Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78314
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorธวัชชัย ตันฑุลานิ-
dc.contributor.authorธนวัฒน์ ศุขการค้า-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์-
dc.date.accessioned2022-03-17T07:26:09Z-
dc.date.available2022-03-17T07:26:09Z-
dc.date.issued2562-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78314-
dc.descriptionโครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2562en_US
dc.description.abstractงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการสังเคราะห์สารเชิงซ้อนระหว่างไอออนโลหะทองแดงและอนุพันธ์ของ ไดพิโคลิลแอมีน และสังเคราะห์โมเลกุลอนุพันธ์ของแอมิโนฟีนิลบอรอนิคแอซิด โดยมีหมู่ไบฟีนิลเป็นโมเลกุล สารเรืองแสงให้สัญญาณฟลูออเรสเซนส์ เพื่อเป็นสารตรวจจับไซยาไนด์ไอออน โดยอนุพันธ์ทั้งสองชนิดมี โครงสร้างฐานคือไบฟีนิลโมเลกุลมาจาก 3,3′-ไบฟีนิลไดคาร์บอกซาลดีไฮด์ สามารถสังเคราะห์ได้จากปฏิกิริยา ซูซูกิคัปปลิง โดยมีร้อยละของผลิตภัณฑ์เท่ากับ 72 สังเคราะห์ไดพิโคลิลแอมีนได้จากปฏิริยาเอมีน-แอลดีไฮด์ คอนเดนเซชัน ได้ร้อยละของผลิตภัณฑ์เท่ากับ 77 สามารถสังเคราะห์บล็อกบอรอนิคได้จากปฏิกิริยา แอลกอฮอล์คอนเดนเซชัน โดยมีร้อยละของผลิตภัณฑ์เท่ากับ 100 ผลิตภัณฑ์ที่สังเคราะห์ได้ทั้งหมดสามารถ พิสูจน์เอกลักษณ์โดยเทคนิคโปรตอนเอ็นเอ็มอาร์ และแมสสเปกโตรเมทรี แต่พบว่าไม่สามารถสังเคราะห์ อนุพันธ์ของไดพิโคลิลแอมีนจากปฏิกิริยาแอมีน-แอลดีไฮด์ คอนเดนเซชัน ได้เพียงแต่อนุพันธ์ที่มีไดพิโคลิลเอ มีนข้างเดียว และไม่สามารถสังเคราะห์อนุพันธ์ของแอมิโนฟีนิลบอรอนิคแอซิด จากปฏิกิริยาแอมีน-แอลดีไฮด์ คอนเดนเซชัน เนื่องจากหมู่บอรอนิคแอซิดชอง 3-แอมิโนฟีนิลบอรอนิคแอซิด ส่งผลให้เกิดปฏิกิริยาข้างเคียง ดังนั้นจึงนำบล็อกบอรอนิคแอซิดมาใช้ในการสังเคราะห์ผลิตภัณฑ์ และพบว่าสามารถสังเคราะห์ผลิตภัณฑ์ได้ จากผลการวิเคราะห์ด้วยเทคนิคแมสสเปกโตรเมทรี แต่ไม่สามารถแยกและทำให้บริสุทธิ์ได้จากเทคนิคคอลัมน์ โครมาโตกราฟี เนื่องจากสภาวะความเป็นกรดของซิลิกาเจลทำให้เกิดการสลายตัวกลายเป็นสารตั้งต้นen_US
dc.description.abstractalternativeThe objective of this project is to design and synthesize molecular sensor copper(II) complex with dipicolylamine derivative and aminophenylboronic acid derivative containing biphenyl as fluorophore for the detection of cyanide ions. Both molecules also have biphenyl group as building block which is synthesized from 3,3′-biphenyldicarboxaldehyde in 72% yield by using Suzuki coupling reaction. Dipicolylamine was synthesized in 77% yield by using aminealdehyde condensation. Blocked boronic was synthesized in 100% yield by using alcohol condensation. All products were characterized by 1H-NMR and mass spectrometry. However, synthesis of dipicolylamine derivative by amine-aldehyde condensation was not successful but a mono-substituted dipicolylamine derivative was obtained. Similarly, the unsuccessful attempt to synthesize aminophenylboronic acid derivative by amine-aldehyde condensation was a result of side reaction with 3-aminophenylboronic acid. Therefore, blocked boronic was used to synthesize the product. It was found that the product occurred as detected by mass spectrometry. However, the product cannot be separated and purified by column chromatography due to acid properties of the silica gel causing decomposition of the product.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectไซยาไนด์en_US
dc.subjectไอออนโลหะen_US
dc.subjectCyanidesen_US
dc.subjectMetal ionsen_US
dc.titleการสังเคราะห์เซนเซอร์ฐานไบฟีนิลสำหรับการตรวจวัด ไซยาไนด์ไอออนen_US
dc.title.alternativeSynthesis of biphenyl-based sensors for cyanide ion detectionen_US
dc.typeSenior Projecten_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
62-SP-CHEM-025 - Thanawat Sook.pdf2.07 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.