Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78586
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorเจษฎ์ เกษตระทัต-
dc.contributor.authorศิริรัตน์ สาธร-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์-
dc.date.accessioned2022-05-12T03:29:57Z-
dc.date.available2022-05-12T03:29:57Z-
dc.date.issued2562-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78586-
dc.descriptionโครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2562en_US
dc.description.abstractปลา Poecilia mexicana เป็นปลาต่างถิ่นพบการกระจายตัวได้ทั่วไป ทั้งในน้ำจืด น้ำกร่อย และน้ำทะเล ในการศึกษาเบื้องต้นพบว่าปลาชนิดนี้สามารถอาศัยในบริเวณที่มีความเค็มสูงและในแหล่งน้ำเน่าเสียได้ ทั้งนี้ในการปรับตัวของปลาต่อการเปลี่ยนแปลงของความเค็มนั้นปลาจะใช้อวัยวะสำคัญคือเหงือกและไตในการปรับเปลี่ยนความเข้มข้นของโซเดียมและคลอไรด์ไอออนในตัว ซึ่งการศึกษาในครั้งนี้มุ่งเน้นศึกษาการเปลี่ยนแปลงของจำนวนเซลล์คลอไรด์ในเหงือกต่อความเค็มที่แตกต่างกันที่พบในปลาชนิดนี้ โดยทำการเก็บปลาจากบริเวณลำคลอง สุขสวัสดิ์ 84 ตำบลในคลองบางปลากด อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการทำการเลี้ยงในระดับความเค็มต่างๆกันโดยที่น้ำมาปรับสภาพในน้ำจืดเป็นระยะเวลา 2 สัปดาห์ก่อนทำการทดลอง ปลาชนิดนี้จะถูกปรับความเค็มขึ้นในแต่ละระดับความเค็ม ได้แก่ 0,10,20,30,40,50 ppt เพื่อเปรียบเทียบจำนวนเซลล์คลอไรด์ที่นับได้ในแต่ละความเค็มและความแตกต่างระหว่างเพศที่ความเค็ม 0,10,30 ppt การศึกษาเนื้อเยื่อของเหงือกปลาโดยใช้กล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสง ผลการศึกษาพบว่าปลาในน้ำจืดมีจำนวนเซลล์คลอไรด์บน primary lamella น้อยกว่าปลาในน้ำที่เค็มกว่า ซึ่งจะพบว่ามีจำนวนเซลล์คลอไรด์มากขึ้นเมื่อความเค็มเพิ่มขึ้น และไม่พบความแตกต่างของจำนวนเซลล์คลอไรด์ระหว่างเพศ ในการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าเหงือกเป็นอวัยวะแรกที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงความเค็ม ซึ่งหน้าที่การขับโซเดียมและคลอไรด์ไอออนส่วนเกินของปลาในน้ำเค็มนั้นอยู่ที่เซลล์คลอไรด์บริเวณเหงือก เซลล์ซึ่งมีโครงสร้างพิเศษนี้ใช้กระบวนการทางระดับเซลล์และโมเลกุลในการปรับสมดุลของไอออนแร่ธาตุจึงมีบทบาทสำคัญในการขับเกลือให้อยู่ในระดับทีเหมาะในการดำรงชีวิตen_US
dc.description.abstractalternativePoecilia mexicana is an alien species fish distributing generally in freshwater, brackish and salt water. In the preliminary study found high ability of adaptation in this kind of fish especially in high salinity area and polluted water resources. In order to adapt in the extreme salinity change fish use two vital organs gills and kidneys to maintain homeostasis of Sodium and Chloride ion in the body.The purpose of this study mainly focus on the change in number of Chloride cells in different salinity of this fish species. The fishes were collected from swamp at Suksawad 84 Naiklongbangplakod Prasamuthjedi district Samutprakarn province. Poecilia mexicana were acclimated in fresh water for two weeks. Fishes were transferred gradually to salinities of 0,10,20,30,40,50 ppt in order to compare Chloride cell number in each salinity and the gender difference at the salinity level 0, 10,30 ppt. During the histological examination of gill structure were studied by Compound Light Microscopy (LM). The result showed fish in freshwater samples had less chloride cell on primary lamella while fish in salt water chloride cell tended to increase in their number as the salinity increased and there was no significant difference in chloride cell amount between sexes. This study showed that the gill was the primary target organ for acute effects in salinity change. The secretion of excess sodium and chloride by fishes in seawater is carried out by gill chloride cells. These highly specialized cells use cellular and molecular approaches to fish ionic regulation playing a central role in the salt-secretory function of chloride cells.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectปลา -- พัฒนาการen_US
dc.subjectปลา -- การปรับตัวen_US
dc.subjectFishes -- Developmenten_US
dc.subjectFishes -- Adaptationen_US
dc.titleผลของระดับความเค็มที่แตกต่างต่อพัฒนาการเหงือกและเซลล์คลอไรด์ของปลา Poecilia mexicana Steindachner, 1863 ในจังหวัดสมุทรปราการ ประเทศไทยen_US
dc.title.alternativeEffects of different salinity levels on the gill and the chloride cell of Poecilia mexicana Steindachner, 1863 in Samut Prakan Province, Thailanden_US
dc.typeSenior Projecten_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
62-SP-MARINE-001 - Sirirat Sathorn.pdf1.55 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.