Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78428
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorบุศรา จิระวรสุข-
dc.contributor.authorปารมินทร์ วิไลเนตร-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์-
dc.date.accessioned2022-04-21T02:26:14Z-
dc.date.available2022-04-21T02:26:14Z-
dc.date.issued2562-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78428-
dc.descriptionโครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีทางภาพและการพิมพ์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2562en_US
dc.description.abstractงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้ซีโอไลต์เพื่อเป็นตัวเติมในการผลิตกระดาษเพื่อดูดซับเอทิลีนจากผลไม้ โดยมีการใส่สารเพิ่มการกักเก็บ (retention aid) จำพวกพอลิอะคริลาไมด์ ในขั้นแรกได้ทำการหา ปริมาณ Cationic Polyacrylamide (CPAM) ที่เหมาะสม โดยเตรียมน้ำเยื่อจากเยื่อทางการค้าชนิดใยสั้นและใยยาว ในอัตราส่วน 70:30 (โดยน้ำหนัก) เติมซีโอไลต์ชนิด 4A ร้อยละ 30 ของน้ำหนักเยื่อแห้ง และ Cationic Polyacrylamide (CPAM) ที่ปริมาณต่าง ๆ ได้แก่ ร้อยละ 0, 0.3, 0.6, 0.9 และ 1.2 จากนั้นขึ้นรูปเป็นแผ่นกระดาษ และศึกษาสมบัติของกระดาษที่ผลิตได้ พบว่ากระดาษที่มีปริมาณ Cationic Polyacrylamide CPAM) ร้อยละ 0.3 เหมาะสมมากที่สุดในการผลิตกระดาษที่มีซีโอไลต์ชนิด 4A เนื่องจากสามารถกักเก็บซีโอไลต์ในกระดาษมากที่สุด การศึกษาสมบัติของกระดาษทีมีซีโอไลต์ชนิด 4A ร้อยละ 30 ของน้ำหนักเยื่อแห้ง และ Cationic Polyacrylamide (CPAM) ร้อยละ 0.3 เปรียบเทียบกับกระดาษที่ไม่ใส่ Polyacrylamide (CPAM) โดยศึกษา สมบัติทางกายภาพ ได้แก่ น้ำหนักมาตรฐาน (Basis Weight) ความหนา (Thickness) ความขาว (Whiteness)ความเรียบ (Smoothness) ความต้านทานการไหลของอากาศ (Air Resistance) ความต้านทานต่อแรงดึง (Tensile Strength) ความต้านทานต่อแรงฉีกขาด (Tear Resistance) และปริมาณเถ้า (Ash Content) พบว่า กระดาษมีคุณสมบัติดีขึ้นในเรื่องของความขาวและความเรียบ แต่คุณสมบัติด้านความต้านทานต่อแรงดึง และ ความต้านทานต่อแรงฉีกลดลง จากการศึกษาโครงสร้างของซีโอไลต์ พบว่ามีโครงสร้างเป็นผลึก ที่เกิดจากการเชื่อมต่อกันของหน่วยทรงสี่หน้าของซิลิเกตและอะลูมิเนต จากการก่อตัวที่เป็นระเบียบดังกล่าว ทำให้ภายในโครงสร้างของซีโอไลต์มีรูพรุนขนาดใหญ่เพียงพอที่จะเกิดกระบวนการดูดซับโมเลกุลสารอินทรีย์จากขนาดเล็กจนถึงขนาด 1 นาโนเมตร ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ซีโอไลต์สามารถดูดซับก๊าซเอทิลีนได้ จึงเลือกใช้ซีโอไลต์ ในการยืดอายุการเก็บรักษาผลไม้en_US
dc.description.abstractalternativeThis research aimed to study the use of zeolite as a papermaking filler for the purpose of adsorbing ethylene produced from fruit. An optimal content of Cationic Polyacrylamide (CPAM) was determined by preparing pulp stock from commercial hardwood and softwood pulp in the ratio of 70:30 w/w. 4A zeolite was added to the pulp mix in the amount of 30 percent of pulp dried weight, along with varied amount of CPAM (0, 0.3, 0.6, 0.9, and 1.2 percent). Handsheets were formed and tested for their properties. The result suggested that the paper with 0.3% of CPAM is most suitable for 4A zeolite-filled paper due to highest zeolite retention. Properties of paper with 30% 4A zeolite and 0.3% CPAM were compared with the paper without CPAM. Physical properties were tested including basis weight, thickness, whiteness, smoothness, air resistance, tensile strength, tear resistance, and ash content. It was found that the paper whiteness and smoothness were improved with addition of zeolite, but it decreased tensile strength and air resistance. The zeolite’s crystal structure consists of the tetrahedron connection between silicate and aluminate which produces large pores for organic substance’s molecule adsorption (up to 1 nanometer), so zeolite is able to adsorb ethylene and can be used to extend the shelf life of fruits.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectซีโอไลต์en_US
dc.subjectกระดาษ -- การผลิตen_US
dc.subjectZeolitesen_US
dc.subjectPaperen_US
dc.titleการใช้ซีโอไลต์เพื่อเป็นตัวเติมในการผลิตกระดาษเพื่อดูดซับเอทิลีนจากผลไม้en_US
dc.title.alternativeUse of zeolite as paper filler for ethylene adsorptionen_US
dc.typeSenior Projecten_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
62-SP-IMAGE-004 - budsara jiravorasuk.pdf1.46 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.