Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78241
Title: การเคลือบโคพอลิเมอร์ที่เป็นสวิทเทอร์ไอออนผ่านปฏิกิริยาคลิกเพื่อป้องกันการดูดซับอย่างไม่จำเพาะเจาะจงของสารชีวโมเลกุล
Other Titles: Clickable zwitterionic copolymer coating to prevent non-specific adsorption of biomolecules
Authors: อาริยา วิจิตรอมรเลิศ
Advisors: วรวีร์ โฮเว่น
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: ชีวโมเลกุล
โพลิเมอร์ผสม
Copolymers
Biomolecules
Issue Date: 2560
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ฟาวลิงหรือการดูดซับอย่างไม่จำเพาะเจาะจงของสารชีวโมเลกุล เช่น โปรตีน เซลล์ หรือแบคทีเรีย บ่อยครั้งส่งผลกระทบที่ไม่พึงประสงค์และเป็นอันตรายได้ ปัจจุบันพบว่าการติดเชื้อในโรงพยาบาลนั้น ร้อยละ 80 มีสาเหตุจากการยึดเกาะของแบคทีเรียที่ก่อตัวเป็นไบโอฟิล์มบนวัสดุที่ใช้ทางการแพทย์ แนวทางหนึ่งที่มี ประสิทธิภาพในการป้องกันการเกิดไบโอฟิล์มคือ การเคลือบพื้นผิววัสดุด้วยพอลิเมอร์ที่มีสมบัติชอบน้ำสูง โดย ในงานนี้ผู้วิจัยเลือกใช้สวิทเทอร์ไอออนิกโคพอลิเมอร์ของ เมทาคริโลอิลออกซีเอทิลฟอสโฟริลโคลีน (MPC) กับ ไดไฮโดรไลโปอิกแอซิด (DHLA) ที่มีหมู่เมทาคริเลทหรือ (poly(MPC-DHLA)) เคลือบลงบนพื้นผิววัสดุที่ใช้ ทางการแพทย์ เพื่อต้านการดูดซับอย่างไม่จำเพาะเจาะจงของสารชีวโมเลกุล ผู้วิจัยได้สังเคราะห์โคพอลิเมอร์ ผ่านปฏิกิริยาพอลิเมอไรเซชันแบบ reversible addition-fragmentation chain transfer (RAFT) โดย หน่วยซ้ำที่เป็น MPC มีสมบัติเข้ากันได้กับสิ่งมีชีวิตและต้านการดูดซับอย่างไม่จำเพาะเจาะจง ในขณะที่ หน่วยซ้ำของ DHLA สามารถเกิดการเชื่อมขวางของโคพอลิเมอร์ผ่านปฏิกิริยาไทออล-อีนได้ ทั้งนี้จะทำการ เคลือบโคพอลิมอร์ด้วยวิธีการปั่นเหวี่ยงบนพื้นผิวของวัสดุทางการแพทย์หลายชนิด ได้แก่ ซิลิกอน, ไททาเนียม, สแตนเลส, พอลิเอทิลีน, พอลิอีเทอร์อีเทอร์คีโตน, พอลิไดเมทิลไซลอกเซน และพอลิเมทิลเมทาคริเลต แล้วจึง ทำการพิสูจน์เอกลักษณ์ของฟิล์มบางโคพอลิเมอร์ที่เคลือบบนพื้นผิววัสดุด้วยการย้อม Rhodamine 6G, การ วัดค่ามุมสัมผัสของน้ำและใช้เทคนิค spectroscopic ellipsometry, x-ray photoelectron spectroscopy (XPS) และ atomic force microscopy (AFM) ทดสอบสมบัติการลดการยึดเกาะอย่างไม่จำเพาะเจาะจงของ พื้นผิวที่เคลือบด้วยโคพอลิเมอร์เบื้องต้นด้วยการทดสอบการยึดเกาะของ L929 mouse fibroblast cell โดย ในขณะนี้อยู่ในระหว่างการทดสอบความสามารถในการป้องกันการก่อตัวของไบโอฟิล์มบนพื้นผิวของวัสดุบาง ชนิดที่เคลือบด้วยโคพอลิเมอร์
Other Abstract: Fouling or non-specific adsorption of biomolecules and cells namely proteins, bacteria often lead to undesirable and detrimental effects. Healthcare-associated infections (HAIs) are widely acknowledged as the most frequent adverse event in hospitals. It has been estimated that 80% of the infections acquired in hospitals involve biofilms generated from bacteria adhesion. One effective way to prevent biofilm formation is to coat biomedically relevant materials with highly hydrophilic polymer. In this study, zwitterionic copolymer of methacryloyloxyethyl phosphorylcholine (MPC) and a methacrylate-substituted dihydrolipoic acid (DHLA) (poly(MPC-DHLA)) was introduced for universal coating to prevent non-specific adsorption of biomolecules. It was synthesized via reversible addition-fragmentation chain transfer (RAFT) polymerization. The MPC repeat units contributed biocompatibility and antifouling properties, whereas the DHLA repeat units enabled cross-linking via thiol-one click reaction. Poly(MPC-DHLA) were spin-coated on various biomedical relevant substrates, including silicon wafer (Si), titanium (Ti), stainless steel (SUS316L), polyethylene (PE), polyether ether ketone (PEEK), polydimethylsiloxane (PDMS) and poly(methyl methacrylate) (PMMA). Substrates coated with polymeric thin films were characterized by rhodamine 6G staining, water contact angle measurement, spectroscopic ellipsometry, x-ray photoelectron spectroscopy (XPS) and atomic force microscopy (AFM). Cell adhesion test on L929 mouse fibroblast cells was also tested to preliminarily confirm antifouling properties of coated poly(MPC-DHLA). It is our on-going investigation to evaluate the ability to prevent biofilm formation of selected poly(MPC-DHLA)-coated substrates.
Description: โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2560
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78241
Type: Senior Project
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Arriya Wi_SE_2560.pdf31.06 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.