Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78668
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorชานป์วิชช์ ทัดแก้ว-
dc.contributor.authorพิชญาวุฒิ กุมภิโร-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์-
dc.date.accessioned2022-05-25T07:32:25Z-
dc.date.available2022-05-25T07:32:25Z-
dc.date.issued2563-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78668-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563en_US
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์เรื่องนี้มุ่งศึกษาวิเคราะห์กลวิธีการดัดแปลงในบทละครเรื่อง วาสันติกสวัปนะของ R. Kṛṣṇamācārya และเปรียบเทียบกับ A Midsummer Night's Dream ของ Shakespeare โดยเฉพาะองก์ที่ 1 และองก์ที่ 2 วิธีดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็นสองส่วน ส่วนแรกคือการศึกษาวิเคราะห์กลวิธีการดัดแปลงให้เป็นละครสันสกฤต โดยใช้ตำรานาฏยศาสตร์เป็นหลักในการศึกษา ส่วนที่สองคือการศึกษาเปรียบเทียบเพื่อแสดงความเหมือนและความต่าง ผลการศึกษาพบว่า R.Krsnamacarya ได้ดัดแปลงบทละครเรื่อง A Midsummer Night’s Dream ให้เป็นบทละครสันสกฤตตามตำรานาฏยศาสตร์อย่างสมบูรณ์ คือ เป็นละครประเภทประกรณะ มีจำนวน 5 องก์ ครบถ้วนด้วยองค์ประกอบของละครสันสกฤต ได้แก่ บทนานที บทปรัสตาวนา บทประเวศกะ บทวิษกัมภกะ และบทภรตวากยะ ตัวละครใช้ภาษาตามสถานะของตน ฉันทลักษณ์ที่ปรากฎประกอบด้วยบทร้อยกรองและบทร้อยแก้วที่เปิดเผยให้เห็นความประณีตงดงามและความมีพลังของภาษาสันสกฤตสอดคล้องกับทฤษฎีอลังการ ทฤษฎีภาวะ ทฤษฎีรส ทฤษฎีกาวยคุณ และทฤษฎีวฤตติ ในการศึกษาเปรียบเทียบบทละครทั้ง 2 เรื่อง มีวิธีการดัดแปลงให้เป็นบทละครสันสกฤต 2 วิธีหลัก คือ การแปลตรงตามตัวบทและการแปลแบบอิสระ ซึ่งวิธีที่ 2 จำแนกได้ 3 วิธีได้แก่ การขยายความ การแปลง-ปรับรายละเอียด และการตัดทอน วิธีการทั้งหมดนี้สอดคล้องกับการดัดแปลงตามทฤษฎีการแปลของ Peter Newmark และข้อเสนอการแปลการอ้างถึงชื่อเฉพาะของ Ritva Leppihalme บางส่วนด้วย บทละครเรื่อง วาสันติหสวัปนะ จึงนับเป็นบทละครที่ทรงคุณค่าอย่างยิ่ง ทั้งในสถานะบทละครสันสกฤตและบทละครดัดแปลงen_US
dc.description.abstractalternativeThis thesis aims at analyzing the adaptation strategies of R. Krsnamācārya's Vāsantikasvapna and compare them with Shakespeare's A Midsummer Night's Dream, especially Acts I and II. The research method is divided into two parts. The first part is an analytical study of the adaptation of Sanskrit drama by using the Nātyaśāstra as the main study. The second part is a comparative study to significant similarities and differences. The results of the study reveal that R. Krsnamācārya completely converted A Midsummer Night's Dream into a Sanskrit drama based on Nātyaśāstra, namely: It is Prakarana, consisting of 5 acts, complete with elements of Sanskrit drama such as the Nāndī, Prastāvanā, Praveśaka, Viskambhaka and Bharatavākya. The characters use language according to their status. The prosody that appears consists of verse and prose that reveals the sensitivity and power of Sanskrit in harmony with the Alaṃkāra, Bhāva, Rasa, Kāvyaguṇa and Vṛtti.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2020.957-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectวาสันติกสวัปนะ-
dc.subjectวรรณคดีสันสกฤต-
dc.subjectการดัดแปลงเป็นละคร-
dc.subjectวรรณคดี -- การดัดแปลง-
dc.subjectVasantikasvapna-
dc.subjectSanskrit literature-
dc.subjectStage adaptations-
dc.subjectLiterature -- Adaptations-
dc.titleวาสันติกสวัปนะ : การดัดแปลง A Midsummer night's dream ของเชกสเปียร์เป็นละครสันสกฤตen_US
dc.title.alternativeVasantikasvapna : An adaptation of Shakespeare's a midsummer night's dream to Sanskrit dramaen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameอักษรศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineภาษาบาลีและสันสกฤตen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2020.957-
Appears in Collections:Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6080142222.pdfวิทยานิพนธ์ฉบับเต็ม (Fulltext)177.02 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.