Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78403
Title: การวิเคราะห์ลักษณะภูมิประเทศในจังหวัดอุบลราชธานี : การประยุกต์สำหรับการทำแผนที่แสดงระดับความอ่อนไหวต่อการเกิดน้ำท่วม
Other Titles: Terrain analysis in ubonratchathani province : application for flood susceptibility mapping
Authors: นงรัตน์ ศุกรสุต
Advisors: สันติ ภัยหลบลี้
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Subjects: พยากรณ์น้ำท่วม
ธรณีสัณฐาน -- ไทย -- อุบลราชธานี
Flood forecasting
Landforms -- Thailand -- Ubonratchathani
Issue Date: 2562
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มุ่งวิเคราะห์ลักษณะภูมิประเทศเพื่อประเมินความอ่อนไหวต่อการเกิดน้ำท่วม ด้วยสารสนเทศภูมิศาสตร์ โดยใช้ข้อมูลแบบจำลองระดับสูงเชิงเลข (Digital Elevation Model: DEM) ขนาด 90x90 เมตร วิเคราะห์โดยโปรแกรม System for Automated Geoscientific Analyses (SAGA-GIS) free software, in version 2.2.5. โดยใช้หลักเกณฑ์ทางธรณีสัณฐานวิทยา(พื้นที่ที่เป็นหลุม/ที่ยุบต่ำและระยะทางแนวตั้งจากลำน้ำ) และอุทกวิทยา (พื้นที่รับน้ำ การไหลบ่าของน้ำบนพื้นผิวและดัชนีความชุ่มชื้นภูมิประเทศ) จากการวิเคราะห์ข้อมูลและศึกษา สามารถกำหนดขอบเขตพื้นที่และแบ่งระดับความอ่อนไหวต่อการเกิดน้ำท่วมได้ โดยจำแนกพื้นที่ความอ่อนไหวต่อการเกิดน้ำท่วมได้ 5 ระดับ ได้แก่ พื้นที่ไม่อ่อนไหว พื้นที่อ่อนไหวน้อย พื้นที่อ่อนไหวปานกลาง พื้นที่อ่อนไหวสูง และพื้นที่อ่อนไหวสูงมาก ผลการศึกษาพบว่าจังหวัดอุบลราชธานีส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ที่อ่อนไหวต่อการเกิดน้ำท่วมต่ำ รองลงมาคือพื้นที่ที่อ่อนไหวต่อการเกิดน้ำท่วมสูง พื้นที่ที่ไม่อ่อนไหวเลย พื้นที่ที่อ่อนไหวสูง และพื้นที่ที่อ่อนไหวสูงมาก โดยพื้นที่ที่อ่อนไหวสูงคือบริเวณตะวันตกของจังหวัดอุบลราชธานี คืออำเภอเมือง วารินชำราบ และเขื่องใน และผลการศึกษาสอดคล้องกับข้อมูลความเสี่ยงอุทกภัยของมหาวิทยาลัยขอนแก่น ปีพ.ศ.2562
Other Abstract: The work aims to analysis terrains for evalulation flood susceptibility in the Ubonratchathani province, from useing digital elevation models (DEM) and System for Automated Geoscientific Analyses (SAGA-GIS) free software, in version 2.2.5. It was produced a DEM with cells of 90 x 90 m hydrologically corrected, obtaining different maps of geomorphological factor (closed depressions and vertical distance from the drainage network) and hydrological factor (modified catchment area, runoff over-land flow, and topographic wetness index). Integrating all this information, we can criteria and reclassify flood susceptibility zones. Flood susceptibility zone have been categorized into five risk levels that are none, low, medium, high, and very high. The results suggest that the most area of Ubonratchathani province is low flood susceptibility zone, is the Western of Ubonratchathani province. The results match with the Northeastern flood risk map (Khon Kaen University, 2019).
Description: โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต ภาควิชาธรณีวิทยา. คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2562
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78403
Type: Senior Project
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
62-SP-GEO-012 - Nongrat Sukarasu.pdf3.41 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.