Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78226
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorเฟื่องฟ้า อุ่นอบ-
dc.contributor.authorสุชานุช สอนศรี-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์-
dc.date.accessioned2022-03-14T07:17:14Z-
dc.date.available2022-03-14T07:17:14Z-
dc.date.issued2559-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78226-
dc.descriptionโครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2559en_US
dc.description.abstractเนื่องด้วยกลุ่มคนให้ความสนใจในการบริโภคผลิตภัณฑ์ที่มีสารต้านอนุมูลอิสระเพิ่มขึ้น ดังนั้น การตรวจวัดปริมาณของสารต้านอนุมูลอิสระควรมีขั้นตอนที่ง่าย และไม่แพง ในงานวิจัยชิ้นนี้จึงพัฒนาอุปกรณ์เพื่อตรวจวัดปริมาณของสารต้านอนุมูลอิสระโดยวิธีการเปรียบเทียบสี ซึ่งเป็นอุปกรณ์ฐานกระดาษที่มีหลักการพื้นฐานจากปฏิกิริยารีดักชันระหว่างสารต้านอนุมูลอิสระกับรีเอเจนต์ที่ก่อให้เกิดสี ที่ประกอบด้วยไอออนของเงิน และอนุภาคนาโนเงินทรงกลมหรือแบบแผ่น ซึ่งทำหน้าที่เป็นตัวเริ่มต้นให้อนุภาคนาโนเงินที่ถูกรีดิวซ์ด้วยสารต้านอนุมูลอิสระมาเกิดการรวมตัวและเกาะตัวเป็นกลุ่มบนอนุภาคนาโนเงินทรงกลมหรือแบบแผ่นเริ่มต้น ทำให้ได้อนุภาคนาโนเงินที่มีขนาดใหญ่ขึ้น และมีสีที่เปลี่ยนไปบนอุปกรณ์กระดาษจากสีขาวเป็นสีน้ำตาล โดยสีที่เปลี่ยนไปขึ้นอยู่กับความเข้มข้นของสารต้านอนุมูลอิสระ การทดลองนี้ใช้กรดแอสคอร์บิกเป็นสารมาตรฐานแทนสารต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งวิธีนี้มีช่วงของการตรวจวัดตั้งแต่ 0 ถึง 1 มิลลิโมลาร์ และได้กราฟมาตรฐานที่มีความเป็นเส้นตรง (R2 0.990) ส่วนน้ำตาลรีดิวซ์ที่เป็นตัวรบกวนจากตัวอย่างการวิเคราะห์ในตัวอย่างเครื่องดื่มไม่มีผลต่อการตรวจวัดด้วยวิธีนี้ และรายงานผลปริมาณของสารต้านอนุมูลอิสระที่วัดได้ในหน่วยเทียบเท่ากรดแอสคอร์บิก อุปกรณ์ฐานกระดาษนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้สำหรับการตรวจวัดภาคสนามที่ไม่สามารถนำเครื่องมือตรวจวัดที่มีขนาดใหญ่ไปใช้งานได้en_US
dc.description.abstractalternativeWith an increasing consumption and production of healthy dietary products rich in antioxidants, a simple and cost effective test is required for the measurement of the antioxidant capacity of these products. In this research, a paper based colorimetric method for sensitive detection of antioxidants in beverage was developed. The colorimetric detection was based on the reaction of the antioxidant with a chromogenic reagent consisted of silver ions and silver nanoparticles (AgNPs) or silver nanoplates (AgNPls) which acted as seeding nucleation. Silver ions was reduced by antioxidant compounds to silver(0) deposited on AgNPs or AgNPls, resulting in larger clusters of AgNPs or AgNPls. The colorimetric response on the paper changed from white to brown depending on the concentration of antioxidant involved. Ascorbic acid was selected as the representative of antioxidant species and the method showed a linear response in the concentration range from 0 to 1 mM ascorbic acid (R2 0.990). Common beverage ingredients like reducing sugars did not interfere with the paper based. The method was applied to determine the amount of antioxidant in tea samples and the results could be presented in term of ascorbic acid equivalents (AAE). This assay is particularly appealing for remote sensing applications, where specialized equipment is not available.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectแอนติออกซิแดนท์en_US
dc.subjectAntioxidantsen_US
dc.titleการตรวจวัดปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระโดยอุปกรณ์ฐานกระดาษen_US
dc.title.alternativeDetermination of antioxidant by paper based platformen_US
dc.typeSenior Projecten_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Suchanuch So_Se_2559.pdf2.06 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.