Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78093
Title: ราเอนโดไฟต์ที่แยกได้จากใบพืชในป่าเต็งรัง จังหวัดตาก
Other Titles: Endophytic fungi isolated from plant leaves in dipterocarp forest, Tak province
Authors: กฤตพงศ์ อรชัยพันธ์ลาภ
Advisors: โสภณ เริงสำราญ
ประกิตติ์สิน สีหนนทน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Subjects: เชื้อราเอนโดไฟต์
เซลล์มะเร็ง
Endophytic fungi
Cancer cells
Issue Date: 2551
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: แยกราเอนโดไฟต์ในใบไม้จากพืช 9 ชนิดได้แก่ เต็ง รัง กระโดน ยอป่า กระทุ่ม ปอลาย สมอไทย แค และทองหลาง ในป่าเต็งรังบริเวณจังหวัดตากโดยทำการศึกษาในฤดูฝนในปี พ.ศ. 2550 และฤดูแล้งในปี พ.ศ. 2551 จำนวน 340 ตัวอย่าง โดยนำตัวอย่างใบไม้จากพืชดังกล่าวมาจำแนกชนิดของราเอนโดไฟต์ตามหลักสัณฐานวิทยาได้ราเอนโดไฟต์ทั้งสิ้น 231 ตัวอย่าง พบว่าความหลากหลายทางชีวภาพในฤดูฝนมีมากกว่าฤดูแล้งโดยพบ Mycelia sterilia sp.2 มากที่สุด พบราเอนโดไฟต์ที่พบได้บ่อยได้แก่ Phomopsis sp., Nigrospora sp., Pestalothiopsis sp., Xylaria sp. เมื่อทดสอบความสามารถในการสร้างสารปฏิชีวนะยับยั้งจุลินทรีย์ทดสอบ 5 ชนิด ได้แก่ Pseudomonas aeruginosa ATCC9027 Escherichia coli ATCC25922 Bacillus subtilis ATCC6633 Staphylococcus aureus ATCC25923 Candida albicans ATCC 70014 พบว่ามีราเอนโดไฟต์เพียง 1 สายพันธุ์ได้แก่ สายพันธุ์ DSO2 ที่ยับยั้งการเจริญของจุลินทรีย์ได้ทุกชนิด เมื่อนำมาทดสอบความสามารถในการสร้างสารออกฤทธิ์ยับยั้งเซลล์มะเร็ง 7 ชนิดและเซลล์ปกติ 1 ชนิดด้วยวิธี MTT assay พบว่าราเอนโดไฟต์สายพันธุ์ WAC9 สามารถยับยั้งเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาวได้จำเพาะเจาะจง และราเอนโดไฟต์สายพันธุ์ WGE2 สามารถยับยั้งเซลล์มะเร็งลำไส้ได้จำเพาะเจาะจง เมื่อจำแนกสายพันธุ์โดยวิธีทางอณูชีววิทยา พบว่าราเอนโดไฟต์สายพันธุ์ WAC9 คือ Glomerella cingutala และราเอนโดไฟต์สายพันธุ์ WGE2 คือ Phomopsis sp. หลังจากนั้นได้ทำการศึกษาราเอนโดไฟต์ทั้ง 2 สายพันธุ์เพื่อสนับสนุนการตายของเซลล์แบบอะพอพโตซิส โดยสายพันธุ์ WAC9 สามารถกระตุ้นเซลล์มะเร็งมีการตายแบบอะพอพโตซิสได้
Other Abstract: Endophytic fungi were isolated from 340 samples leaf of 9 Dipterocarp forest tree species such as Shorea obtuse, Shorea siamensis, Careya sphaerica, Morinda pubescens, Anthocephalus chinensis, Grewia criocarpa, Terminalia chebula, Fermandoa adenophylla, Erythrina variegate in Tak province during wet season 2007 and dry season 2008. Total 231 endophytic fungi isolates were obtained and identification based on morphological characteristic. Biodiversity of endophytic fungi were greater in wet season than dry season. Mycelia sterilia sp.2 was the most frequency isolated from all different plant host species. Moreover, the typical endophytic fungi genera such as Phomopsis sp., Nigrospora sp., Pestalothiopsis sp. and Xylaria sp. were commonly found in this area. DSO2 was one isolate showed broad spectrum antimicrobial against Pseudomonas aeruginosa ATCC9027 Escherichia coli ATCC25922 Bacillus subtilis ATCC6633 Staphylococcus aureus ATCC25923 Candida albicans ATCC 70014. A anticancer activity against seven human cell lines and non cancer kidney African green monkey (Vero) cell lines by using MTT assay. WAC9 and WGE2 were activitied against human acute T-cell leukemia and human colorectal adenocarcinoma respectively. Both strain were then identified as Glomerella cingutala and Phomopsis sp. by molecular technique. Strain WAC9 showed apoptosis character.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม. )--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เทคโนโลยีชีวภาพ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78093
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.2146
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2008.2146
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
4972211923_2551.pdfวิทยานิพนธ์ฉบับเต็ม (Fulltext)5.02 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.