Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78666
Title: การเหนี่ยวนำให้เกิดการกลายแบบสุ่มของยีสต์ Yarrowia lipolytica เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตไขมัน โดยรังสีอัลตราไวโอเลต
Other Titles: Randomization mutagenesis of Yarrowia lipolytica to increase lipid production by ultraviolet radiation
Authors: ปิยะพร มีศรีแก้ว
Advisors: วรวุฒิ จุฬาลักษณานุกูล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Subjects: ยีสต์
กรดไขมัน -- การสังเคราะห์
Yeast
Fatty acids -- Synthesis
Issue Date: 2562
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: Yarrowia lipolytica เป็นยีสต์ที่มีคุณสมบัติสามารถสะสมไขมันได้ภายในเซลล์ อย่างไรก็ตาม Y. lipolytica สายพันธุ์ YLNatXynA มีความสามารถในการผลิตเอนไซม์ไซลาเนส แต่พบว่ายังมีการ สะสมไขมันที่ต่ำ ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงมีจุดประสงค์เพื่อเพิ่มปริมาณการสะสมไขมันของยีสต์ Y. lipolytica สายพันธุ์ YLNatXynA โดยการเหนี่ยวนำให้เกิดการกลายด้วยรังสีอัลตราไวโอเลต เมื่อ ฉายรังสีเป็นเวลา 15 นาที พบว่ามียีสต์จำนวน 60 ไอโซเลท ที่มีอัตราการอยู่รอดในช่วงร้อยละ 5-10 จากนั้นทำการคัดเลือกยีสต์สายพันธุ์กลายบนอาหาร YPD ที่ผสม cerulenin เข้มข้น 2 ไมโครกรัมต่อ มิลลิลิตร และย้อมเซลล์ยีสต์ด้วยสี Sudan black B พบว่าไอโซเลท YLCe15_03 YLCe15_05 YLCe15_07 YLCe15_09 และ YLCe15_14 มีการสะสม oil droplet มากที่สุด ผลการวิเคราะห์ ปริมาณร้อยละไขมันที่สะสมพบว่า ยีสต์สายพันธุ์กลายไอโซเลท YLCe15_07 มีปริมาณร้อยละไขมันที่ สะสมสูงกว่าสายพันธุ์เดิม (ร้อยละ 25.53 ± 2.72 และ 20.14 ± 1.95 ตามลำดับ) แต่ไอโซเลท YLCe15_14 มีปริมาณไขมันที่สะสมร้อยละ 16.27 ± 0.79 ซึ่งน้อยกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับสายพันธุ์ เดิม และพบว่า ไอโซเลท YLCe15_03 YLCe15_05 และ YLCe15_09 มีปริมาณร้อยละไขมันสะสมไม่ แตกต่างจากสายพันธุ์เดิม เมื่อวิเคราะห์ชนิดของกรดไขมันที่ผลิตจากยีสต์สายพันธุ์กลายไอโซเล ท YLCe15_07 และ YLCe15_14 พบว่าชนิดกรดไขมันไม่มีความแตกต่างเมื่อเปรียบเทียบกับยีสต์สาย พันธุ์เดิม โดยประกอบด้วยกรดไขมันชนิดกรดปาล์มิติก กรดปาลมิโตเลอิก กรดสเตียริก กรดโอเลอิก และกรดไลโนเลอิก เมื่อวิเคราะห์ลำดับเบสของยีน Acetyl Co-A Carboxylase1 ในไอโซเลท YLCe15_07 พบว่าไพรเมอร์ที่ใช้ในการทดลองไม่มีความจำเพาะต่อยีน ACC1 ทำให้ไม่สามารถ วิเคราะห์ลำดับเบสที่เปลี่ยนไปได้ อย่างไรก็ตาม ยีสต์มีแนวโน้มถูกนำไปใช้ในการผลิตพลังงานชีวภาพ ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว
Other Abstract: Yarrowia lipolytica is well known for intracellular lipid accumulation. Y. lipolytica strain YLNatXynA, the engineered yeast, can produce xylanase but the ability of lipid accumulation is low. This research aims to enhance lipid accumulation by induced mutagenesis in Y. lipolytica strain YLNatXynA using ultraviolet irradiation. After 15 minutes of irradiation, 60 mutant isolates were found with 5-10 percentage of survival rate. Then, growing mutants were randomly selected by using yeast-peptone-dextrose (YPD) medium supplemented with 2 μg/ml cerulenin for this study. The Sudan black B staining revealed that strain YLCe15_03, YLCe15_05, YLCe15_07, YLCe15_09, and YLCe15_14 showed the highest oil droplets accumulation. The lipid content of YLCe15_07 (25.53 ± 2.72%) was higher than the wildtype strain (20.14 ± 1.95%) whereas the YLCe15_14 showed the lipid content of 16.27 ± 0.79%, which lower than the wildtype strain. While the lipid contents of YLCe15_03, YLCe15_05, and YLCe15_09 were significantly similar to the wildtype strain. The major fatty acid profiles of YLCe15_07 and YLCe15_14 composed of palmitic acid, palmitoleic acid, stearic acid, oleic acid, and linoleic acid which were similar to the wildtype strain. The YLCe15_07 was selected as a suitable candidate to study on DNA sequencing analysis of Acetyl Co-A Carboxylase1 gene. The result indicated that the designed primer was not specific to the ACC1 gene, so any changed base was not detected. However, yeast is most promising in the near and long term for bioenergy production.
Description: โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพันธุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2562
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78666
Type: Senior Project
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
62-SP-GENE-016 - Piyaporn Meesrikaew.pdf2.05 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.