Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78407
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | พิชญดา เกตุเมฆ | - |
dc.contributor.author | ชนันท์ นาคถมยา | - |
dc.contributor.author | ธีระชัย กาญจนสุวรรณ์ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2022-04-20T06:49:15Z | - |
dc.date.available | 2022-04-20T06:49:15Z | - |
dc.date.issued | 2562 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78407 | - |
dc.description | โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีทางภาพและการพิมพ์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2562 | en_US |
dc.description.abstract | สีของแหล่งแสงมีความสำคัญในการช่วยเพิ่มหรือลดอารมณ์ ความรู้สึก และการรับรู้ของมนุษย์ ซึ่งอุณหภูมิสีของแสงและแสงสีแบบต่าง ๆ ให้ความความรู้สึกที่แตกต่างกันออกไป ในการวิจัยจึงนำเรื่องสีของแหล่งแสงมาประยุกต์ใช้ในวงการอาหาร มีวัตถุประสงค์คือการนำแหล่งแสงที่มีสีแตกต่างกันมาเพิ่มความดึงดูด ใจให้กับขนมไทย เพื่อเพิ่มยอดขายและรักษาความนิยมของขนมไทยในปัจจุบัน โดยการทดลองแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ซึ่งการทดลองทั้ง 2 ส่วนเป็นการสอบถามผู้สังเกตทางช่องทางออนไลน์ จำนวน 94 คน ส่วนที่ 1 คือ การ เปรียบเทียบความอิ่มตัวของสีขนมแต่ละชนิดในสภาวะแสงขาวและสภาวะแสงที่มีสีคล้ายคลึงกับขนมชนิดนั้นๆ ซึ่งประกอบด้วยแหล่งแสงสีขาวอมเหลือง แสงสีขาวอมส้ม แสงสีส้ม แสงสีขาวอมเขียว แสงสีเขียว แสงสีขาว อมม่วง และ แสงสีม่วง ในส่วนขนมไทยประกอบด้วย ขนมสีเหลืองส้ม ขนมเขียว และ ขนมสีม่วง จากการรวบรวมข้อมูลพบว่าความพึงพอใจที่มีต่อแสงสีขาวอมเหลืองนั้นมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมาคือแสงสีขาวอม ส้ม และ สุดท้ายคือแสงสีส้มโดยมีค่าเฉลี่ยตามลำดับคือ 3.89 2.99 และ 1.67 ตามลำดับ และเมื่อความอิ่มสี ของขนมไทยมากเกินไปนั้น ทำให้ความน่าทานของอาหารลดลง ส่วนที่ 2 คือ การสังเกตภาพรวมของขนมที่ต่าง ชนิดและต่างสีในสภาวะแสงเดียวกันและระบุระดับความดึงดูดใจว่าสภาวะแสงแบบใดสามารถดึงดูดใจให้อยากรับประทานขนมทุกชนิด ซึ่งประกอบด้วยแหล่งแสงสีขาวอมเหลือง แสงสีขาวอมส้ม แสงสีขาวอมเขียว แสงสีขาวอมม่วง และ แสงสีขาว และยังใช้ขนมไทยชนิดเดียวกันกับส่วนที่ 1 พบว่าค่าเฉลี่ยของแสงสีขาวนั้นสูง ที่สุด รองลงมาเป็นแสงสีขาวอมเหลือง แสงสีขาวอมส้ม แสงสีขาวอมเขียว และ แสงสีขาวอมม่วง โดยมีค่าเฉลี่ยเป็น 4.09 4.02 3.04 1.90 และ 1.43 ตามลำดับ จากการทดลองทั้ง 2 ส่วนสามารถสรุปได้ว่า สีของแหล่งแสง ที่มีสีคล้ายคลึงกับสีของขนมไทยชนิดนั้น ๆ สามารถเพิ่มความดึงดูดใจในขนมไทยได้ ถ้าสีของแหล่งแสงนั้นไม่เพิ่มความอิ่มสีของขนมไทยมากจนเกินและเป็นแหล่งแสงที่คนส่วนใหญ่มีประสบการณ์ร่วมด้วย | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | ขนมไทย -- สี | en_US |
dc.subject | การเห็นสี | en_US |
dc.subject | การรับรู้ทางสายตา | en_US |
dc.subject | Confectionery -- Color | en_US |
dc.subject | Visual perception | en_US |
dc.subject | Color vision | en_US |
dc.title | การใช้แสงสีเพื่อเพิ่มความดึงดูดใจให้กับขนมไทย | en_US |
dc.title.alternative | Using Colored Light For Enhancing The Attraction of Thai Dessert | en_US |
dc.type | Senior Project | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
Appears in Collections: | Sci - Senior Projects |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
62-SP-IMAGE-009 - Chanan Nakthomya.pdf | 1.38 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.