Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78547
Title: สัณฐานวิทยาและลักษณะทางโมเลกุลของทากบกสปีชีส์ Valiguna siamensis (Martens, 1867) ในประเทศไทย (Systellommatophora: Veronicellidae)
Other Titles: Morphological and molecular characteristics of land slug Valiguna siamensis (Martens, 1867) in Thailand (Systellommatophora: Veronicellidae)
Authors: บวรลักษณ์ มิตรเชื้อชาติ
Advisors: ปิโยรส ทองเกิด
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Subjects: ทาก -- สัณฐานวิทยา
ทาก -- แง่โมเลกุล
Leeches -- Morphology
Leeches -- Molecular aspects
Issue Date: 2562
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ทากบกสปีชีส์ Valiguna siamensis (Martens, 1867) อยู่ในวงศ์ Veronicellidae มีลักษณะลำตัวแบนคล้ายใบไม้ มีชื่อสามัญว่า leatherleaf slug บริโภคพืชหรือเศษซากพืชเป็นอาหาร พบกระจายอยู่ทั่วทุกภาคของประเทศไทย ทากบกสปีชีส์นี้ได้ถูกบันทึกข้อมูลเป็นครั้งแรกโดยใช้ชื่อสปีชีส์ Vaginulus siamensis (Martens, 1867) ต่อมามีการศึกษาสัณฐานวิทยาระบบสืบพันธุ์เพศผู้เป็นลักษณะสำคัญ และพบว่าทากบก สปีชีส์นี้ควรย้ายไปอยู่ในสกุล Valiguna เนื่องจากมีลักษณะของเพนีส (penis) แตกต่างจากสกุลอื่น ๆ การศึกษาในครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ศึกษาจากตัวอย่างที่เก็บได้จากภาคสนามและตัวอย่างจากพิพิธภัณฑสถานธรรมชาติวิทยาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยศึกษาลักษณะสัณฐานวิทยาภายนอก ได้แก่ สี ความเข้มจางของสี ลวดลายบนตัว ความยาวและความกว้างของลำตัว ความกว้างของแผ่นเท้า (foot) และลักษณะสัณฐานวิทยาภายใน ซึ่งได้แก่ ลักษณะของอวัยวะสืบพันธุ์เพศผู้โดยเฉพาะลักษณะของเพนีส เพื่อนำมาใช้ในการจำแนกทากบก และเปรียบเทียบกับศึกษาลักษณะทางโมเลกุล (DNA barcode) โดยศึกษาลำดับนิวคลีโอไทด์ของยีน cytochrome c oxidase subunit 1 (CO I) ขนาด ~700 คู่เบส ว่าลักษณะทางสัณฐานวิทยาที่ใช้ในการจัดจำแนกนั้นเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับข้อมูลทางโมเลกุล ทำการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้โดยเปรียบเทียบลำดับ นิวคลีโอไทด์ของสปีชีส์ Val. siamensis ที่จัดจำแนกได้โดยลักษณะของเพนีส กับลำดับนิวคลีโอไทด์ของ ทากบกสปีชีส์อื่น และสกุลอื่นในวงศ์เดียวกันจากฐานข้อมูล NCBI (GenBank) และคำนวณระยะห่างทางพันธุกรรม (genetic distance) โดยโปรแกรม MEGA X v10.1.7 (Kumar, S. et al., 2018) เพื่อให้ได้เปอร์เซ็นต์ความแตกต่างระหว่างสปีชีส์ และระหว่างสกุลภายในวงศ์เดียวกัน รวมไปถึงเปอร์เซ็นต์ความต่างระหว่างประชากรภายในสปีชีส์ ผลการศึกษาพบว่า ลักษณะสัณฐานวิทยาภายนอกไม่สามารถนำมาจัดจำแนกได้ แต่ลักษณะของเพนีสและข้อมูลทางโมเลกุลนั้นเป็นไปในทิศทางเดียวกัน และสามารถจัดจำแนกตัวอย่างทากบกในประเทศไทยจากที่ได้ศึกษาตัวอย่างที่มีอยู่ ได้เป็น 2 สปีชีส์ ได้แก่ S. tailandensis และ Val. siamensis ข้อมูลเหล่านี้สามารถนำมาใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานสำคัญในการจัดจำแนกทากบกในวงศ์นี้ต่อไปในอนาคตได้
Other Abstract: Land slug, Valiguna siamensis (Martens, 1867) is classified into the family Veronicellidae. They have flat body, leaf-liked shape and also known as leatherleaf slug which is their common name. Their diets are plants or leaf litter. They can be found commonly in various habitats all over Thailand. This species was first described as a name Vaginulus siamensis in 1867 by Martens which was considered by only the external morphologies. Later, the male genitalia morphological characters of this species were examined by focusing especially on the penis characteristics and found that they are totally different from the species in the other genera. In this study, we explored the specimens from our fieldworks and Chulalongkorn University Museum of Natural History collections. All external morphological characters; coloration, color intensity, spotted pattern, body length, body width, foot width and the internal morphological characters especially the penis characteristics were observed. The slug morphological analyses were compared with molecular characteristic (DNA barcode) using cytochrome c oxidase subunit 1 (CO I) gene (~700 bp). All classified from penis characteristic specimens of Val. siamensis CO I sequences were analyzed and collated with other veronicellids sequences from GenBank. Genetic distances in the generic and interspecific levels, including the genetic differentiation within species were calculated using MEGA X v10.1.7 program. The results showed that the external morphologies could not be used to classify the leatherleaf slugs. However, the penis characteristics concordant with molecular data can be the precise way to identify Thai leatherleaf slug specimens into 2 species, S. tailandensis and Val. siamensis. All of these data we discovered will be the basic knowledge for slugs in family Veronicellidae in the future.
Description: โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสัตววิทยา. คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2562
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78547
Type: Senior Project
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
62-SP-ZOO-036 - Bowornluk Mitchueachart.pdf1.31 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.