Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78459
Title: | ความหลากหลายและการแพร่กระจายของไรบนต้นจามจุรี (Samanea saman) ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Other Titles: | Diversity and within-plant distribution of mites associated with the raintree (Samanea saman) in Chulalongkorn university |
Authors: | ธัญนิจ เดชเป้า |
Advisors: | มารุต เฟื่องอาวรณ์ สุรีรัตน์ เดี่ยววาณิชย์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ |
Subjects: | จามจุรี (พืช) -- โรคและศัตรูพืช ไร Samanea saman -- Agricultural pests Mites |
Issue Date: | 2562 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ต้นจามจุรี มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Samanea saman เป็นต้นไม้ประจำจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมีการปลูกอยู่มากภายในมหาวิทยาลัย และมีบางต้นที่ถือเป็นต้นไม้ที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ เช่น ต้นจามจุรีทรงปลูก แต่ในปัจจุบันต้นจามจุรีนั้นเริ่มมีจำนวนลง เนื่องจากต้นจามจุรีอายุค่อนข้างมาก และถูกศัตรูพืชทำลาย ไรศัตรูพืชเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ต้นจามจุรีอ่อนแอ นอกจากจะดูดทำลายทำให้พืชได้รับความเสียหายโดยตรงแล้ว ยังอาจเป็นพาหะนำโรคต่าง ๆ ของพืช ด้วย การศึกษาความหลากหลายและการแพร่กระจายของไรบนต้นจามจุรีภายในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจึงเป็นเรื่องที่น่าสนใจ และอาจนำไปจัดทำเป็นฐานข้อมูลเกี่ยวกับไรที่พบบนต้นจามจุรี รวมถึงเป็นแนวทางในการหาวิธีการควบคุมไรศัตรูพืชที่เหมาะสม และไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมได้ โดยการศึกษาครั้งนี้เก็บตัวอย่างไรจากต้นจามจุรี 4 ต้น ได้แก่ ต้นจามจุรีทรงปลูกจำนวน 2 ต้น ต้นจามจุรีที่บริเวณหน้าอาคารศิลปวัฒนธรรมจำนวน 1 ต้น และต้นจามจุรีที่บริเวณหน้าตึกภาคสิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์ จำนวน 1 ต้น แต่ละต้นจะทำการเก็บตัวอย่างพืชส่วนต่าง ๆ ได้แก่ เปลือกไม้ที่ ลำต้น เปลือกไม้ที่กิ่งหลัก เปลือกไม้ที่กิ่งย่อย และใบ ผลการศึกษาพบว่าต้นจามจุรีที่ทำการศึกษามีไรอาศัยอยู่และสามารถพบไรได้ในทุกส่วนที่ทำการเก็บตัวอย่าง และพบว่าส่วนใบมีจำนวนตัวไรอาศัยอยู่มากที่สุด รองลงมาคือ เปลือกไม้ที่กิ่งย่อย เปลือกไม้ที่กิ่งหลัก เปลือกไม้ที่ลำต้น ตามลำดับ ทั้งนี้ไม่สามารถทำฏิบัติการต่อเพื่อที่จะระบุชนิดของไรและนับจำนวน เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรวิด 19 ทำให้ไม่สามารถสรุปเกี่ยวกับการแพร่กระจายของไรบนต้นจามจุรีได้ |
Other Abstract: | Raintrees (Samanea saman), Chulalongkorn University's officially symbolic tree, were planted throughout the university campus, some of which are considered historically important: “Chamjuree Song Plook”. However, the old raintrees within the campus have been declined due to, among other factors, the infestation of pests. Mites are one of the pests that may threatened this tree, by their feeding and their roles as disease vectors. The study of diversity and within-plant distribution of mites associated with the raintree in Chulalongkorn university is therefor interesting, which may be usedful for creating the raintrees’s pest database as well as for the appropriated guildlines for pest control. In this study, four raintrees were sampled, including two “Chamjuree Song Plook”, one each at Art and Culture Building, and Environmental Science Building. For each tree, various parts were collected including bark of main tree trunk, bark of main branch, bark of minor branch, and leaves. The results showed that mites were present in all plant parts. Leaves had highest number of mites, followed by bark of minor branch, bark of main branch and bark of main tree trunk, respectively. However, further sampling, identification, and analyses could not be done because of the serious pandemic events. Therefore, this study, which should be viewed as a preliminary, was unable to conclude about the detailed distribution of mites within raintrees. |
Description: | โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสัตววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2562 |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78459 |
Type: | Senior Project |
Appears in Collections: | Sci - Senior Projects |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
62-SP-ZOO-019 - Tunyanit Dejpao.pdf | 1.03 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.