Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78336
Title: การผลิตไฮโดรเจนจากเอทานอลด้วยกระบวนการเคมิคอลลูปปิงรีฟอร์มมิง
Other Titles: Chemical looping reforming of ethanol for hydrogen production
Authors: ฉัตรแก้ว เพ็งทา
เอกบุรุษ ยวงทอง
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Subjects: ไฮโดรเจน -- การผลิต
เอทานอล
Hydrogen
Ethanol
Issue Date: 2562
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ไฮโดรเจนเป็นหนึ่งในพลังงานทางเลือกที่มีความสำคัญและถูกนำมาประยุกต์ใช้อย่างแพร่หลายเนื่องจากเป็นพลังงานที่สะอาดสำหรับการผลิตพลังงานไฟฟ้าและใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับการคมนาคมได้ งานวิจัยนี้จึงมุ่งเน้นไปที่การหาตัวเร่งปฏิกิริยาที่เหมาะสมสำหรับกระบวนการเคมิคอลคูปปิงรีฟอร์มมิง ซึ่งเป็นกระบวนการที่ใช้ในการผลิตไฮโดรเจนจากเอทานอล โดยทำการทดลองในเครื่องปฏิกรณ์แบบเบดนิ่ง ที่ความดันคงที่ 1 บรรยากาศ อุณหภูมิ 650 องศาเซลเซียส ใช้นิกเกิลออกไซด์และเหล็กออกไซด์ บนตัวรองรับอะลูมิเนียมออกไซด์เป็นตัวพาออกซิเจน ซึ่งทำการเตรียมโดยวิธีเพรกเนชัน เพื่อศึกษาผลของชนิดตัวเร่งปฏิกิริยา อุณหภูมิสำหรับการแคลไซน์ที่เหมาะสม อัตราส่วนการผสมทางกายภาพ และประสิทธิภาพของตัวเร่งปฏิกิริยาเพื่อใช้ในกระบวนการเคมิคอลลูปปิงรีฟอร์มมิง จากการทดลองพบว่าเมื่อใช้อุณหภูมิสำหรับแคลไซน์เหล็กออกไซด์ที่ 900 องศาเซลเซียส อัตราส่วนระหว่างนิกเกิลออกไซด์ต่อเหล็กออกไซด์เป็น 1:2 จะให้ร้อยละผลได้ของไฮโดรเจนเท่ากับ 0.00349 ร้อยละการเปลี่ยนแปลงของคาร์บอนเท่ากับ 25.58
Other Abstract: Hydrogen is one of the most important alternative energy sources which has been widely applied as a clean energy source for electrical power generation and transportation fuel. This work was focused on finding the suitable catalyst for chemical looping reforming which is a promising process for producing hydrogen from ethanol. Experiments were carried out in a fixed bed reactor at a constant pressure of 1 atm, temperature of 650 °C and using NiO and Fe₂O₃ supported on Al₂O₃ as the oxygen carrier which was prepared by an impregnation method. The effects of various variables such as catalyst type, calcination temperature and proportion of catalyst were investigated. From the experiment, temperature for calcination is 900 °C and proportion is 1:2 were produced H₂ yield to 0.00349 and carbon conversion was up to 25.58%.
Description: โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเคมีเทคนิค. คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2562
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78336
Type: Senior Project
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
62-SP-CHEMENG-008 - Chatkaew Pengtha.pdf750.94 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.