Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7850
Title: | อัตราชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเกิดกลุ่มอาการป่วยเหตุอาคารของเจ้าหน้าที่ ที่ปฏิบัติงานภายในอาคารของโรงพยาบาลที่มีการระบายอากาศไม่เพียงพอ |
Other Titles: | The prevalence rate and associated factors of sick building syndrome among health care workers in hospitals with inadequate ventilation |
Authors: | ณัฐพงศ์ แหละหมัน |
Advisors: | วิโรจน์ เจียมจรัสรังษี สร้อยสุดา เกสรทอง |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ |
Advisor's Email: | Wiroj.J@Chula.ac.th ไม่มีข้อมูล |
Subjects: | โรคแพ้ตึก อาคาร -- การระบายอากาศ คุณภาพอากาศ คุณภาพอากาศภายในอาคาร โรงพยาบาล -- อาคาร มลพิษทางอากาศในอาคาร |
Issue Date: | 2548 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์ ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง มีวัตถุประสงค์เพื่อหาอัตราชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มอาการป่วยเหตุอาคาร ของเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในอาคารของโรงพยาบาล โดยใช้ระดับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นตัวชี้วัดสภาพการระบายอากาศ กลุ่มศึกษาคือเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในอาคารที่มีการระบายอากาศไม่เพียงพอ (มีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในอาคาร 800 ppm. ขึ้นไป) และกลุ่มเปรียบเทียบคือเจ้าหน้าที่ที่ปฏิงานอยู่ในอาคารที่มีการระบายอากาศเพียงพอ (มีก็าซคาร์บอนไดออกไซด์ในอาคารต้ำกว่า 700 ppm.) เก็บข้อมูลในโรงพยาบาลสังกัดรัฐบาลจำนวน 9 แห่ง ในเขตพื้นที่ภาคกลาง โดยใช้แบบสอบถามและตรวจวัดระดับคุณภาพอากาศ (ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ก๊าซคาร์บอนมอนนอกไซด์ ความชื้นสัมพัทธ์ อุณหภูมิ สารระเหยอินทรีย์ ฝุ่นละอองขนาดเล็ก เชื้อรา เชื้อแบคทีเรีย ก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์และก๊าซโอโซน) โดยใช้เครื่องมือทางสุขศาสตร์อุตสาหกรรม แจกแบบสอบถามไปจำนวน 1,800 ฉบับ ตอบกลับ 1,500 ฉบับ มีอัตราการตอบกลับทั้งหมดคิดเป็น 83.3% ผลการศึกษาพบว่าอัตราชุกของกลุ่มอาการป่วยเหตุอาคาร ในกลุ่มศึกษา คิดเป็น 25.82% (ความเชื่อมั่นที่ 95% = 22.92-28.71) ในกลุ่มเปรียบเทียบคิดเป็น 26.31% (22.64-29.97) ซึ่งไม่แตกต่างกัน กลุ่มอาการที่พบมากที่สุดคือกลุ่มอาการทางตาคิดเป็น 17.94% (15.42-20.45) เมื่อวิเคราะห์ด้วย Multiple logistic regrission พบว่าปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มอาการป่วยเหตุอาคาร ได้แก่ ปริมาณฝุ่นในอาคารที่มากกว่า 0.1 mg/qb.m. อัตราเสี่ยงเท่ากับ 1.62 (ความเชื่อมั่นที่ 95% = 1.24-2.11) จำนวนวันทำงานที่มากกว่า 5 วันต่อสัปดาห์ อัตราเสี่ยงเท่ากับ 1.48 (1.14-1.93) การใช้พรินเตอร์ อัตราเสี่ยงเท่ากับ 1.54 (1.18-2.01) ความคิดว่าที่ทำงานมรการระบายอากาศไม่ดี อัตราเสี่ยงเท่ากับ 1.46 (1.13-1.87) สกปรก อัตราเสี่ยงเท่ากับ 2.09 (1.55-2.81) และมีเสียงดังรบกวน อัตราเสี่ยงเท่ากับ 1.34 (1.01-1.79) โดยสรุป จากการศึกษาครั้งนี้ไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างสภาพการระบายอากาศที่ไม่เพียงพอ กับกลุ่มอาการป่วยเหตุอาคาร แต่อย่างไรก็ตาม อัตราชุกของกลุ่มอาการป่วยเหตุอาคารที่พบ อยู่ในช่วงร้อยละ 25-26 ซึ่งใกล้เคียงกับที่องค์การอนามัยโลกกำหนดไว้ว่าเป็นระดับที่ทำให้เกิดปัญหาได้ ดังนั้นผู้บริหารที่เกี่ยวข้องควรให้ความสนใจในการแก้ไบปัญหาดังกล่าว |
Other Abstract: | This cross-sectional analytic study aimed at examining the prevalence rate related factors of sick building syndrome (SBS) among health care workers in hospital building. By using carbon dioxide level to be the indicator of ventilation condition, the study population were all health care workers in hospital with inadequate ventilation (carbon dioxide level in the building was more than 800 ppm.) and the comparison groups were health care workers in hospitals with adequate ventilation (Carbon dioxide level in the building was lower than 700 ppm.). The data were collected by questionnaires and the air samples (carbon dioxide, carbon monoxide, humidity, temperature, volatile organic compounds, particulate, matter, fungi, bacteria, nitrogen dioxide and ozone) were collected by industrial hygiene instruments from nine govermment hospitals in central region. Totally 1,800 questionnaires were distributed and 1,500 were returned, with the response rate of 83.3%. The results showed no significant difference the SBS prevalence rate between the study and the comparison groups (the prevalence rate of the study (95%CI) was 25.82 (22.92-28.71) versus 26.31 (22.64-29.97). The most frequency symptoms were eye (prevalence rate (95% CI) = 17.94 (15.42-20.45). Multivariable analysis showed that factors which were significantly associated with SBS were the total amount of dust in the building more than 0.1 mg/qb.m. (OR (95%CI) = 1.62 (1.24-2.11) working day per week more than 5 day (OR (95%CI) = 1.48 (1.14-1.93)), using printer (OR (95%CI) = 1.54 (1.18-2.01)), complaint about bad ventilation (OR (95% CI) = 1.46 (1.13-1.87)), dirty (OR (95%CI) = 2.09 (1.55-2.81)), noise (OR (95%CI) = 1.34 (1.01-1.79)). In conclusion, the study did not reveal the association between the inadequate ventilation and SBS in the hoapitals in central Thailand. However, the SBS prevalence rate of 25-26 percent almost reaches the problematic level of 30% which was proposed by the WHO. Attention shuld therefore be paid to minimize this problem beforehand. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | อาชีวเวชศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7850 |
ISBN: | 9745325996 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Med - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
nuttapong.pdf | 1.26 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.