Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78082
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุพัฒน์ เจริญพรวัฒนา-
dc.contributor.advisorณัฐพันธุ์ ศุภกา-
dc.contributor.authorพินิตพล พรหมบุตร-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์-
dc.date.accessioned2022-02-18T08:00:22Z-
dc.date.available2022-02-18T08:00:22Z-
dc.date.issued2550-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78082-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550en_US
dc.description.abstractวัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้คือ เพื่อเตรียมอนุภาคนาโนชนิดไขมันแข็งที่บรรจุไนซิน และศึกษาผลของความเป็นกรด-เบสและความเข้มข้นของเกลือต่อการปล่อยไนซินออกจากอนุภาคเพื่อคงแอกทิวิตีการยับยั้งจุลินทรีย์ เตรียมอนุภาคนาโนชนิดไขมันแข็งด้วยวิธีฮอโมจีไนเซชันความดันสูงจากไขมันแข็งอิมวิเตอร์ 900 พบว่าการใช้ความดันของเครื่องฮอมอจิไนเซอร์ที่ 1500 บาร์ 3 รอบ พอล็อกซาเมอร์ 188 ร้อยละ 5 และโซเดียมดีออกซีโคเลตร้อยละ 0.125 เป็นสารลดแรงตึงผิวและสารลดแรงตึงผิวร่วม ตามลำดับ อนุภาคจะมีขนาดเล็กและมีการกระจายขนาดอนุภาคแคบ ทำการบรรจุไนซินร้อยละ 0.5-3.0 ลงในอนุภาคนาโนที่เตรียมโดยภาวะข้างต้น จากการวัดด้วยเครื่องโฟตอน คอร์รีเลชัน สเปกโทรสโกปี อนุภาคนาโนที่บรรจุไนซินจะมีขนาดใหญ่กว่าอนุภาคนาโนที่ไม่ได้บรรจุไนซิน โดยมีขนาดอยู่ระหว่าง 159 ถึง167 นาโนเมตร และมีค่าความต่างศักย์ไฟฟ้าที่อยู่ระหว่าง -28.3 ถึง -29.2 มิลลิโวลต์ ซึ่งการบรรจุไนซินร้อยละ 2 ลงในอนุภาคนาโนจะมีประสิทธิภาพการสูงสุดร้อยละ 73.6 เมื่อเก็บอนุภาคไว้ที่อุณหภูมิห้องเป็นเวลา 28 วัน อนุภาคนาโนจะมีขนาดและค่าความต่างศักย์ไฟฟ้าที่ผิวเพิ่มขึ้นอยู่ระหว่าง 214 ถึง 245 นาโนเมตร และ -21.6 ถึง -25.9 มิลลิโวลต์ ตามลำดับ อนุภาคนาโนสามารถควบคุมการปลดปล่อยไนซินได้นาน 25 วัน ยกเว้นการบ่มอนุภาคที่ความเข้มข้นเกลือ 0.5 โมลาร์ อย่างไรก็ตามความเป็นกรด-เบสและความเข้มข้นเกลือของบัฟเฟอร์ที่เพิ่มขึ้นจะทำให้การปล่อยไนซินจากอนุภาคลดลง จากการศึกษาการยับยั้งเชื้อทดสอบ Listeria monocytogenes DMST 2871 และ Lactobacillus plantarum TISTR 850 อนุภาคนาโนชนิดไขมันแข็งบรรจุไนซินร้อยละ 2 จะมีแอกทิวิตีการยับยั้งเชื้อได้ดีที่สุด และจะคงแอกทิวิตีการยับยั้งเชื้อได้นาน 20 วัน สำหรับเชื้อ Listeria monocytogenes DMST 2871 และ 10 วัน สำหรับเชื้อ Lactobacillus plantarum TISTR 850 ตามลำดับ จากการศึกษาขนาดด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด แสดงให้เห็นว่าอนุภาคนาโนมีการเปลี่ยนแปลงขนาดเล็กน้อยในระหว่างการทดลองen_US
dc.description.abstractalternativeThe aims of this study were to prepare nisin loaded solid lipid nanoparticles by high pressure homogenization method and to study the effect of difference in pH and salt concentration on nisin releasing profile for sustained antimicrobial activity. An optimized condition for particle preparation was studied by characterization of unloaded nanoparticles. Using IMWITOR 900 as solid matrix at pressure of 1500 bar of high pressure homogenizer with 3 cycles, small size and narrow polydispersity were observed when 5% poloxamer 188 and 0.125% sodium deoxyglycholate were used as surfactant and co-surfactant, respectively. For 0.5%-3.0% nisin loaded, result from Photon correlation spectroscopy (PCS) showed that particle size was in range of 159-167 nm which increased from unloaded nanoparticle. Zeta-potential was in range of -28.3 to -29.2 mV. During 28 days at room temperature, size and zeta-potential were increased to range of 214-245 nm and -21.6 to -25.9 mV, respectively. In vitro release studies showed that nisin was released throughout 25 days exccept incubation with 0.5 M sodium chloride. However, the release was lower as the salt concentration and pH of the buffer increased. In vitro nisin biological activity was investigated by incubation in liquid medium containing either Listeria monocytogenes DMST 2871 or Lactobacillus plantarum TISTR 850 and showed that antimicrobial activity was maintained up to 20 days and 10 days of incubation, respectively. Scanning electron microscopy demonstrated that particle size was slightly changed during experiment.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2007.2241-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectจุลินทรีย์en_US
dc.subjectไนซินen_US
dc.subjectอนุภาคนาโนen_US
dc.subjectMicroorganismsen_US
dc.subjectNisinen_US
dc.subjectNanoparticlesen_US
dc.titleการสร้างอนุภาคนาโนชนิดไขมันแข็งที่บรรจุไนซินเพื่อคงแอกทิวิตียับยั้งจุลินทรีย์en_US
dc.title.alternativeProduction of nisin loaded solid lipid nanoparticles for sustanined antimicrobial activityen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineจุลชีววิทยาทางอุตสาหกรรมen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2007.2241-
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
4872391023_2550.pdfวิทยานิพนธ์ฉบับเต็ม (Fulltext)3.63 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.