Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78047
Title: โปรแกรมสนับสนุนการตัดสินใจในการจัดสมดุลสายการผลิต กรณีศึกษา โรงงานผลิตผลิตภัณฑ์บำรุงเส้นผม
Other Titles: Decision support program for assembly line balancing a case study : a hair-nourishing product manufacturing
Authors: กรองทอง งามณรงค์พงษ์
Advisors: วิภาวี ธรรมาภรณ์พิลาศ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Subjects: การจัดสมดุลสายการผลิต
ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ
Assembly-line balancing
Decision support systems
Issue Date: 2550
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยฉบับนี้ได้มุ่งเน้นการพัฒนาโปรแกรมสนับสนุนการตัดสินใจจัดกำลังคนเพื่อช่วยในการจัดสายการผลิตของหัวหน้างาน โดยสร้างแบบจำลองสายการผลิตที่ถูกจัดสมดุลโดย 3 วิธีการคือ 1) การจัดกำลังคนในสายการผลิตดั้งเดิม 2) วิธีของ Kilbridge และ Wester และ 3) วิธีบัคเกตบริเกดส์ เพื่อให้หัวหน้างานสามารถเลือกจำนวนคนงาน วิธีการจัดสายการผลิตเพื่อให้ได้อัตราผลผลิตที่ต้องการ โดยทำการทดลองบนแบบจำลอง ซึ่งไม่ต้องรบกวนต่อการทำงานจริง ผลจากการจัดสมดุลและจากแบบจำลองสรุปได้ว่า วิธีการจัดกำลังคนในสายการผลิตดั้งเดิมให้อัตราผลผลิตต่ำที่สุด และวิธีบัคเกต บริเกดส์ให้อัตราผลผลิตสูงที่สุด เมื่อมีจำนวนคนงานเท่ากัน โดยอัตราผลผลิตของวิธีการจัดกำลังคนในสายการผลิตดั้งเดิม และวิธีของ Kilbridge และ Wester นั้นแปรผันตามจำนวนคนงาน และมีความสัมพันธ์กับจำนวนคนงานเป็นขั้นบันได เมื่อพิจารณาอัตราผลผลิตโดยวิธีบัคเกต บริเกดส์ พบว่าอัตราผลผลิตแปรผันตามจำนวนคนงานเชิงเส้นตรง โดยเปอร์เซนต์อรรถประโยชน์ของทุกคนงานบนสายการผลิตแบบบัคเกต บริเกดส์นั้นมีค่าใกล้เคียงกัน ต่างจากวิธีการจัดกำลังคนในสายการผลิตดั้งเดิม และวิธีของ Kilbridge และ Wester ซึ่งเปอร์เซนต์อรรถประโยชน์ของคนงานในแต่ละสถานีงานมีความแตกต่างกัน เมื่อเปรียบเทียบอัตราผลผลิตที่ได้จากแบบจำลองพบว่า พบว่าอัตราผลผลิตของวิธีของ Kilbridge และ Wester เพิ่มขึ้นจากวิธีการจัดกำลังคนในสายการผลิตดั้งเดิมประมาณ 15 เปอร์เซนต์ อัตราผลผลิตของวิธี บัคเกต บริเกดส์ เพิ่มขึ้นจากวิธีการจัดกำลังคนในสายการผลิตดั้งเดิมประมาณ 33 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเมื่อตรวจสอบความถูกต้องสมเหตุสมผลด้วยอัตราผลผลิตจากการทดลองจริงของการจัดสมดุลทั้ง 3 วิธีการด้วยคนงานชุดเดียวกันพบว่าแบบจำลองสามารถใช้แทนระบบการผลิตจริงได้ไม่แตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญ 0.05
Other Abstract: This paper presents a Decision Support Program for assembly line balancing for Line leader to allocate labor by simulate line which is balanced by three methods: 1) Allocate labor on the original line method, 2) Kilbridge and Wester method and 3) Bucket Brigade method. Line leader can trial the worker quantity and balancing method on simulation to achieve the desired throughput rate. The results from pilot run and simulation show that the Allocate labor on the original line method can give the minimum throughput rate and Bucket Brigades method can give the maximum throughput rate at the same worker quantity. Throughput rate from the Allocate labor on the original line method and Kilbridge and Wester method is direct relationship to worker quantity as step function. For Bucket Brigades method, the throughput rate is direct relationship to worker quantity as linear function and this method can distribute worker load to each worker equally but the allocate labor on the original line method and Kilbridge and Wester method cannot. Comparing to the result from simulation shown that the Kilbridge and Wester method can increased the throughput rate from the Allocate labor on the original line method as 15 percent. The throughput rate from Bucket Brigades method is increased 33 percent from the Allocate labor on the original line method. The output from simulation be verified and validate with the throughput rate from pilot run of these 3 methods shown the simulation can be accepted at 0.05 significant level.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมอุตสาหการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78047
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
4770208521.pdfวิทยานิพนธ์ฉบับเต็ม (Fulltext)1.91 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.