และการทำหรือไม่ทำปฏิกิริยาตัดจีโนมดีเอ็นเอของแคลลัสของกล้วยไม้ด้วยเอ็นไซม์จำเพาะ พบว่าอาหารสูตร VW ที่ไม่มีสารควบคุมการเจริญเติบโตชักนำให้เกิดแคลลัสจากโปรโตคอร์มที่เหมาะเป็นวัสดุวิจัยมากที่สุด และพบว่าภาวะที่เหมาะสมในการถ่ายยีนต้านทานยาปราบวัชพืชไบอะลาฟอสเพื่อกระตุ้นให้เกิดกล้วยไม้ช้างกระ Rhynchostylis gigantea ต้านทานยาปราบวัชพืชไบอะลาฟอส ได้แก่ การใช้ดีเอ็นเอเข้มข้น 10 µg/ml ในสารละลาย PEG 1% ระยะเวลาในการส่งผ่านสนามไฟฟ้าที่ระดับแรงเคลื่อนไฟฟ้า 50 โวลท์ 20 วินาที การเพิ่มจีโนมดีเอ็นเอของแคลลัสกล้วยไม้มีผลให้ประสิทธิภาพในการถ่ายยีนสูงขึ้น ขณะที่การให้ชุดการทดลองตัดจีโนมดีเอ็นเอของแคลลัสกล้วยไม้ด้วยเอ็นไซม์จำเพาะไม่มีผลต่อการเพิ่มประสิทธิภาพการถ่ายยีน
Other Abstract: Transformation of bialaphos resistant gene in linear DNA form into orchid Rhynchostylis gigantea was developed. Optimal condition for callus cultured from protocorm was initiated. DNA concentration, linear DNA, PEG concentration, electropulse period, the presence or absence of genomic DNA and the restriction enzyme activity were studied to investigate their effects on transformation efficiency. The result indicated that VW medium without hormone was the most appropriate condition, induced callus from protocorm the most. The suitable transformation condition inducing bialaphos resistance was 10 µg/ml DNA, 1% PEG, 20 seconds of 50 volt electropulse. Adding genomic DNA from callus enhanced the potential of transformation whereas adding restriction-digested genomic DNA from callus had no effect on transformation efficiency.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พันธุศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78012
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.2237
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2007.2237
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
4672553223.pdfวิทยานิพนธ์ฉบับเต็ม (Fulltext)916.42 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.