Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78312
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorเจริญขวัญ ไกรยา-
dc.contributor.authorทิพากร วัฒนศิริชัยกุล-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์-
dc.date.accessioned2022-03-17T03:38:05Z-
dc.date.available2022-03-17T03:38:05Z-
dc.date.issued2562-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78312-
dc.descriptionโครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2562en_US
dc.description.abstractงานวิจัยนี้ทำการศึกษาการตรวจวัดพาราควอตบนผิวขั้วไฟฟ้าพิมพ์สกรีนชนิดคาร์บอน (ขั้วไฟฟ้า C) คาร์บอนเคลือบทอง (ขั้วไฟฟ้า C/Au) และทอง (ขั้วไฟฟ้า Au) ด้วยเทคนิคสแควร์เวฟโวลแทมเมทรีและเทคนิคอิมพีแดนซ์สเปกโตรสโคปี เริ่มจากการเคลือบทองลงบนขั้วไฟฟ้า C พบว่ามีอนุภาคทองเคลือบบนผิวขั้วไฟฟ้าทำงาน 8.71% ของผิวหน้าขั้วไฟฟ้าทำงานทั้งหมด และเปรียบเทียบสัญญาณความต้านทานของขั้วไฟฟ้าพิมพ์สกรีนทั้ง 3 ชนิด พบว่าขั้วไฟฟ้า C มีความต้านทานสูงที่สุด ตามด้วยขั้วไฟฟ้า C/Au และขั้วไฟฟ้า Au ตามลำดับ จากนั้นวัดสัญญาณพาราควอตบนผิวขั้วไฟฟ้าพิมพ์สกรีนทั้ง 3 ชนิดด้วยเทคนิค สแคว์เวฟโวลแทมเมทรี พบว่าขั้วไฟฟ้า C มีการตอบสนองต่อสัญญาณของพาราควอตได้ดีกว่าขั้วไฟฟ้า C/Au ที่บริเวณศักย์ไฟฟ้า -0.65 โวลต์ ขณะที่ขั้วไฟฟ้า Au ไม่สามารถวัดสัญญาณพาราควอตได้ ต่อมาทำการวัดความต้านทานของพาราควอตความเข้มข้น 1, 5 และ 10 มิลลิกรัมต่อลิตร บนผิวขั้วไฟฟ้า C และขั้วไฟฟ้า C/Au ด้วยเทคนิคอิมพีแดนซ์สเปกโตรสโคปี พบว่าขั้วไฟฟ้า C ให้สัญญาณความต้านทานต่ำมาก ในขณะที่ไฟฟ้า C/Au สามารถวัดค่าความต้านทานได้ 180, 84 และ 24 มิลลิโอห์ม ตามลำดับen_US
dc.description.abstractalternativeIn this work, detection of paraquat signals on various surface screen-print electrodes which are carbon screen-print electrode (C), gold deposited on carbon screen-print electrode (C/Au) and gold screen-print electrode (Au) using electrochemical impedance spectroscopy (EIS) and square wave voltammetry (SWV) were studied. Deposition of gold on the carbon screen-print electrode was verified to contain 8.71% gold particles on the working electrode surface. Resistivity of the all 3 screen-print electrodes were compared and showed that the C electrode had the highest resistivity followed by C/Au electrode and Au electrode, respectively. However, by square wave voltammetry, paraquat current responses at -0.65 V was the most dominate on the C electrode than the one on the C/Au electrode, while the Au electrode could not detect the paraquat signal. Then, resistivities of 1, 5 and 10 mg/L paraquat on the C electrode and C/Au electrode were determined using electrochemical impedance spectroscopy. The results showed that the C electrode had very low resistivity while the C/Au electrode had resistivities of 180, 84 and 24 mΩ for 1, 5 and 10 mg/L paraquat, respectively. Keywords:en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectพาราควอทen_US
dc.subjectขั้วไฟฟ้าคาร์บอนen_US
dc.subjectอิมพีแดนซ์สเปกโทรสโกปีen_US
dc.subjectParaquaten_US
dc.subjectElectrodes, Carbonen_US
dc.subjectImpedance spectroscopyen_US
dc.titleศึกษาการตรวจวัดพาราควอตบนผิวขั้วพิมพ์สกรีนชนิดต่าง ๆ ด้วยเทคนิคอิมพีแดนซ์สเปกโตรสโคปีและสแควร์เวฟโวลแทมเมทรีen_US
dc.title.alternativeStudy of Paraquat Detection on Various Surface Screen-Print Electrodes by Electrochemical Impedance Spectroscopy (EIS) and Square Wave Voltammetry (SWV)en_US
dc.typeSenior Projecten_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
62-SP-CHEM-021 - Tiphakorn Watt.pdf1.14 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.