Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78122
Title: การพัฒนารูปแบบและยุทธศาสตร์การสร้างพันธะสัญญาสาธารณะระหว่างสถาบันอุดมศึกษากับสังคม
Other Titles: Development of a model and strategies for creating civic engagement between higher education institutions and community
Authors: อรุณี หงษ์ศิริวัฒน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Subjects: สถาบันอุดมศึกษา
สถาบันอุดมศึกษา -- การบริหาร
สถาบันอุดมศึกษา -- แง่ยุทธศาสตร์
ยุทธศาสตร์
Issue Date: 2561
Publisher: คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ประการคือ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันของการสร้างพันธะสัญญาสาธารณะ ระหว่างสถาบันอุดมศึกษากับสังคม 2) เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยพหุระดับที่สัมพันธ์กับการสร้างพันธะสัญญาสาธารณะระหว่างสถาบันอุดมศึกษากับสังคม 3) เพื่อพัฒนารูปแบบการสร้างพันธะสัญญาสาธารณะระหว่างสถาบันอุดมศึกษากับสังคม 4) เพื่อพัฒนายุทธศาสตร์ การสร้างพันธะสัญญาสาธารณะระหว่างสถาบันอุดมศึกษากับสังคม เครื่องมือที่ใช้ใน การวิจัย ประกอบด้วย แบบวิเคราะห์เอกสาร แบบสัมภาษณ์ผู้บริหารในสถาบันอุดมศึกษา และแบบสอบถาม จำนวน 3 ชุด ได้แก่ แบบสอบถามผู้บริหาร แบบสอบถามอาจารย์ และแบบสอบถามนิสิตนักศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา การวิเคราะห์ค่าเฉลี่ยและปัจจัยพหุระดับโดยใช้เทคนิค Hierarchical Linear Models (HLM) ผลการวิจัย พบว่า 1. ผลการศึกษาสภาพปัจจุบันของการสร้างพันธะสัญญาสาธารณะระหว่างสถาบันอุดมศึกษากับสังคม เมื่อสอบถามจากผู้บริหาร อาจารย์ และนิสิตนักศึกษา พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ บทบาทของผู้บริหารในการ ส่งเสริมให้นิสิตนักศึกษามีพันธะสัญญากับสถาบันอุดมศึกษาโดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยในประเด็นการปลูกฝังให้นักศึกษามี จิตอาสา โดยการจัดกิจกรรมที่บำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคม (ค่าเฉลี่ย 4.26) และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ บทบาทของ สถาบันอุดมศึกษาด้านการเมือง โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยในประเด็นสถาบันอุดมศึกษามีการจัดการเรียนการสอน การวิจัย ที่สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล เพื่อการขับเคลื่อนที่เป็นหนึ่งเดียวกัน (ค่าเฉลี่ย 3.74) 2. ผลการวิเคราะห์ปัจจัยพหุระดับที่สัมพันธ์กับการสร้างพันธะสัญญาสาธารณะระหว่างสถาบันอุดมศึกษากับสังคม พบว่า ในแต่ละสถาบันมีค่าเฉลี่ยของการรับรู้การสนับสนุนของสถาบันแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 3. ผลการพัฒนารูปแบบการสร้างพันธะสัญญาสาธารณะระหว่างสถาบันอุดมศึกษากับสังคม ประกอบด้วย 1) หลักการและวัตถุประสงค์ของรูปแบบ เพื่อเป็นแนวทางสำหรับผู้บริหาร คณาจารย์ นิสิตนักศึกษาในสถาบัน อุดมศึกษาในการสร้างพันธะสัญญาสาธารณะระหว่างสถาบันอุดมศึกษากับสังคม 2) องค์ประกอบของรูปแบบและกิจกรรม ประกอบด้วย (1) ผู้บริหารกำหนดนโยบาย การสื่อสารสร้างความเข้าใจภายในองค์กรเพื่อให้เกิดความเอกภาพ (2) อาจารย์ ให้คำปรึกษาและให้ทุนกับผู้มีจิตสำนึกในการช่วยเหลือสังคม (3) นิสิตนักศึกษา ได้รับการพัฒนาให้นักศึกษามีความเป็นพลเมืองที่ดี (Citizenship) เป็นแบบอย่างหรือรูปแบบที่ดีแก่สังคม (4) กิจกรรม มีการบูรณาการกับ การเรียนการสอน การวิจัย และกิจกรรมการพัฒนานิสิตนักศึกษา และสร้างให้นิสิตนักศึกษาเข้าใจสังคม 4. ผลการพัฒนายุทธศาสตร์ การสร้างพันธะสัญญาสาธารณะระหว่างสถาบันอุดมศึกษากับสังคม ประกอบด้วย ยุทธศาสตร์ 7 ประการคือ 1) การบริการสาธารณะและบริการวิชาการ 2) พันธกิจสัมพันธ์ ด้านการวิจัย 3) พันธกิจสัมพันธ์ ด้านการเรียนการสอน 4) พันธกิจสัมพันธ์ ด้านการชี้แนะสังคม 5) พันธกิจสัมพันธ์ ด้านวิสาหกิจชุมชน 6) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 7) การสร้างพลังอำนาจของสถาบันอุดมศึกษาและสังคม
