Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78148
Title: เส้นใยนาโนพอลิไวนิลแอลกอฮอล์อิเล็กโทรสปันแบบเรียงตัวสาหรับอัลตราทินแลร์โครมาโทกราฟี
Other Titles: Aligned electrospun polyvinyl alcohol for ultrathin layer chromatography
Authors: บุษรินทร์ ลีเพ็ง
Advisors: พุทธรักษา วรานุศุภากุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Subjects: เส้นใยนาโน
โพลิไวนิลแอลกอฮอล์
ทินเลเยอร์โครมาโตกราฟี
Nanofibers
Polyvinyl alcohol
Thin layer chromatography
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ในงานวิจัยนี้เส้นใยนาโนพอลิไวนิลแอลกอฮอล์อิเล็กโทรสปันแบบเรียงตัวเตรียมได้ด้วยเทคนิคอิเล็กโทร สปินนิงโดยใช้ฉากรับแบบหมุน เนื่องจากพอลิไวนิลแอลกอฮอล์ละลายน้ำได้ทำให้เป็นข้อจำกัดในการใช้เป็นเฟสคงที่ในอัลตราทินแลร์โครมาโทกราฟี ดังนั้น จึงทำการเชื่อมขวางพอลิไวนิลแอลกอฮอล์ด้วยกลูตาราลดีไฮด์เป็นเวลา 5 ชั่วโมง ก่อนนำไปอิเล็กโทรสปินนิง โดยภาวะในการเตรียมเส้นใยนาโนพอลิไวนิลแอลกอฮอล์แบบเรียงตัวได้แก่ อัตราการไหลของพอลิเมอร์เหลว 7 ไมโครลิตรต่อนาที ศักย์ไฟฟ้า 23 กิโลโวลต์ ระยะทางระหว่างปลายเข็มและฉากรองรับเส้นใย 15 เซนติเมตร และฉากรับเส้นใยแบบหมุนความเร็ว 1250 รอบต่อนาที ได้เส้นใยที่มีลักษณะเรียบและมีการเรียงตัวเป็นแนวตรงเป็นที่น่าพอใจ ทำการตัดเส้นใยเป็นแผ่นขนาด 2x3 ตารางเซนติเมตร ตามแนวการเรียงตัว 45 องศา (45-AE-PVA), 90 องศา (90-AE-PVA) และ 180 องศา (180-AE-PVA) แล้วนำมาเป็นเฟสคงที่ในอัลตราทินแลร์โครมาโทกราฟี การเคลื่อนที่ของเฟสเคลื่อนที่บนแผ่น 45-AE-PVA, 90-AE-PVA และ 180-AE-PVA UTLC สอดคล้องกับสมการของลูคัส-วิชเบิร์น แสดงว่าการเคลื่อนที่ของเฟสเคลื่อนที่บนเส้นใยนาโนพอลิไวนิลแอลกอฮอล์อิเล็กโทรสปันแบบเรียงตัวใช้แรงแคพิลลารีผ่านตัวกลางคล้ายกับแผ่นซิลิกา โดยพบว่าการเคลื่อนที่ของเฟสเคลื่อนที่บนแผ่น 45-AE-PVA เคลื่อนที่เอียงไปตามแนวของเส้นใย การเคลื่อนที่ของเฟสเคลื่อนที่บนแผ่น 90-AE-PVA เคลื่อนที่ได้ไวเพราะเคลื่อนที่ไปตามแนวของเส้นใย และการเคลื่อนที่ของเฟสเคลื่อนที่บนแผ่น 180-AE-PVA เคลื่อนที่ช้า เนื่องจากเคลื่อนที่ขวางแนวของเส้นใย โดยอัตราการเคลื่อนที่ของเฟสเคลื่อนที่บนแผ่นเส้นใยนาโนพอลิไวนิลแอลกอฮอล์แบบเรียงตัว 45, 90 และ 180 องศา คือ 0.0085, 0.0280 และ 0.0050 ตารางเซนติเมตรต่อวินาที ตามลำดับ สุดท้ายทำการวิเคราะห์กรดอะมิโนด้วยแผ่นเส้นใยในการเรียงตัว 45, 90 และ 180 องศา เทียบกับแผ่นเส้นใยนาโนพอลิไวนิลแอลกอฮอล์อิเล็กโทรสปันและแผ่นซิลิกา พบว่าเส้นใยนาโนพอลิไวนิลแอลกอฮอล์อิเล็กโทรสปันแบบเรียงตัว 45, 90 และ 180 องศา มีจำนวนเพลทน้อยกว่าแผ่นเส้นใยนาโนพอลิไวนิลแอลกอฮอล์อิเล็กโทรสปันและแผ่นซิลิกา เนื่องจากรูปร่างของจุดสารและแนวการเคลื่อนที่ของสารบนแผ่นเส้นใยนาโนพอลิไวนิลแอลกอฮอล์อิเล็กโทรสปันแบบเรียงตัว
Other Abstract: In this study, aligned electrospun polyvinyl alcohol nanofibers (AE-PVA) were fabricated by electrospinning technique on rotational collector. Because PVA is soluble in water, this is a limitation to use as stationary phase for ultrathin layer chromatography (UTLC). Therefore, PVA was crosslinked by glutaraldehyde for 5 h before electrospinning process. The AE-PVA nanofibers were generated at the electrospinning condition as follow; solution flow rate of 7 μL/min, high voltage of 23 kV, collector distance of 15 cm and rotational collector speed of 1250 rpm. The satisfied nanofibers in term of morphology and alignment of fibers were obtained. The fibrous membrane was cut into 2x5 cm2 plate along the fiber alignment at 45o (45-AE-PVA), 90o (90-AE-PVA) and 180o (180-AE-PVA) and then applied as a stationary phase for UTLC. The mobile phase transport on the 45-AE-PVA, 90-AE-PVA and 180-AE-PVA UTLC was fitted the Lucas-Washburn equation suggested that the transport of mobile phase was mainly based on capillary flow through porous media similar to that on conventional silica TLC. As a result, migration of mobile phase on 45-AE-PVA-UTLC was oblique along the fiber alignment. Fast migration of mobile phase was observed on 90-AE-PVA-UTLC because of the movement along the fiber alignment. While slow migration of mobile phase was observed on 180-AE-PVA-UTLC because moving across the fiber alignment. The velocity constant of 45-AE-PVA, 90-AE-PVA and 180-AE-PVA UTLC was 0.0085, 0.0280 and 0.0050 cm2/s, respectively. Finally, the analysis of amino acids on 45-AE-PVA, 90-AE-PVA and 180-AE-PVA UTLC were compared with E-PVA UTLC and silica TLC. The plate number of 45-AE-PVA, 90-AE-PVA and 180-AE-PVA UTLC showed lower efficiency than E-PVA UTLC and silica TLC because of the shape of sample spot and orientation of the movement of mobile phase on the AE-PVA.
Description: โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต ภาควิชาเคมี.. คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2558
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78148
Type: Senior Project
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Busarin_Le_Se_2558.pdf964.17 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.