Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78197
Title: | การวิเคราะห์สารประกอบฟลาโวนอยด์ในกระชายโดยวิธีอัลตราไฮเพอร์ฟอร์แมนซ์ ลิควิดโครมาโทกราฟี-แทนเดม แมสสเปกโทรเมตรี |
Other Titles: | Determination of flavonoids in fingerroot using ultra high performance liquid chromatography-tandem mass spectrometry |
Authors: | ณัฐกิตติ์ ชื่นชูธรรม |
Advisors: | ธรรมนูญ หนูจักร |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ |
Subjects: | ฟลาโวนอยส์ ไฮเปอร์ฟอร์แมนซ์ลิควิดโครมาโตกราฟี แมสสเปกโทรเมตรี High performance liquid chromatography Flavonoids Mass spectrometry |
Issue Date: | 2559 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ได้หาภาวะที่เหมาะสมและตรวจสอบความใช้ได้ของวิธีวิเคราะห์ด้วยเทคนิคอัลตราไฮเพอร์ฟอร์ แมนซ์ลิควิดโครมาโทกราฟี-แทนเดมแมสสเปกโทรเมตรี (UHPLC-MS/MS) สำหรับปริมาณวิเคราะห์ของสารประกอบฟลาโวนอยด์หลัก 4 ชนิด ได้แก่ alpinetin, pinocembrin, cardamonin และ pinostrobin รวมถึงสารตั้งต้นหลักของฟลาโวนอยด์ 2 ชนิด ได้แก่ phenylalanine และ cinnamic acid จากกระชาย 2 ส่วน คือ ส่วนเหง้าและส่วนราก ได้ใช้ภาวะของการวิเคราะห์ด้วย UHPLC-MS/MS ดังต่อไปนี้ คือ เฟสเคลื่อนที่แบบเกรเดียนท์ของกรดฟอร์มิกในน้ำ 0.1% โดยปริมาตรต่อปริมาตร และกรดฟอร์มิกในอะซิโตไนไตรล์ 0.1% โดยปริมาตรต่อปริมาตร อัตราการไหล 0.2 มิลลิลิตรต่อนาที และใช้คอลัมน์ Zorbax SB-C18 (ขนาด 2.1x50 มิลลิเมตร เส้นผ่านศูนย์กลางของอนุภาค 1.8 ไมโครเมตร) และปริมาตรสารตัวอย่างที่ฉีด 2 ไมโครลิตร ผลการทดลองได้ขีดจำกัดของการตรวจวัดอยู่ในช่วง 0.0047-0.042 มิลลิกรัมต่อลิตร และขีดจำกัดของการวิเคราะห์เชิงปริมาณอยู่ในช่วง 0.014-0.13 มิลลิกรัมต่อลิตร เมื่อนำสารละลายของสารสกัดตัวอย่างกระชายมาเติมฟลาโวนอยด์ที่ทราบความเข้มข้น 0.05-25 มิลลิกรัมต่อลิตร ลงไปในสารละลายของสารสกัดตัวอย่าง 1 มิลลิลิตร ที่ได้จากการสกัดตัวอย่างกระชาย 1 กรัมด้วยตัวทำละลายเมทานอลและน้ำ (ในอัตราส่วน 50:50 โดยปริมาตร) ปริมาตร 10 มิลลิลิตร แล้วพบว่าร้อยละ 52 ของข้อมูลร้อยละการกลับคืนของการสกัด และร้อยละ 85 ของข้อมูลส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานสัมพัทธ์ อยู่ในช่วงของเกณฑ์ที่ยอมรับได้ สำหรับการวิเคราะห์ตัวอย่างกระชายส่วนเหง้าและส่วนราก จากแหล่งเพาะปลูก 4 จังหวัด พบว่าส่วนเหง้ามีปริมาณฟลาโวนอยด์มากกว่าส่วนราก 1.3-6.0 เท่า โดยที่ปริมาณ pinostrobin > pinocembrin > alpinetin > cardamonin ยกเว้นเพชรบูรณ์ที่ pinocembrin > alpinetin > pinostrobin > cardamonin นอกจากนี้ยังพบสารตั้งต้นของฟลาโวนอยด์ โดยที่ phenylalanine > cinnamic acid และปริมาณของฟลาโวนอยด์ทั้งหมดมากกว่าปริมาณสารตั้งต้นดังกล่าว 30-200 เท่า |
Other Abstract: | Quantitative analysis was optimized and validated by ultra high performance liquid chromatography-tandem mass spectrometry (UHPLC-MS/MS) for determination of four major flavonoids, namely alpinetin, pinocembrin, cardamonin and pinostrobin, and two major flavonoid precursors, namely phenylalanine and cinnamic acid, in two parts of fingerroot: rhizome and rootlet. The following UHPLC-MS/MS conditions were performed: gradient elution mobile phase of 0.1% v/v formic acid in water:0.1% v/v formic acid in acetonitrile, flow rate of 0.2 mL/min and Zorbax SB-C18 column (2.1 x 50 mm, 1.8 μm) and injection volume of 2 μL. The results showed the limit of detection and limit of quantitation in the ranges of 0.0047-0.042 and 0.014-0.13 mg/L, respectively. Using blank fingerroot samples spiked with flavonoids and their precursors at known concentrations in the ranges of 0.05 – 25 ppm into 1.0 mL of the extract solution obtained from the extraction of 1 gram of fingerroot with 10 mL of 50:50 v/v methanol-water, 52% of the experimental recovery data and 85% of the relative standard deviation data were obtained to be within the acceptable values. For sample analysis of rhizome and rootlet of fingerroot from four cultivated areas, rhizome was found to contain 1.3-6.0 folds higher amounts of flavonoids than rootlet. The amounts of major flavonoids in fingerroot were found in the order pinostrobin > pinocembrin > alpinetin > cardamonin, except for pinocembrin > alpinetin > pinostrobin > cardamonin for the sample from Phetchabun province. In addition, the amounts of flavonoid precursors were found, phenylalanine > cinnamic acid with the total amounts of the flavonoids approximately 30-200 folds the total amounts of their precursors. |
Description: | โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2559 |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78197 |
Type: | Senior Project |
Appears in Collections: | Sci - Senior Projects |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Nattakit Ch_Se_2559.pdf | 2.72 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.