Other Abstract: This research has 4 objectives; 1) to investigate the current state of creating civic engagement between higher education institutions and community; 2) to analyze multi-level factors relating to creating civic engagement between higher education institutions and community; 3) to develop a model for creating civic engagement between higher education institutions and community and; 4) to develop strategies for creating civic engagement between higher education institutions and community. The research instruments were 1) document analysis form 2) interview 3) administrator, faculty member and undergraduate student questionnaires. Data Analysis are composed of content analysis, mean, Hierarchical Linear Models (HLM). The findings were as follows: 1. A current situation for creating civic engagement between higher education institutions and community. Educational administrators, faculty members, and undergraduate students who responded to the questionnaires could be described as follows: the highest aspect levels was roles of educational administrators in promoting students to have civic engagement with higher education institutions, which demonstrates that educational administrators taught students to have service mind through outreach activities, the mean was 4.26; the fewest aspect levels was political context which demonstrates that higher education institutions provided teaching and learning management and conducted research in line with the government policies in order to move forward to the same direction, the mean was 3.74 2. An analysis of Multi-Level Factors Related to Creating Civic Engagement between Higher Education Institutions and Community were perception toward institution support of each institution was varied significantly at .05 3. Development of a model for creating civic engagement between higher education institutions and community were composed of 1) Principles and Objectives of a Model to be a guideline for educational administrators, faculty and students in higher education institutions in creating civic engagement between higher education institutions and community; 2) Elements of a Model and Activities were composed of (1) Communication that creates understanding within an organization to achieve unity in cooperation and action (2) Providing counseling and fund for conscious persons who help communities (3) Developing good citizenship, become a good model for communities, devote themselves and encourage others to have knowledge and good citizenship awareness (4) Developing good citizenship, become a good model for communities, devote themselves and encourage others to have knowledge and good citizenship awareness. 4. Strategies for creating civic engagement between higher education institutions and community consist of 7 strategies as follows; Strategy1 Public Service and Outreach, Strategy2 Engaged Research, Strategy3 Teaching and Learning, Strategy4 Social Advocacy, Strategy5 Social Enterprise, Strategy6 Interaction Learning and Strategy7 Empowerment Strategy.
Description: การอุดมศึกษากับการพัฒนาประเทศ -- พันธะสัญญาสาธารณะ -- ความรับผิดชอบสาธารณะ -- ความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรธุรกิจ -- การวิเคราะห์พหุระดับ -- ผลการวิเคราะห์สภาพปัจจุบันของการสร้างพันธะสัญญาสาธารณะระหว่างสถาบันอุดมศึกษากับสังคม -- ผลการวิเคราะห์ปัจจัยพหุระดับที่สัมพันธ์กับการสร้างพันธะสัญญาสาธารณะระหว่างสถาบันอุดมศึกษากับสังคม -- ผลการพัฒนารูปแบบการสร้างพันธะสัญญาสาธารณะระหว่างสถาบันอุดมศึกษากับสังคม -- ผลการพัฒนายุทธศาสตร์การสร้างพันธะสัญญาสาธารณะระหว่างสถาบันอุดมศึกษากับสังคม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78122
Type: Technical Report
Appears in Collections:Edu - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Edu_Arunee Hong_2518.pdfรายงานวิจัยฉบับเต็ม (Fulltext)2.58 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.