Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78475
Title: การกำจัดแอนไอออนที่เป็นพิษในน้ำเสียด้วยการตกตะกอนร่วมกับเลเยอร์ดับเบิลไฮดรอกไซด์
Other Titles: Removal of Toxic Anions from Wastewater by Co-precipitation with Layered Double Hydroxides (LDH)
Authors: วรัญญาภรณ์ โยริยะ
Advisors: นิปกา สุขภิรมย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Subjects: แอนไอออน
น้ำเสีย -- การบำบัด -- การตกตะกอน
Anions
Sewage -- Purification -- Precipitation
Issue Date: 2562
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้ศึกษาการกำจัดแอนไอออนที่เป็นพิษในน้ำด้วยวิธีการตกตะกอนร่วมกับสารประกอบเลเยอร์ดับเบิลไฮดรอกไซด์ (layered double hydroxides, LDH) โดยใช้หลักการของแรงระหว่างประจุระหว่างโครงสร้างที่เป็นชั้นประจุบวกของสารประกอบ LDH ที่สามารถจับกับแอนไอออนชนิดต่าง ๆ ได้ ในการทดลองทำการตกตะกอนโครเมตแอนไอออนและอาร์ซิเนตแอนไอออนร่วมกับสารประกอบ LDH โดยศึกษาตัวแปร 3 ชนิด ได้แก่ ค่าความเป็นกรดเบส ความเข้มข้นของแอนไอออนที่เป็นพิษ และชนิดโลหะของสารประกอบ LDHการหาปริมาณโครเมตแอนไอออนและอาร์ซิเนตแอนไอออนทำได้โดยใช้เทคนิคอัลตราไวโอเลตและ วิสิเบิลสเปกโทรสโคปีและเทคนิคการคายแสงของธาตุด้วยการกระตุ้นจากพลาสมา ตามลำดับ และยืนยันการเกิดสารประกอบ LDH ของตะกอนที่ได้ด้วยเทคนิคการเลี้ยวเบนของรังสีเอกซ์ พบว่าระบบ Mg/Al สามารถตกตะกอน LDH ร่วมกันกับโครเมตแอนไอออนและอาร์ซิเนตแอนไอออนได้ที่ค่าความเป็นกรดเบสตั้งแต่ 9 ขึ้นไป เนื่องจากมีปริมาณไฮดรอกไซด์มากพอสำหรับเกิดเป็นสารประกอบ LDH ส่วนระบบ Mg/Fe เกิดเป็นสารประกอบ LDH ได้ที่ค่าความเป็นกรดเบสที่ 11 แต่ไม่เกิดสารประกอบ LDH ที่ค่าความเป็นกรดเบสที่ 9 เนื่องจากที่ค่าความเป็นกรดเบส 9 ไอออนของเหล็กอาจตกตะกอนเป็นสารประกอบ Fe(OH)3 ส่งผลให้มีปริมาณเหล็กไม่เพียงพอที่จะเกิดเป็นสารประกอบ LDH ร่วมกับ Mg ได้ นอกจากนี้เมื่อเปลี่ยนชนิดของโลหะไดวาเลนต์ Zn/Al, Ni/Al และ Ni/Fe สามารถตกตะกอนร่วมกันกับโครเมตแอนไอออนและเกิดเป็นสารประกอบ LDH ที่ค่าความเป็นกรดเบส 9 และ 11 เช่นเดียวกัน
Other Abstract: This research studied the removal of toxic anions from wastewater by co-precipitation with layered double hydroxides (LDH), based on the coulombic interaction between positive layers of LDH structure and anions in water. In the experiments, the chromate anions or arsenate anions were coprecipitated with LDH, by varying these factors, pH, the concentration of toxic anions and types of metal in LDH compounds. The amounts of chromate anions and arsenate anions were determined using UV-Visible spectroscopy and ICP-OES respectively. The formation of LDH was confirmed using XRD. The result found that Mg/Al can co-precipitate with chromate anions and arsenate anions starting from pH 9 because the amount of hydroxide ions was high enough to form the LDH compound. Mg/Fe can form LDH compound at pH 11 but cannot form LDH compound at pH 9 since iron ions might precipitates as Fe(OH)3 ; therefore, the LDH compound cannot be formed as a consequence of deficient Fe(III) ions. Besides, the study of divalent ions revealed that Zn/Al, Ni/Al, and Ni/Fe can co-precipitate with chromate anions to form LDH compounds at pH 9 and 11 as well.
Description: โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2562
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78475
Type: Senior Project
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
62-SP-CHEM-042 - warunyaporn.pdf1.3 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.