Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78296
Title: | การคำนวณการเข้าจับเชิงโมเลกุลระหว่าง มาเลทควิโนนออกซิโดรีดักเตสของเชื้อมาลาเรียกับสารยับยั้ง |
Other Titles: | Molecular docking calculations of malarial malate quinone oxidoreductase and its inhibitors |
Authors: | นิศมา วิริยประเสริฐ |
Advisors: | สมศักดิ์ เพียรวณิช |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ |
Subjects: | สารยับยั้งเอนไซม์ มาลาเรีย Enzyme inhibitors Malaria |
Issue Date: | 2562 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | มาเลทควิโนนออกซิโดรีดักเตส (MQO) เป็นเอนไซม์ที่มีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของเชื้อมาลาเรีย แต่ มีการศึกษาวิจัยที่น้อยมาก เอนไซม์นี้จึงเป็นเป้าหมายที่น่าสนใจสำหรับการพัฒนายาตัวใหม่ในการรักษาโรค มาลาเรีย ในงานวิจัยนี้ได้ทำนายโครงสร้างการเข้าจับระหว่างเอนไซม์ MQO กับสารจำนวน 73 ตัว โดยใช้เทคนิค การคำนวณการเข้าจับเชิงโมเลกุลด้วยโปรแกรม AutoDock Vina เพื่อศึกษาหาอันตรกิริยาและวิเคราะห์ เปรียบเทียบหาสาเหตุที่มีเพียงสารยับยั้ง ferulenol เท่านั้นที่มีฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ MQO ผลการ คำนวณที่ได้พบว่า สารทั้ง 73 ตัวเข้าจับและเกิดอันตรกิริยากับกรดอะมิโนในเอนไซม์คล้ายคลึงทั้งด้านจำนวนและ ชนิดของกรดอะมิโน รวมทั้งมีค่าพลังงานการยึดจับที่ใกล้เคียงกัน ข้อมูลที่ได้แสดงให้เห็นว่าความแตกต่างของฤทธิ์ ทางชีวภาพระหว่างสาร ferulenol กับสารอื่น ๆ ไม่เกี่ยวข้องกับปัจจัยเรื่องอันตรกิริยาระหว่างสารยับยั้งกับ เอนไซม์ แต่น่าจะเกิดมาจากปัจจัยอื่นซึ่งต้องทำการศึกษาต่อไป ข้อมูลที่ได้นี้เป็นประโยชน์ต่อการค้นคว้าและ พัฒนายารักษาโรคมาลาเรียตัวใหม่ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นในอนาคต |
Other Abstract: | Malate quinone oxidoreductase (MQO) is an essential enzyme for malaria parasite survival. However, there are very few studies on this enzyme. MQO is thus a very interesting target for the development of new antimalarial drug. In this research work, binding structures between MQO and 73 compounds were predicted by means of molecular docking technique using AutoDock Vina program. Enzyme-ligand interactions of all compounds were investigated and comparatively analyzed to elucidate why only ferulenol has inhibitory activity. Results showed that all 73 compounds bind and interact with amino acids in the enzyme similarly both in term of amount and type of amino acids. In addition, their binding energies are also comparable. Obtained data show that difference in activity of ferulenol from other compounds is not related to enzymeligand interaction but it may involve with other factors which need to be studied further. This information is helpful for the research and development of new more effective antimalarial drugs in the future. |
Description: | โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2562 |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78296 |
Type: | Senior Project |
Appears in Collections: | Sci - Senior Projects |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
62-SP-CHEM-007 - Nisama Wiriya.pdf | 2.62 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.