Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78472
Title: การดูดซับของคาเทชินบนพื้นผิวซิลิกา
Other Titles: Adsorption of Catechin on Silica Surface
Authors: จุลจิตต์ จิตรเจริญวรกิจ
วัชรศักดิ์ กลั่นประเสริฐ
Advisors: มนัสวี สุทธิพงษ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Subjects: คาเทชิน
Catechin
Issue Date: 2562
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ใบชาแห้งประกอบด้วยคาเทชิน (catechin) ซึ่งเป็นสารในกลุ่มสารประกอบฟีนอลิก (phenolic compounds) มีประโยชน์ต่อสุขภาพ เช่น ต้านออกซิเดชัน (antioxidant) ที่จับกับอนุมูลอิสระ ต้านมะเร็ง ลดความเสี่ยงโรคหลอดเลือดอุดตัน เป็นต้น ชนิดของคาเทชินที่พบมากที่สุดคือ อีพิกัลโลคาเทชินกัลเลต ((-)-epigallocatechin-3-gallate, EGCG) ใบชาแห้งยังประกอบด้วยคาเฟอีน (caffeine) หากได้รับ caffeine มากเกินไปอาจทำให้นอนไม่หลับ ความดันโลหิตสูง ดังนั้นการแยก EGCG ออกจาก caffeine จึงได้รับความสนใจ งานวิจัยก่อนหน้าพบว่าซิลิกาที่มีรูพรุนขนาดกลาง (mesoporous silica) สามารถดูดซับ EGCG ได้ดี ทั้งนี้พฤติกรรมและอันตรกิริยาในระดับโมเลกุลระหว่าง EGCG กับพื้นผิวซิลิการวมทั้งพื้นผิวซิลิกาที่แปรด้วยหมู่เอมีน (amine-modified silica surface) มีอยู่จำกัด ข้อมูลดังกล่าวเป็นพื้นฐานความเข้าใจเชิงลึกเกี่ยวกับการดูดซับของ EGCG และอาจใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาตัวดูดซับที่มีประสิทธิภาพ ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงได้ศึกษาพฤติกรรมของ EGCG และ caffeine ในน้ำและพฤติกรรมการดูดซับของ EGCG กับ caffeine บนพื้นผิวซิลิกาและบนพื้นผิวซิลิกาที่ดัดแปรด้วยหมู่เอมีนด้วยการจำลองพลวัตเชิงโมเลกุล (molecular dynamics simulation) หมู่เอมีนที่ศึกษาคือ เอทิลีนไดเอมีน (ethylenediamine, EDA) ผลการวิจัยพบว่า EGCG มีสัมประสิทธิ์การแพร่ (diffusion coefficient) น้อยกว่า caffeine ในน้ำ เนื่องจากโมเลกุล EGCG มีขนาดใหญ่ เมื่อพิจารณาการดูดซับของ EGCG บนพื้นผิวซิลิกาพบว่าค่าสัมประสิทธิ์การแพร่ของ EGCG น้อยกว่า caffeine และมีแนวโน้มเดียวกับบนพื้นผิวซิลิกาที่ดัดแปรด้วยหมู่เอมีน EDA นั่นคือ EGCG สามารถดูดซับบนซิลิกาและ ซิลิกาที่ดัดแปรด้วยหมู่เอมีน EDA ได้ดีกว่า caffeine อันเป็นผลจากโมเลกุล EGCG มีอะตอมที่สามารถสร้างพันธะไฮโดรเจนกับพื้นผิวจำนวนมาก
Other Abstract: Dry tea leaves contain catechins, which are phenolic compounds. Catechins are natural antioxidants that help prevent cell damage and provide other benefits such as anti-cancer, reductions in systemic blood pressure and thrombosis, and so on. Epigallocatechin ((-) - epigallocatechin-3-gallate, EGCG) is the major catechins. Dry tea leaves also contain caffeine, which can have disruption effects: insomnia and hypertension. Accordingly, separation and purification of EGCG has received attention. Previous research showed that EGCG can adsorb on mesoporous silica. However, fundamental understanding of adsorption behavior of EGCG at molecular level, as well as interactions between EGCG and adsorbents is limited. In this work, using molecular dynamics (MD) simulations, behavior of EGCG and caffeine in aqueous solution and adsorption of EGCG and caffeine on silica surface and amine-modified silica surface were investigated. The amine group: ethylenediamine (EDA) was considered. The simulation results showed that EGCG diffused in water slower than caffeine due to its larger molecular size. On silica surface and EDA-modified silica surface, EGCG molecule moves slower than caffeine, indicating that EGCG is more favorable to adsorb on these substrates, compared to caffeine molecule.
Description: โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเคมีเทคนิค. คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2562
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78472
Type: Senior Project
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
62-SP-CHEMENG-030 - Chulachit Chit.pdf2.65 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.