Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78489
Title: | การสังเคราะห์อนุภาคทองนาโนด้วยวิธีการทางชีวภาพโดยใช้ เชื้อรา Aspergillus niger |
Other Titles: | Biosynthesis of Gold Nanoparticle using Aspergillus niger |
Authors: | ฉัตรวรเชษฐ์ แซ่โกว |
Advisors: | สริสา ณ ป้อมเพ็ชร์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ |
Subjects: | อนุภาคนาโน ทอง Nanoparticles Gold |
Issue Date: | 2562 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | อนุภาคทองคำนาโน (gold nanoparticle ; AuNP) คือ อนุภาคของทองคำที่มีขนาดตั้งแต่ 1-100 นาโนเมตร และในปัจจุบันพบว่าการสังเคราะห์อนุภาคทองคำนาโนทางชีวภาพเป็นที่นิยมอย่างมาก เนื่องจากเป็นวิธีการสังเคราะห์อนุภาคทองคำนาโนโดยใช้เอมไซม์และเมทาบอไลต์ของสิ่งมีชีวิตไม่ว่าจะเป็นแบคทีเรีย ราหรือพืช ทำให้ในกระบวนการสังเคราะห์อนุภาคทองคำนาโนไม่มีการปนเปื้อนหรือตกค้างของสารเคมีในสิ่งแวดล้อมและในอนุภาคทองคำนาโนที่สังเคราะห์ได้ ดังนั้นอนุภาคทองคำนาโนที่สังเคราะห์ได้จึงมีความเป็นพิษน้อยและปลอดภัยสำหรับการนำไปประยุกต์ใช้กับสิ่งมีชีวิต ซึ่งในงานวิจัยนี้ผู้ทำงานวิจัยมีจุดประสงค์เพื่อสังเคราะห์อนุภาคทองคำนาโนจากเชื้อรา Aspergillus niger MSCU 0361 และศึกษาผลของสภาวะความเป็นกรด-ด่างที่แตกต่างกันในการสังเคราะห์อนุภาคทองคำนาโนในสารละลาย acetate buffer และในน้ำ โดยผลการศึกษาพบการดูดกลืนแสงที่ช่วงความยาวคลื่น 530-560 นาโนเมตร ของสารละลายซึ่งเป็นผลมาจากคุณสมบัติการดูดกลืนแสงที่จำเพาะของอนุภาคทองคำนาโนและผลจากการตรวจวิเคราะห์รูปร่างและการกระจายตัวของอนุภาคทองคำนาโนด้วยกล้องจุลทรรศน์แบบส่องผ่าน (TEM) พบว่าอนุภาคทองคำนาโนที่ได้จากการสังเคราะห์ในน้ำมีรูปร่างทรงกลม สามเหลี่ยมและรูปร่างไม่แน่นอน และมีการกระจายตัวอย่างไม่เป็นระเบียบ ซึ่งแตกต่างกับอนุภาคทองคำนาโนที่สังเคราะห์ได้จากสารละลาย acetate buffer ที่พบรูปร่างส่วนใหญ่เป็นทรงกลมและมีการเกาะกลุ่มกันของอนุภาคทองคำนาโน ส่วนการวิเคราะห์ขนาดของอนุภาคทองคำนาโนด้วยวิธี DLS (Dynamic Light Scattering) พบว่าอนุภาคทองคำนาโนที่สังเคราะห์ได้ในสารละลาย acetate buffer และในน้ำ มีขนาดเฉลี่ยเท่ากับ 63.13 นาโนเมตรและ 90.07 นาโนเมตร ตามลำดับ ในส่วนการทดลองเพื่อศึกษาความสามารถในการเป็นตัวเร่งปฏิกิริยารีดักชั่น resazurin ให้เป็น resorufin ของอนุภาคทองคำนาโนที่สังเคราะห์ได้จาก A. niger MSCU 0361 พบว่าอนุภาคทองคำนาโนที่สังเคราะห์ได้มีแนวโน้มที่จะสามารถเร่งปฏิกิริยารีดักชั่น resazurin ให้กลายเป็น resorufin ได้ จากการตรวจสอบปริมาณ resorufin ที่เพิ่มขึ้นภายในสารละลายด้วยการวัดค่าการดูดกลืนแสงของ resorufin ที่ 570 นาโนเมตร ด้วยเทคนิค UV-visible spectrometry ผลการทดลองทั้งหมดในงานวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่าเชื้อรา A. niger MSCU 0361 สามารถสังเคราะห์อนุภาคทองคำนาโนได้และอนุภาคทองคำนาโนที่ได้จากการสังเคราะห์ในสารละลาย acetate buffer และในน้ำมีความแตกต่างกัน อีกทั้งอนุภาคทองคำนาโนที่สังเคราะห์ได้ยังมีแนวโน้มที่จะสามารถนำไปใช้เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาการรีดักชั่นได้อีกด้วย อย่างไรก็ตามเพื่อยืนยันความสามารถในการเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาและทราบถึงกลไกลการเร่งปฏิกิริยาของอนุภาคทองคำนาโนควรมีการศึกษาต่อไปในอนาคต |
Other Abstract: | Gold nanoparticles (AuNPs) are gold particles that range in size from 1-100 nm. Currently, biosynthesis of gold nanoparticle has gained increasing interest due to its environmental friendliness and less toxicity. In this method, enzymes and metabolites from organisms such as bacteria, fungi, yeasts, algaes and plants play an important role in the nanoparticle production. In this study, we aimed to biosynthesize AuNPs from Aspergillus niger MSCU 0361 and study the effects of different pH conditions on the synthesis of nanoparticles (pH 7 : water , pH 4.6 : acetate buffer). The absorbance result showed unique optical characteristics of AuNPs between 530-560 nm. The transmission electron microscopy (TEM) displayed the difference in shapes of synthesized AuNPs in water and acetate buffer. Most of AuNPs in acetate buffer were in spherical shapes, while the synthesized particles in water solution were found in spherical, triangular and uncertain shapes. Hydrodynamic diameters and size distributions of AuNPs were observed by dynamic light scattering (DLS) technique. The average size measured by DLS were 63.13 nm in acetate buffer and 90.01 nm in water solution. The catalytic activity of synthesized AuNPs was tested using resazurin reduction method, and found that the synthesized AuNPs tended to be able to catalyze resazurin giving resorufin products that could be measured by UV-visible spectrometry at the absorbance of 570 nm. These all results suggested that A. niger MSCU 0361 could synthesize nanoparticles, and the synthesized AuNPs in acetate buffer and in water solution were different. Moreover, the biosynthesized AuNPs could be used as catalyst for resazurin reduction. However, in order to confirm the ability of being an effective catalyst and to understand the catalytic mechanism of AuNPs, further studies are needed. |
Description: | โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต ภาควิชาจุลชีววิทยา. คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2562 |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78489 |
Type: | Senior Project |
Appears in Collections: | Sci - Senior Projects |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
62-SP-MICRO-005 - Chatworachet Sae-kow.pdf | 1.38 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.