Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78305
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorเจนจิรา ปานชมพู-
dc.contributor.authorญาดา ศรีวิบูลย์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์-
dc.date.accessioned2022-03-17T01:56:05Z-
dc.date.available2022-03-17T01:56:05Z-
dc.date.issued2562-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78305-
dc.descriptionโครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2562en_US
dc.description.abstractงานวิจัยนี้ได้ศึกษาการเตรียมขั้วไฟฟ้าคาร์บอนพิมพ์สกรีนขึ้นเองในห้องปฏิบัติการ และทำการดัดแปรพื้นผิวขั้วไฟฟ้าคาร์บอนพิมพ์สกรีนที่เตรียมขึ้นนี้ด้วยวัสดุคาร์บอนขนาดนาโนชนิดต่าง ๆ สำหรับการตรวจวัด โฮโมซิสเตอีน โดยทั่วไป โฮโมซิสเตอีนเป็นกรดอะมิโนที่มีหมู่ไทออลเป็นองค์ประกอบ สามารถพบได้ในร่างกายมนุษย์ และเป็นตัวบ่งชี้ทางชีวภาพที่สำคัญของโรคหัวใจและหลอดเลือด ในขั้นแรก ผู้วิจัยได้ตรวจวัดโฮโมซิสเตอีนด้วยเทคนิคไซคลิกโวแทมเมตรีโดยใช้ขั้วไฟฟ้าคาร์บอนพิมพ์สกรีนที่ยังไม่ได้ดัดแปร พบว่าสัญญาณพีกออกซิเดชันของโฮโมซิสเตอีนที่ปรากฏนั้นไม่ชัดเจน ผู้วิจัยจึงได้ทำการดัดแปรพื้นผิวของขั้วไฟฟ้าดังกล่าวด้วยคาร์บอนนาโนทิวป์แบบผนังหลายชั้นและคาร์บอนแบล็คด้วยวิธีต่าง ๆ ได้แก่ การผสมตัวดัดแปรลงในหมึกพิมพ์คาร์บอนสำหรับการสกรีนขั้วไฟฟ้า และการหยดสารละลายแขวนลอยของตัวดัดแปรลงบนผิวหน้าขั้วไฟฟ้า จากนั้นนำขั้วไฟฟ้าที่ดัดแปรดังกล่าวซึ่งได้แก่ ขั้วไฟฟ้าคาร์บอนผสมคาร์บอนนาโนทิวป์แบบผนังหลายชั้นพิมพ์สกรีน ขั้วไฟฟ้าคาร์บอนผสมคาร์บอนแบล็คพิมพ์สกรีน และขั้วไฟฟ้าคาร์บอนผสมคาร์บอนแบล็คและคาร์บอนนาโนทิวป์แบบผนังหลายชั้นพิมพ์สกรีน มาใช้ตรวจวัดโฮโมซิสเตอีน ผู้วิจัยพบว่า ขั้วไฟฟ้าคาร์บอนผสมคาร์บอนนาโนทิวป์แบบผนังหลายชั้นพิมพ์สกรีนในอัตราส่วน 50 mg คาร์บอนนาโนทิวป์แบบผนังหลายชั้น ต่อ 1 g หมึกพิมพ์คาร์บอน สามารถเพิ่มกระแสไฟฟ้าของพีกแอโนดิกได้ 2 เท่า เมื่อเปรียบเทียบกับขั้วไฟฟ้าคาร์บอนพิมพ์สกรีนที่ไม่ได้ดัดแปร โดยพีกที่ได้นี้มีลักษณะความเป็นพีกที่ชัดเจน เมื่อคำนวณค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานสัมพัทธ์ (%RSD) พบว่ามีค่าเพียง 7.21% จึงสรุปได้ว่าขั้วไฟฟ้าคาร์บอนผสมคาร์บอนนาโนทิวป์แบบผนังหลายชั้นพิมพ์สกรีนที่เตรียมขึ้นเองนี้มีความสามารถในการทำซ้ำที่ดีen_US
dc.description.abstractalternativeIn this research, the screen-printed carbon electrodes (SPCEs) were in-lab fabricated and modified with various types of carbon nanomaterials for the determination of homocysteine. Basically, homocysteine is a thiol-containing amino acid chemically formed in the human body, and it can literally be used as a biological marker for cardiovascular diseases. The electrochemical determination of homocysteine by cyclic voltammetry (CV) using bare SPCEs was first studied, however; they gave quite poor voltammetric responses. Therefore, the electrode surface was subsequently modified with multi-wall carbon nanotube (MWCNT) and carbon black (CB) by either mixing into the carbon ink before electrode screen-printing, or drop-casting onto the electrode surface. The modified SPCEs (MWCNT-SPCEs, CB-SPCEs, CB/MWCNT-SPCEs) were then used for the detection of homocysteine. The results showed that the SPCEs modified with MWCNT (MWCNT-SPCEs) by mixing into the carbon ink in the ratio of 50 mg MWCNT : 1 g carbon ink could typically increase the oxidation current of homocysteine by 2 folds with a well-defined peak shape observed, compared to the bare SPCEs. The relative standard deviation (%RSD) of the MWCNT-SPCEs was calculated to be ca. 7.21%, indicating good reproducibility.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectขั้วไฟฟ้าคาร์บอนen_US
dc.subjectโฮโมซีสเตอีนen_US
dc.subjectElectrodes, Carbonen_US
dc.subjectHomocysteineen_US
dc.titleการดัดแปรพื้นผิวของขั้วไฟฟ้าคาร์บอนพิมพ์สกรีนสำหรับตรวจวัดโฮโมซิสเตอีนen_US
dc.title.alternativeSurface modification of screen-printed carbon electrode for determination of homocysteineen_US
dc.typeSenior Projecten_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
62-SP-CHEM-013 - Yada Srivi.pdf1.54 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.