Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78614
Title: การสังเคราะห์ตัวเร่งปฏิกิริยานิกเกิลบนตัวรองรับซิลิกาเจลแบบมีรูพรุน สำหรับไฮโดรจิเนชันบางส่วนของไบโอดีเซล
Other Titles: Synthesis of porous silica gel supported nickel catalysts for partial hydrogenation of biodiesel
Authors: ประภวิษณุ์ บุญเชื้อ
Advisors: วิภาค อนุตรศักดา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Subjects: ตัวเร่งปฏิกิริยานิกเกิล
ซิลิกาเจล
Nickel catalysts
Silica gel
Issue Date: 2563
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ในการศึกษานี้ตัวเร่งปฏิกิริยานิกเกิลบนวัสดุรองรับซิลิกาที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางของรูพรุน 3 นาโนเมตร และ 6 นาโนเมตร ถูกสังเคราะห์สำเร็จผ่านวิธี incipient wetness impregnation ทั้งนี้ได้มีการเติมกรดซิตริก และซีเรียมไนเตรตระหว่างการสังเคราะห์ตัวเร่งปฏิกิริยาเพื่อทำความเข้าใจว่าสารเหล่านี้มีอิทธิพลต่อสมบัติของตัวเร่งปฏิกิริยาอย่างไร ตัวเร่งปฏิกิริยาที่ถูกสังเคราะห์ถูกนำไปพิสูจน์เอกลักษณ์โดยใช้เทคนิคการวัดการดูดซับด้วยแก๊สคาร์บินมอนออกไซด์, เทคนิคเอ็กซเรย์ดิฟแฟรกชัน และเทคนิคการดูดซับและการคายซับด้วยแก๊สไนโตรเจน ผลการพิสูจน์เอกลักษณ์พบว่า การเติมกรดซิตริกและซีเรียมไนเตรตในระหว่างการเตรียมตัวเร่งปฏิกิริยาช่วยเพิ่มการกระจายตัวของนิกเกิลบนวัสดุรองรัลและทำให้นิกเกิลถูกรีดิวซ์ได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้ตัวเร่งปฏิกิริยาที่ถูกสังเคราะห์ยังคงมีรูพรุนแบบเมโซพอรัส ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการเติมนิกเกิล, กรดซิตริก และ ซีเรียมไนเตรตไม่ได้ทำลายโครงสร้างของวัสดุรองรับ จากนั้นตัวเร่งปฏิกิริยาที่ถูกสังเคราะห์ ถูกทดสอบประสิทธิภาพการเร่งปฏิกิริยาผ่านไฮโดรจิเนชันบางส่วนของไบโอดีเซลโดยใช้เครื่องปฏิกรณ์ ภายใต้บรรยากาศไฮโดรเจนที่อัตราการไหลของไอโอดีเซล 0.76 มิลลิลิตรต่อนาที อุณหภูมิ 100 ± 3 องศาเซลเซียส และความดัน 4 บาร์ ผลการเร่งปฏิกิริยาแสดงให้เห็นว่า การใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาที่มีวัสดุรองรับเป็น Q6 นำไปสู่การปรับปรุงการกระจายตัวของผลิตภัณฑ์ (กรดไขมันไม่อิ่มตัวที่มีพันธุคู่ตั้งแต่ 2 ตำแหน่งขึ้นไป, กรดไขมันไม่อิ่มตัวที่มีพันธะคู่ 1 ตำแหน่ง และกรดไขมันอิ่มตัว) ในขณะที่ตัวเร่งปฏิกิริยาที่มีวัสดุรองรับเป็น Q3 ไม่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญในการกระจายตัวผลิตภัณฑ์เมื่อเทียบกับไบโอดีเซลตั้งต้น ในบรรดาตัวเร่งปฏิกิริยาที่ถูกสังเคราะห์ได้นั้น ตัวเร่งปฏิกิริยา N-Q6-C มีประสิทธิภาพในการเร่งปฏิกิริยาสูงสุดเมื่อพิจารณาจากการกระจายตัวของผลิตภัณฑ์และความเสถียรในการออกซิเดชันของไบโอดีเซลที่ได้รับ ซึ่งอาจมีสาเหตุหลักมาจากสมบัติของพื้นผิวและขนาดของนิกเกิลที่เหมาะสมของตัวเร่งปฏิกิริยา
Other Abstract: In this study, silica-supported nickel catalysts using silica pore diameters of 3 nm (Q3) and 6 nm (Q6) were successfully synthesized via incipient wetness impregnation method. The addition of citric acid and cerium nitrate during the catalyst synthesis were investigated to understand how they had an influence on catalyst properties. The synthesized catalysts were characterized using CO chemisorption, X-ray diffraction and N₂ adsorption-desorption techniques. The characterization results showed that the addition of citric acid and cerium nitrate during the catalyst preparation improved the distribution of nickel species on the supports and caused the nickel species to be reduced more easily. Furthermore, the synthesized catalysts retained their mesoporous porosity, indicating that the addition of nickel, citric acid and cerium nitrate did not destroy the skeleton structure of the supporting materials. The synthesized catalysts were then tested for their catalytic performance via partial hydrogenation of biodiesel using a fixed-bed reactor under hydrogen atmosphere at a flow rate of biodiesel of 0.76 mL/min, temperature of 100 ±3 °C and pressure of 4 bar. The catalytic results showed that the use of Q6-based catalysts led to the improvement of product distribution (polyunsaturated FAMEs, monounsaturated FAMEs and saturated FAMEs) while that of Q3-based catalysts did not have a significant change in product distribution as compared to the biodiesel feedstock. Among the synthesized catalysts, the N-Q6- C catalyst showed the highest catalytic efficiency based on the product distribution and the oxidation stability of the obtained biodiesel mainly due to its suitable textural properties and sizes of nickel active species.
Description: โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2563
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78614
Type: Senior Project
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
63-SP-CHEM-019 - Praphavis Boonchuer.pdf24.39 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.