Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78570
Title: สารที่มีฤทธิ์ยับยั้งการสร้างเม็ดสีเมลานินจากมะหาด
Other Titles: Anti-melanogenic compounds from Artocarpus lacucha
Authors: พิมพ์ชนก ปัญญาไชยพัฒน์
Advisors: ขนิษฐา พุดหอม
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Subjects: เมลานิน
มะหาด (พืช)
Melanins
Artocarpus lakoocha
Issue Date: 2563
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ปัจจุบันทั่วโลกกำลังประสบกับปัญหาภาวะโลกร้อน ทำลายชั้นโอนโซนทำให้มีรูในชั้นโอโซนโดยชั้นโอโซนจะช่วยป้องกันรังสีอัลตราไวโลเลตที่จะก่อให้เกิดผลกระทบต่อผิวหนัง และรังสียูวียังเข้าทำลาย DNA ของเซลล์ผิวหนังได้โดยตรง ซึ่งอาจเป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดมะเร็งผิวหนังได้ งานวิจัยนี้สนใจศึกษาหาสารที่มีฤทธิ์ยับยั้งการสร้างเม็ดสีเมลานินในเซลล์ผิวหนัง B16 melanoma จากแก่นมะหาด (Artocarpus lacucha) ซึ่งมีรายงานว่ามีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ไทโรสิเนส และฤทธิ์ยับยั้งการสร้างเม็ดสีในเซลล์ B16 อย่างไรก็ตามการศึกษาส่วนใหญ่เป็นฤทธิ์ของสารสกัดหยาบและสารองค์ประกอบหลัก oxyresveratrol ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงเน้นแยกสารบริสุทธิ์จากสารสกัดแก่นมะหาดและทดสอบฤทธิ์ยับยั้งการสร้างเม็ดสีเมลานินในเซลล์ B16 ซึ่งจากการนำส่วนสกัดเมทานอลของสารสกัดแก่นมะหาดมาแยกสารให้บริสุทธิ์ด้วยเทคนิคคอลัมน์โครมาโทกราฟี และวิเคราะห์โครงสร้างด้วยเทคนิค NMR spectroscopy ทำให้ได้สารบริสุทธิ์ 3 ชนิดได้แก่ 5,5’-(1Z)-1,2-ethenediylbis[1,3-benzenediol](ACI), dihydroxyresveratrol และ resveratrol และเมื่อนำสารทั้ง 3 ชนิดมาทดสอบฤทธิ์ยับยั้งการสร้างเม็ดสีเมลานินในเซลล์ B16 โดยมี arbutin เป็นสารควบคุมพบว่า 5,5’-(1Z)-1,2-ethenediylbis[1,3-benzenediol] (2C), dihydroxyresveratrol (2F) และ resveratrol (2G) ให้ปริมาณเมลานินที่ถูกผลิต (% melanin production) เท่ากับ 75.52%, 84.20% และ 47.08% ตามลำดับ ที่ความเข้มข้น 10 µM และ 55.10%, 19.16% และ 24.17% ตามลำดับ ที่ความเข้มข้น 50 µM ซึ่งจะเห็นได้ว่า resveratrol (2G) สามารถยับยั้งการผลิตเม็ดสีเมลานินได้ดีที่สุด โดยมีค่าการยับยั้งมากกว่า 80% ที่ความเข้มข้น 50 µM นอกจากนี้ยังพบว่าสารทั้ง 3 ชนิด ไม่เป็นพิษต่อเซลล์ B16 ที่ความเข้มข้นสูงสุดที่ทดสอบ 50 M สารเหล่านี้จึงอาจนำไปพัฒนาต่อยอดเพื่อใช้เป็นยาหรือเครื่องสำอางที่ออกฤทธิ์ในการยับยั้งเม็ดสีเมลานินได้
Other Abstract: Nowadays, global warming has emerged as one of the biggest environmental challenges facing the world. As a result, the ozone layer was destroyed which produced ozone holes. The ozone layer protects the harmful ultraviolet(UV) rays which affect our skin that probably leads to skin cancer as DNA in skin cells is directly damaged by UV rays. This research aimed to investigate anti-melanogenic compounds in B16 melanoma cells from Artocarpus lacucha heartwood, which was reported to possess anti-oxidant, anti-tyrosinase and antimelanogenesis in B16 melanoma cells. However, only bioactivity of crude extractions and major compounds, oxyresveratrol, were reported. Therefore, this study focuses on isolation and characterization of pure compounds from Artocarpus lacucha extracts and evaluation of their anti-melanogenic activity in B16 cells. Methanol crude extract of A. lacucha was subjected to column chromatography to obtain three pure compounds, 5,5′-(1Z)-1,2- ethenediylbis[1,3-benzenediol] (ACI), dihydroxyresveratrol and resveratrol. Their structures were elucidated by NMR data analysis. All compounds were tested for their anti-melanogenic activity in B16 cells and arbutin was used as positive control. Results showed that 5,5′-(1Z)- 1,2-ethenediylbis[1,3-benzenediol] (2C), dihydroxyresveratrol (2F) and resveratrol (2G) provided the melanin production of 75.52%, 84.20% and 47.08% respectively, at 10 μM, as well as 55.10%, 19.16% and 24.17% respectively, at 50 μM. Among compounds tested,resveratrol (2G) was the most potent activity with % melanin inhibition > 80% at 50 μM. In addition, all three compounds did not show any significant toxicity against B16 cells though at the highest concentration tested (50 μM). The results supported that these compounds might be developed to use as as medicinal drugs or cosmetics with antimelanogenic activity.
Description: โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2563
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78570
Type: Senior Project
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
63-SP-CHEM-027 - Pimchanok Panyachaiyaphat.pdf25.18 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.