Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78533
Title: การเตรียมตัวดูดซับของแข็ง K₂CO₃/Al₂O₃ ที่ปรับปรุงด้วยสารละลายเอมีน
Other Titles: Preparation of K₂CO₃/Al₂O₃ Solid Sorbent Modified with Amine Solution
Authors: พัชรพล นกโพธิ์
ภาณุศร กลึงสุวรรณชัย
Advisors: เบญจพล เฉลิมสินสุวรรณ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Subjects: เอมีน
คาร์บอนไดออกไซด์ -- การดูดซึมและการดูดซับ
Amines
Carbon dioxide -- Absorption and adsorption
Issue Date: 2562
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การปรับปรุงวิธีการเตรียมตัวดูดซับมีจุดมุ่งหมายเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดักจับแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ในระบบฟลูอิไดซ์เบด การปรับปรุงวิธีการเตรียมตัวดูดซับในงานวิจัยนี้ทำได้โดยการเติมสารละลายเอมีนลงไปผสมกับตัวดูดซับในขั้นตอนการเตรียมเนื่องจากเอมีนอาจสามารถปรับสภาพพื้นผิวของตัวดูดซับได้ โดยจะศึกษาผลของเอมีน 2 ชนิด ได้แก่ เอทาโนลามีน (MEA) และ เมทิลไดเอทาโนลามีน (MDEA) ซึ่งแต่ละชนิดศึกษาทั้งหมด 2 ความเข้มข้น ได้แก่ 15% และ 35% โดยมวล นอกจากนี้ ยังศึกษาผลของอุณหภูมิของการอบตัวดูดซับที่ใช้ในขั้นตอนการเตรียม และผลของระยะเวลาที่ใช้ในการกวนสารที่มีต่อประสิทธิภาพในการดักจับแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ สำหรับการศึกษาผลของอุณหภูมิที่ใช้ขั้นตอนการเตรียมแบ่งออกเป็น 2 อุณหภูมิได้แก่ การใช้อุณหภูมิในการรอบ 105 และ 145 องศาเซลเซียส และระยะเวลาที่ใช้ในการกวนสาร ได้แก่ 24 ชั่วโมง และ 5 ชั่วโมง กระบวนการดูดซับในระบบฟลูอิไดซ์เบดถูกทดลองภายใต้ภาวะการทดลองดังนี้ อุณหภูมิคอลัมน์ และอุณหภูมิไอน้ำ เท่ากับ 60 และ 100 องศาเซลเซียส ตามลำดับ ผลที่ได้จากการทดลองสามารถวิเคราะห์ได้จากระยะเวลาที่แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์เดินทางไปถึงเซนเซอร์วัดความเข้มข้นของแก๊ส และประสิทธิภาพการดักจับแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์จากรูปแบบความเข้มข้นของแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ จากผลการทดลองพบว่าตัวดูดซับที่มีการปรับปรุงโดยใช้สารละลายเอมีนมีประสิทธิภาพการดักจับแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์สูงกว่าตัวดูดกว่าตัวดูดที่ไม่มีการเติมสารละลายเอมีน ตัวดูดซับที่มีประสิทธิภาพการดักจับแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์สูงสุดคือตัวดูดซับที่มีการปรับปรุงโดยใช้เอมีนชนิดเมทิลไดเอทาโนลามีนความเข้มข้นร้อยละ 35 โดยมวล ใช้อุณหภูมิในการอบที่ 145 องศาเซลเซียส และระยะเวลาที่ใช้ในการกวนสาร 24 ชั่วโมง ซึ่งมีประสิทธิภาพการดักจับแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ 76.45 มิลลิกรัมของคาร์บอนไดออกไซด์ต่อหนึ่งกรัมของตัวดูดซับ
Other Abstract: The improvement of the adsorption preparation method aims to increase the efficiency of carbon dioxide capture in the fluidized bed system. The improvement of the adsorption method in this research is done by adding amine solution to the adsorbent in the preparation process because amines may be able to adjust the surface area of the adsorbent. This research studies the effects of two types of amines, which are ethanolamine (MEA) and methyl diethanolamine (MDEA) using the concentrations at 15 and 35 percent by weight. In addition, the drying temperature in the preparation process at 105 and 145 degree Celsius and the duration of stirring at 24 hours and 5 hours are investigated. The adsorption process in the fluidized bed system is tested under the following conditions, column temperature and steam temperature at 60 and 100 degrees Celsius, respectively. The results of the experiment can be analyzed from the time of carbon dioxide gas moves to the gas concentration sensor. According to the results, adsorbents that are improved using amine solution are more effective than adsorbents that are not improved by amine solution. The adsorbent with the highest carbon dioxide capture capacity is the adsorbent that is improved by methyl diethanolamine using amine concentration 35 percent by weight, drying temperature at 145 degrees Celsius and 24 hours of stirring time, which has the efficiency of carbon dioxide capture 76.45 mg of carbon dioxide per gram of adsorbent.
Description: โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเคมีเทคนิค. คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2562
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78533
Type: Senior Project
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
62-SP-CHEMENG-029 - Pacharapol Nokpho.pdf1.4 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.