Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78445
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอิชฌิกา ศิวายพราหมณ์-
dc.contributor.advisorพรเทพ พรรณรักษ์-
dc.contributor.authorณัฐริกา เพชรคง-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์-
dc.date.accessioned2022-04-22T02:09:00Z-
dc.date.available2022-04-22T02:09:00Z-
dc.date.issued2562-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78445-
dc.descriptionโครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2562en_US
dc.description.abstractในปัจจุบันเครื่องวิเคราะห์อนุภาคสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กในตัวอย่างของเหลว (FlowCAM) ถูกนำมาใช้นับจำนวนและจำแนกแพลงก์ตอนพืชโดยอัตโนมัติมากถึง 500 แห่งทั่วโลก แต่ในประเทศไทยยังไม่สามารถทำได้ เนื่องจากขาดฐานข้อมูลที่เหมาะสม การศึกษาครั้งนี้จึงต้องการพัฒนาฐานข้อมูลแพลงก์ตอนพืชในประเทศไทย สำหรับเครื่อง FlowCAM โดยการเก็บตัวอย่างแพลงก์ตอนพืชในบริเวณเกาะสีชังจำนวน 24 สถานี ด้วยการสูบน้ำที่ระดับ 0.5 เมตรจากผิวน้ำ 20 ลิตรมากรองผ่านถุงกรองแพลงก์ตอนขนาดตา 200 ไมโครเมตร และ 20 ไมโครเมตร ตามลำดับ จากนั้นนำตัวอย่างที่ค้างบนถุงกรองแพลงก์ตอน 20 ไมโครเมตร มาผ่านเครื่อง FlowCAM เพื่อสร้างห้องสมุดภาพ (library) โดยอาศัยโปรแกรม VisualSpreadsheet® (ViSp) ห้องสมุดภาพที่ถูกสร้างขึ้นจะเป็นฐานข้อมูลภายในเครื่องเพื่อใช้ในการจำแนกและนับจำนวนแพลงก์ตอนพืชจาก 6 สถานี เพื่อทดสอบประสิทธิภาพของ FlowCAM เทียบกับวิธีมาตรฐานที่นับและจำแนกแพลงก์ตอนพืชด้วย Sedgewick Rafter slide ภายใต้กล้องจุลทรรศน์ ผลการศึกษาได้ภาพของแพลงก์ตอนพืชเพื่อจัดทำห้องสมุดภาพจำนวน 39 สกุล 7 ชนิด ประสิทธิภาพในการจำแนกสกุลของแพลงก์ตอนพืชด้วย FlowCAM ต่ำกว่าวิธีมาตรฐานโดยจำแนกสกุลและชนิดของแพลงก์ตอนพืชที่จำแนกได้เพียงร้อยละ 54 ถึง 68 ของวิธีมาตรฐาน การหาความหนาแนของแพลงก์ตอนพืชด้วย FlowDAM ได้ค่าสูงกว่าวิธีมาตรฐานคิดเป็น 39 ถึง 130 เท่า ซึ่งแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (paired t-test, p<0.05) ความคลาดเคลื่อนที่เกิดขึ้นของ FlowCAM อาจเกิดจากข้อจำกัดของเครื่องที่ยังมีฐานข้อมูลแพลงก์ตอนพืชน้อย คุณภาพของ Flow cell และภาพในห้องสมุดภาพไม่ดีเท่าที่ควร จึงควรมีการสะสมห้องสมุดภาพเพิ่มขึ้น เปลี่ยน flow cell ใหม่ ปรับอัตราการไหล (flow rate) ให้ช้าลง และเพิ่มอัตราการแสดงภาพเคลื่อนไหวต่อวินาที (frame rate) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของ FlowCAMen_US
dc.description.abstractalternativeAt present, FlowCAM has been used for counting and identifying phytoplankton at up to 500 locations around the world. However, it cannot be performed the analysis in Thailand due to the lack of appropriate database. Thus, this study aimed to develop a phytoplankton database of Thailand in the FlowCAM. Microphytoplankton were collected from 24 stations around Sichang Island by collecting 20 liters of water at 0.5 meter from surface water and then filtering through plankton nets mesh size 200 and 20 μm, respectively. The samples retained on the 20 μm plankton net were then run through the FlowCAM to created image libraries as phytoplankton database using Visual Spreadsheet® (ViSp) software. Samples from six stations were used to analyzed taxa and density of phytoplankton by using FlowCAM and the results were compared to the standard method which was performed by using a Sedgewick Rafter under compound microscope to estimate the efficiency of the FlowCAM. We created libraries of 39 genus and 7 species of phytoplankton based on the images obtained from the FlowCAM. Numbers of phytoplankton taxa obtained from the FlowCAM were lower, accounted for 54– 68% of the standard method, whereas the density of phytoplankton obtained from the FlowCAM were 39 to 130 times higher than those from the standard method, which are significantly different (paired t-test, p<0.05). The discrepancy in FlowCAM are likely due to low number of phytoplankton taxa in the libraries and low quality of the images and the flow cell. In order to increase the efficiency of FlowCAM, we suggest to collect more image libraries from more samples, replace better flow cell, reduce the flow rate and increase the frame rate.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectแพลงก์ตอนพืชทะเล -- ฐานข้อมูลen_US
dc.subjectMarine phytoplankton -- Databasesen_US
dc.titleการพัฒนาฐานข้อมูลแพลงก์ตอนพืชทะเลในเครื่องวิเคราะห์อนุภาคสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กในตัวอย่างของเหลว (FlowCAM)en_US
dc.title.alternativeDevelopment of marine phytoplankton database for FlowCAMen_US
dc.typeSenior Projecten_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
62-SP-MARINE-008_ Natthariga Petchkong.pdf2.33 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.