Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78423
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | มนตรี ชูวงษ์ | - |
dc.contributor.author | วรวรัย สุวัณณปุระ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2022-04-21T01:13:13Z | - |
dc.date.available | 2022-04-21T01:13:13Z | - |
dc.date.issued | 2562 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78423 | - |
dc.description | โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต ภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2562 | en_US |
dc.description.abstract | การท่องเที่ยวเชิงธรณีวิทยาคือการท่องเที่ยวรูปแบบใหม่ที่บูรณาการด้านการท่องเที่ยวและการศึกษาสภาพธรณีวิทยาและลักษณะทางภูมิลักษณ์ของสถานที่ท่องเที่ยวเข้าด้วยกัน ซึ่งในปัจจุบันการท่องเที่ยวเชิงธรณีวิทยายังไม่เป็นที่นิยมของประชาชนชาวไทยมากนัก สาเหตุหนึ่งมาจากการขาดการพัฒนาและประชาสัมพันธ์อย่างเหมาะสม ทำให้องค์ความรู้ทางธรณีวิทยาของสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ ถูกละเลยและมองข้ามอย่างน่าเสียดาย อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยมีแหล่งท่องเที่ยวที่มีศักยภาพที่พัฒนาเพื่อเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงธรณีวิทยาหลายแห่ง แต่แหล่งท่องเที่ยวบางแห่งอยู่ในจังหวัดที่ไม่เป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยวมากนัก รวมไปถึงจังหวัดศรีสะเกษด้วย งานวิจัยชิ้นนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินศักยภาพและเสนอแนวทางพัฒนาแหล่งธรณีวิทยาที่โดดเด่นในจังหวัดศรีสะเกษ และจัดทำแผนที่เส้นทางการท่องเที่ยวเชิงธรณีวิทยา และข้อมูลเชิงธรณีวิทยาเบื้องต้นของแหล่งธรณีวิทยาที่คาดว่าจะมีศักยภาพเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงธรณีวิทยาเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงธรณีวิทยาของจังหวัดศรีสะเกษ จากการศึกษาแหล่งท่องเที่ยวธรณีวิทยาที่คาดว่าจะมีศักยภาพ 9 แห่งของจังหวัดศรีสะเกษในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอภูสิงห์ อำเภอขุนหาญ และอำเภอกันทรลักษ์ ซึ่งทั้ง 3 อำเภอข้างต้น มีลักษณะภูมิประเทศเป็นภูเขาที่อยู่ในแนวเทือกเขาพนมดงรักและมีแหล่งท่องเที่ยวที่มีลักษณะทางธรณีสัณฐานที่โดดเด่นมากมาย ซึ่งผลจากการประเมินศักยภาพแหล่งธรณีวิทยาโดยใช้วิธีการวิเคราะห์แบบให้คะแนน และการวิเคราะห์สวอต พบว่ามีแหล่งท่องเที่ยวที่คาดว่าจะมีศักยภาพที่จะพัฒนาและส่งเสริมเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงธรณีวิทยาทั้งหมด 5 แหล่ง ได้แก่ ผามออีแดง อุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร และน้ำตกวังใหญ่ อำเภอกันทรลักษ์ ทุ่งกบาลกระไบ น้ำตกห้วยจันทร์ และแหล่งปลูกทุเรียนภูเขาไฟ ตำบลพราน อำเภอขุนหาญ แต่สำหรับน้ำตกสำโรงเกียรติและวัดพระบาทภูฝ้าย อำเภอขุนหาญ น้ำตกห้วยสวายและจุดชมวิวพญากูปรี อำเภอภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ พบว่าเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ไม่มีศักยภาพเพียงพอในการที่จะเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงธรณีวิทยา อันเนื่องมาจากการที่ไม่มีความพร้อมด้านการท่องเที่ยวและบางแห่งไม่พบลักษณะทางธรณีที่เด่นชัด เช่น น้ำตกห้วยสวาย | en_US |
dc.description.abstractalternative | Geotourism is a new kind of tourism which is an integration of the tourism with the study of geological feature and landform. Recently, geotourism is not a popular activity among Thai tourists due to the lack of appropriate development and publicize. Consequently, the geological knowledges of the geological tourist attraction were unfortunately ignored and neglected by the tourists. However, there are many efficient attractions that can be developed into geological tourist attractions. Nevertheless, some tourist attractions are located in unpopular area for tourism including Si Sa Ket Province. Therefore, this project aims to evaluate the potential of the geosites, suggest some guideline for developing the outstanding geosites in Si Sa Ket Province, make a travelling route map of the geosites, and making the fundamental geological information of the expected potential geosites for promoting geotourism of Si Sa Ket Province. In this study, nine expected potential geosites from three districts including Phu Sing District, Khun Han District, and Kantharalak District which are located on Phanom Dong Rak Mountain Range with outstanding geomorphology. The results from geosites evaluation using rating scale analysis and SWOT Analysis show that there are five expected potential geosites in the study area which could be developed and promoted to become the geological tourist attraction, which are Pha Mo E Dang Cliff in Khao Phra Wihan National Park, and Wang Yai Waterfall in Kanharalak District, Kabarn Krabai Meadow, Huai Chan Waterfall, and Volcanic Durian Orchard, Pran Sub-district in Khun Han District. However, other four tourist attractions which are Samrong Kiat Waterfall, and Wat Phra Bhat Phu Fai in Khun Han District, Huai Sawai Waterfall, and Phaya Kopri Viewpoint in Phu Sing District have no potential to become the geological tourist attachments due to the lack of the tourism readiness and some attractions ,such as Huay Sawai Waterfall, have no outstanding geological features. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | ธรณีวิทยา -- ไทย -- ศรีสะเกษ | en_US |
dc.subject | การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ -- ไทย -- ศรีสะเกษ | en_US |
dc.subject | Geology -- Thailand -- Si Sa Ket | en_US |
dc.subject | Ecotourism -- Thailand -- Si Sa Ket | en_US |
dc.title | การประเมินแหล่งธรณีวิทยาที่โดดเด่น เพื่อการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงธรณีวิทยา จังหวัดศรีสะเกษ | en_US |
dc.title.alternative | Evaluation of remarkable geosite for geotourism promotion, Si Sa Ket province | en_US |
dc.type | Senior Project | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
Appears in Collections: | Sci - Senior Projects |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
62-SP-GEO-026 - Varavarai Suwan.pdf | 5.62 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.