Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78516
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorจิตรตรา เพียภูเขียว-
dc.contributor.advisorชนิตา ปาลิยะวุฒิ-
dc.contributor.authorสุชาดา ทับเจริญ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์-
dc.date.accessioned2022-05-02T09:23:49Z-
dc.date.available2022-05-02T09:23:49Z-
dc.date.issued2563-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78516-
dc.descriptionโครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2563en_US
dc.description.abstractเห็ดนางนวลสีชมพู (Pleurotus djamor (Rumph. ex Fr.) Boedijn) เป็นเห็ดทางเศรษฐกิจที่สามารถนำมารับประทานได้ อุดมไปด้วยคุณค่าทางโภชนาการและสรรพคุณทางยา อย่างไรก็ตาม การเจริญเติบโตของดอกและประสิทธิภาพในการให้ผลผลิตของเห็ดชนิดนี้ต่ำกว่า Pleurotus ชนิดอื่นมาก ยิ่งไปกว่านั้น เนื้อผิวในธรรมชาติยังมีสีฉูดฉาดจึงไม่เป็นที่นิยมในการรับประทาน ดังนั้นการศึกษาครั้งนี้มุ่งเน้นที่จะปรับปรุงผลผลิตของเห็ด P. djamor ด้วยเทคนิคแบบ โมโน-โมโน ไฮบริไดเซชัน 13 โมโนคาริออนจากสายพันธุ์พ่อแม่ ได้แก่ สายพันธุ์ BK และ CM ถูกนำมาผสมแบบพบกันหมด สายพันธุ์ลูกผสมทั้งหมดที่ได้ถูกเพาะเลี้ยงเพื่อประเมินอัตราการเจริญเติบโตของเส้นใยบนอาหารวุ้นมันฝรั่ง (PDA) และในวัสดุเพาะขี้เลื่อย เปรียบเทียบกับสายพันธุ์พ่อแม่ ในการศึกษาครั้งนี้ได้สายพันธุ์ลูกผสมสองสายพันธุ์ ได้แก่ NS1 และ NS2 โดยสายพันธุ์ลูกผสม NS1 ให้อัตราการเจริญเติบโตของเส้นใยสูงกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่บน PDA เท่ากับ 1.40±0.02 เซนติเมตรต่อวัน และบนวัสดุเพาะขี้เลื่อยเท่ากับ 1.07±0.04 เซนติเมตรต่อวัน ตามลำดับ เมื่อเทียบกับสายพันธุ์พ่อแม่ ได้แก่ สายพันธุ์ BK และ CM ผลที่ได้จากการศึกษานี้บ่งชี้ว่าสายพันธุ์ NS1 ที่ได้จากการผสมพันธุ์ด้วยเทคนิคแบบไฮบริไดเซชัน อาจเป็นสายพันธุ์ที่มีศักยภาพในการผลิตเห็ด P. djamor ทางเศรษฐกิจต่อไปen_US
dc.description.abstractalternativeThe pink oyster mushroom (Pleurotus djamor (Rumph. Ex Fr.) Boedijn) is an economic edible mushroom with high nutrition and medicinal properties. However, the fruiting body formation and yield efficiency on this mushroom is very low than other Pleurotus species. Moreover, its leathery texture in nature and flashy colors it was not popular in edibility. Therefore this study aimed to improve yield of P. djamor using mono-mono hybridization. Thirteen monokaryon cultures of the parental strains, BK and CM, were crossed in all combinations. All obtained hybrid strains were cultured to evaluate their mycelial growth rate on Potato Dextrose Agar (PDA) and in sawdust substrate comparing with the parental strains. Two hybrid strains, NS1 and NS2, were obtained from this study. The hybrid strain NS1 gave significantly the highest mycelial growth rate of 1.40± 0.02 cm/day on PDA and 1.07± 0.04 cm/day on sawdust substrate, respectively over the parent strains, BK and CM. The results from this study indicated that the strain NS1 from the hybridization technique could be a potential strain for further economic mushroom production of P. djamoren_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectเห็ดนางนวล
dc.subjectการเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร
dc.subjectAgricultural productivity
dc.titleการปรับปรุงพันธุ์เห็ดนางนวลสีชมพู (Pleurotus djamor (Rumph. ex Fr.) Boedijn) ด้วยเทคนิคไฮบริไดเซชันen_US
dc.title.alternativeStrain improvement of pink oyster mushroom (Pleurotus djamor (Rumph. ex Fr.) Boedijn) using hybridization techniqueen_US
dc.typeSenior Projecten_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
63-SP-GENE-023 - Suchada Thapjaroen.pdf27.41 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.