Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78607
Title: การศึกษาเมตาจีโนม และชนิดของแบคทีเรียที่เกี่ยวข้องกับปริมาณ Docosahexaenoic acid ในผลิตภัณฑ์กะปิพื้นบ้านของไทย
Other Titles: Metagenome and types of bacteria involved quantity of Docosahexaenoic acid in Thai shrimp paste (Kapi) production
Authors: ณิชาภัทร วิเศษชลธาร
Advisors: ชมภูนุช กลิ่นวงษ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Subjects: กรดไขมันไม่อิ่มตัว
กะปิ
Unsaturated fatty acids
Shrimp paste
Issue Date: 2562
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: Docosahexaenoic acid (DHA) เป็นกรดไขมันไม่อิ่มตัวโอเมก้า3 ที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพของมนุษย์ กะปิเป็นเครื่องปรุงรสอาหารพื้นบ้านของไทยที่มีสัดส่วนของกรดไขมันนี้อยู่เช่นกัน สารอาหารในกะปิจะขึ้นอยู่กับกระบวนการหมักที่รับอิทธิพลจากวัตถุดิบและกิจกรรมของจุลินทรีย์ที่แตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่ การศึกษานี้มีเป้าหมายเพื่อวิเคราะห์ความเกี่ยวข้องของชนิดของจุลินทรีย์ที่มีความสัมพันธ์กับกรดไขมันไม่อิ่มตัวในกะปิ จากกะปิ 7 ตัวอย่างใน 3 จังหวัดของประเทศไทย ได้แก่ สมุทรสงคราม ชลบุรี และสงขลา ทำการวิเคราะห์สัดส่วนของกรดไขมันในตัวอย่างกะปิทำด้วยวิธีมาตรฐานของ Association of Official Analytical Chemists (AOAC) จากนั้นทำการศึกษาชนิดของแบคทีเรียด้วยวิธีทางเมตาจีโนม และคัดแยกแบคทีเรียด้วยวิธีทางจุลชีววิทยาร่วมกับการวิเคราะห์หาลำดับนิวคลีโอไทด์ของ 16S rDNA ผลการศึกษาพบว่า ตัวอย่างกะปิศรีราชา จังหวัดชลบุรี (SR2) มีปริมาณ DHA มากที่สุด คือ 8.32155% จากปริมาณกรดไขมันทั้งหมด การศึกษาชนิดของแบคทีเรียด้วยวิธีทางเมตาจีโนมในตัวอย่าง SR2 พบแบคทีเรียที่ปริมาณมากที่สุดคือแบคทีเรียสกุล Lentibacillus sp. ที่ค่าความถี่สัมพัทธ์ของชนิดแบคทีเรียในการวิเคราะห์เมตาจีโนมมากกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ และพบแบคทีเรียที่มีความเกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์กรดไขมันไม่อิ่มตัว ได้แก่ Lactobacillus spp. , Lachnospiraceae spp. และ Bacteodidetes spp. ในขณะเดียวกันผลการศึกษาในส่วนของการแยกเชื้อด้วยวิธีทางจุลชีววิทยาร่วมกับการวิเคราะห์หาลำดับนิวคลีโอไทด์ของ 16S rDNA ของแบคทีเรีย พบว่ามีแบคทีเรีย 5 สายพันธุ์ที่มีความสามารถในการผลิตกรดไขมันไม่อิ่มตัวซึ่งอยู่ในสกุล Bacillus
Other Abstract: Docosahexaenoic acid (DHA) are omega 3 polyunsaturated fatty acids (n-3 PUFAs), which provide significant health benefits for human. Shrimp pastes are a good supplied of PUFAs source. Shrimp paste (Kapi) is a traditional Thai fermented food seasoning that is found in high proportions of PUFAs. The proportion of nutrients in shrimp paste samples is diverse and depends on the fermentation process, influenced by raw materials and microbial activities. This objective is to identify marine bacteria associated with PUFAs in shrimp paste from 7 samples in three parts of Thailand: Samut Songkhram province, Chonburi province, and Songkhla province. Fatty acid profile analysis in shrimp paste was performed with the Association of Official Analytical Chemists (AOAC) standard method and then identify bacteria by using metagenome and conventional bacteria isolation and identification by 16SrDNA sequence. From the result, it was found that Sriracha shrimp paste (SR2 from Chonburi province) has the highest DHA content, which is 8.32155 percent per total fatty acid content. The DNA metagenome analysis of SR2 showed the mainly dominant bacteria is Lentibacillus sp. with a relative frequency of metagenomics analysis of bacterial species at more than 90 percent. Bacteria associated with PUFAs such as Lactobacillus spp., Lachnospiraceae spp. and Bacteodidetes spp. whereas analysis of 16S rDNA identify marine bacteria which PUFA-producing represent 5 species of the genus Bacillus.
Description: โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพันธุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2562
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78607
Type: Senior Project
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
62-SP-GENE-009 - Nichaphat Wisetchonlathan.pdf2.72 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.