Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78513
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอัญญพร บุญมหิตทธิสุทธิ์-
dc.contributor.advisorสุภโชค ตันพิชัย-
dc.contributor.authorชนติรัตน์ บูรณพันธ์พงศ์-
dc.contributor.authorชลันธร ภัทรเดชากุล-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์-
dc.date.accessioned2022-05-02T09:22:18Z-
dc.date.available2022-05-02T09:22:18Z-
dc.date.issued2563-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78513-
dc.descriptionโครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต ภาควิชาวัสดุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2563en_US
dc.description.abstractงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ การเตรียมสารเคลือบผสมระหว่างสารไขจากใบกล้วยและไคโตซาน โดยสารไขเตรียมได้จากการสกัดใบกล้วยน้ำว้าด้วยเฮกเซนและเอทานอล จากนั้นนำไปผสมกับสารละลายไคโตซานในน้ำส้มสายชูที่มีความเข้มข้นของกรดอะซิติกร้อยละ 5 ที่อัตราส่วนต่าง ๆ ของสารไขและไคโตซานที่ 1/9, 3/7, 5/5 และ 7/3 ตามลำดับ หลังจากนั้นนำสารเคลือบผสมที่เตรียมได้ถูกนำไปเคลือบลงบนกระดาษเกรดอาหารด้วยแท่งเคลือบ และนำไปทดสอบการวัดสี ความทนแรงดึงก่อนและหลังแช่น้ำ การดูดซึมน้ำ และมุมสัมผัสของน้ำ จากผลการทดสอบ พบว่า การเคลือบสารเคลือบผสมระหว่างสารไขจากใบกล้วยและไคโตซาน ทำให้กระดาษมีค่าดัชนีความเหลืองมากขึ้น และดัชนีความขาวลดลง เนื่องจากความเหลืองของสารเคลือบผสม นอกจากนี้พบว่ากระดาษที่ทำการเคลือบด้วยสารเคลือบผสมมีสมบัติในการต้านทานการดูดซึมน้ำมุมสัมผัสของน้ำ และความทนแรงดึงหลังแช่น้ำสูงกว่ากระดาษที่ไม่ทำการเคลือบ เนื่องจากความไม่ชอบน้ำและการเกิดฟิล์มของไคโตซานและสารไขที่ไปปกปิดรูของกระดาษทำให้น้ำซึมผ่านได้ลดลง โดยการเคลือบที่อัตราส่วน 7/3 เป็นอัตราส่วนที่ดีที่สุดซึ่งสามารถต้านทานการดูดซึมน้ำสูงกว่า 2.81 เท่า และมีผลต่างมุมสัมผัสของน้ำต่ำกว่า 5.03 เท่า ขณะที่การเคลือบที่อัตราส่วน 5/5 เป็นอัตราส่วนที่มีความทนแรงดึงหลังแช่น้ำดีที่สุด โดยมีค่ากว่า 1.97 เท่า เมื่อเทียบกับกระดาษที่ไม่ทำการเคลือบen_US
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this research was to prepare a mixed coating from extracted banana leaf wax and chitosan. The wax was prepared via extraction of banana leaves with hexane and ethanol. Then, the extracted banana leaf wax was mixed with a solution of chitosan in vinegar with a concentration of 5% acetic acid in various ratios of wax and chitosan (1/9, 3/7, 5/5 and 7/3). The prepared mixed solution was coated on food grade paper with a coating rod. The color measurement, tensile strength before and after immersion, water absorption, and water contact angle of the coated paper were investigated. The results indicated that the mixed banana leaf wax and chitosan coating increased the yellowness of coated paper while the whiteness of coated paper decreased due to the yellowness of the mixed suspension. In addition, the coated paper had better properties than the uncoated paper including water absorption, water contact angle, and tensile strength after immersion due to hydrophobicity caused by film formation of chitosan with banana leaf wax on paper. The 7/3 ratio coating was the optimum ratio which provided the coated paper with 2.81 times lower water absorption and 5.03 times higher water contact angle in comparison with those of uncoated paper while the 5/5 ratio coating had the maximum tensile strength after immersion with 1.97 times higher than that of uncoated paper.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectบรรจุภัณฑ์กระดาษ
dc.subjectสารเคลือบ
dc.subjectPaper containers
dc.subjectCoatings
dc.titleการปรับปรุงสมบัติบรรจุภัณฑ์กระดาษด้วยกระบวนการเคลือบสารไขจากใบกล้วยและไคโตซานen_US
dc.title.alternativeImproving properties of paper packaging by coating with banana leaf wax and chitosanen_US
dc.typeSenior Projecten_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
63-SP-MATSCI-001 - 6033216423.pdf37.48 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.