Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78333
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ชาลีดา บรมพิชัยชาติกุล | - |
dc.contributor.author | พัชริกา งามผิว | - |
dc.contributor.author | กฤษดา ธรรมปรีชาถาวร | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2022-03-25T03:24:44Z | - |
dc.date.available | 2022-03-25T03:24:44Z | - |
dc.date.issued | 2562 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78333 | - |
dc.description | โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีทางอาหาร คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2562 | en_US |
dc.description.abstract | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์กาแฟสำเร็จรูปในรูปแบบอัดเม็ด โดยศึกษาสัดส่วนที่เหมาะสมสำหรับการทำกาแฟสำเร็จรูปแบบอัดเม็ด ค่า pH และเวลาในการละลายของกาแฟสำเร็จรูปแบบอัดเม็ด เพื่อให้การบริโภคกาแฟสำเร็จรูปมีความสะดวกรวดเร็วมากขึ้น เนื่องจากในปัจจุบันความต้องการในการบริโภคกาแฟมีมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มของกาแฟสำเร็จรูป ในการศึกษานี้ใช้วัตถุดิบกาแฟ 2 ประเภทคือ กาแฟผงสำเร็จรูปที่ผ่านกระบวนการทำแห้งแบบแช่เยือกแข็งและกาแฟคั่วบด ประเภทละ 5 ชนิด เมื่อเปรียบเทียบฤทธิ์การต้านการออกซิเดชันของกาแฟสำเร็จรูปที่ผ่านกระบวนการทำแห้งแบบแช่เยือกแข็งและกาแฟคั่วบด ด้วยวิธี DPPH และ FRAP พบว่ากาแฟสำเร็จรูปที่ผ่านกระบวนการทำแห้งแบบแช่เยือกแข็งมีค่าการต้านการออกซิเดชันแตกต่างจากกาแฟคั่วบดอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) จึงนำกาแฟสำเร็จรูปที่ผ่านกระบวนการทำแห้งแบบแช่เยือกแข็งมาเป็นวัตถุดิบหลักในการทำผลิตภัณฑ์กาแฟสำเร็จรูปแบบอัดเม็ด และจากการศึกษาค่า pH ของกาแฟสำเร็จรูปที่ผ่านกระบวนการทำแห้งแบบแช่เยือกแข็ง จะพบว่ายี่ห้อกาแฟที่เหมาะสมสำหรับการทำกาแฟสำเร็จรูปแบบอัดเม็ดคือ C และ D ในกาแฟสำเร็จรูปแบบอัดเม็ดแต่ละสูตรมีการแปรสัดส่วนปริมาณของชนิดของกาแฟ กรดทาร์ทาริก และโซเดียมไบคาร์บอเนตที่แตกต่างกันทั้งหมด 8 สูตร ซึ่งผลจากการใช้สารดังกล่าวส่งผลต่อค่า pH ค่าความสว่าง (L*) ค่าสีแดง (a*) ค่าสีเหลือง (b*) ค่าความแข็ง (Hardness) และเวลาในการละลายของผลิตภัณฑ์ รวมถึงลักษณะทางประสาทสัมผัสและการยอมรับของผู้บริโภคกาแฟสำเร็จรูปแบบอัดเม็ด จากการทดสอบค่า pH ของกาแฟสำเร็จรูปแบบอัดเม็ด พบว่าเมื่อเติมกรดทาร์ทาริกและโซเดียมไบคาร์บอเนตในปริมาณที่เพิ่มขึ้น จะทำให้ค่า pH ของผลิตภัณฑ์กาแฟสำเร็จรูปแบบอัดเม็ดมีค่าเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) จากนั้นนำไปทดสอบค่าความสว่าง (L*) และค่าสีเหลือง (b*) มีค่าลดลงอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) ในค่าสีแดง (a*) ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) และจากการทดสอบค่าความแข็ง (Hardness) ของตัวอย่างมีค่าลดลงอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) และเมื่อนำไปทดสอบค่าในการละลายของกาแฟสำเร็จรูปแบบอัดเม็ด พบว่าเวลาในการละลายของผลิตภัณฑ์มีค่าลดลงอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) เนื่องมาจากการเกิดปฏิกิริยาระหว่างกรดทาร์ทาริกและโซเดียมไบคาร์บอเนตซึ่งเป็นปฏิกิริยากรดเบส จากนั้นเมื่อนำกาแฟสำเร็จรูปแบบอัดเม็ดไปประเมินคุณภาพทางประสาทสัมผัสและการยอมรับจากผู้บริโภคด้วยวิธีทดสอบแบบ Hedonic test โดยใช้ผู้ทดสอบจำนวน 30 คน พบว่าสูตรกาแฟสำเร็จรูปแบบอัดเม็ดได้รับการยอมรับจากผู้บริโภค คือ สูตรที่ประกอบด้วยกาแฟยี่ห้อ C 0.46g, tartaric acid 0.02g, Sodium bicarbonate 0.02g จากข้อมูลดังกล่าวเป็นการแสดงถึงความเป็นไปได้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์กาแฟสำเร็จรูปในรูปแบบอัดเม็ด | en_US |
dc.description.abstractalternative | The objective of this research is to develop the instant coffee products in a form of tablet by studying the suitable proportion for making instant tablet coffee, including it pH value and time of dissolution time of instant coffee in a form of tablet for effectiveness in the preparation of drinks. Nowadays, coffee trade has been growing, especially increase in consumption of instant coffee. Using DPPH and FRAP assays 5 brands of freeze-dried instant coffee powders and 5 species of roasted coffee bean will be analyzed by value of antioxidant activity. The obtained results showed that the antioxidant activity was significantly between freeze-dried instant coffee powders and roasted coffee (p<0.05). The freeze-dried instant coffee powder was substitute for instant coffee products in form of tablet. Moreover, according to the pH of freeze-dried instant coffee powders it is evidence that suitable for instant coffee tablet are brand C and D. In this study, used 8 different formulas with variable the ratio of weight and types of coffee, tartaric acid, and sodium bicarbonate value were tested. From the study of the pH values of instant coffee tablets, the pH value was increased significantly (p<0.05) as a result of the addition of tartaric acid and sodium bicarbonate. For lightness (L*), yellowness (b*) and hardness values were reduced significantly (p<0.05) and the redness (a*) was not significantly different (p>0.05). On the other hand, the decrease in dissolution time of instant coffee tablets due to the same reaction between tartaric acid and sodium bicarbonate was statistic significantly (p<0.05). In addition, the sensory evaluation and the consumer acceptance was tested by hedonic test with 30 subjects. The result concludes that the instant coffee tablet formula which consist of 0.46g brand C coffee, 0.02g tartaric acid, 0.02g sodium bicarbonate most accepted by the subject. The data show highest possibility for development of the tablet instant coffee product. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | กาแฟสำเร็จรูป | en_US |
dc.subject | Instant coffee | en_US |
dc.title | การพัฒนาผลิตภัณฑ์กาแฟสำเร็จรูปในรูปแบบอัดเม็ด | en_US |
dc.title.alternative | Development of instant coffee in form of tablet | en_US |
dc.type | Senior Project | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
Appears in Collections: | Sci - Senior Projects |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
62-SP-FOOD-010 - Patcharika Ngam.pdf | 1.52 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.