Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78723
Title: เสถียรภาพของตัวเร่งปฏิกิริยาซีโอไลต์ในการสังเคราะห์ 5-ไฮดรอกซีเมทิลเฟอร์ฟิวรัล
Other Titles: Stability of zeolite catalysts in synthesis of 5-hydroxymethylfurfural
Authors: ศุภวิชญ์ เทียมหงษ์
ดอกอ้อ อินพา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Subjects: ตัวเร่งปฏิกิริยาซีโอไลต์
กลูโคส
Zeolite catalysts
Glucose
Issue Date: 2563
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ซีโอไลต์ (zeolite) เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาวิวิธพันธุ์ชนิดหนึ่งที่มีการศึกษาวิจัยอย่างแพร่หลายในการสังเคราะห์ 5-ไฮดรอกซีเมทิลเฟอร์ฟิวรัล (5- Hydroxymethylfurfural, HMF) จากกลูโคส จากงานวิจัยที่ศึกษาการดัดแปรสภาพตัวเร่งปฏิกิริยาซีโอไลต์ HUSY สำหรับการสังเคราะห์ HMF พบว่า HUSY เกรดการค้าที่มีอัตราส่วนโดยโมล SiO₂/Al₂O₃ เท่ากับ 5.5 (HUSY 5.5) ที่ผ่านการดัดแปรสภาพกรดโดยวิธีการล้างด้วยสารละลายกรดไนตริก (HNO₃) เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาที่เหมาะสม โดยให้การเปลี่ยนกลูโคส (glucose conversion) และผลได้ HMF (HMF yield) เท่ากับ 99.6% และ 65.6% ตามลำดับ แต่งานวิจัยดังกล่าวยังขาดการศึกษาเสถียรภาพของตัวเร่งปฏิกิริยา งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการฟื้นฟูสภาพและการใช้ซ้ำของตัวเร่งปฏิกิริยาซีโอไลต์ HUSY (5.5) สำหรับการสังเคราะห์ HMF จากกลูโคส ขั้นแรก ศึกษาการดัดแปรสภาพกรดของ HUSY (5.5) ด้วยสารละลาย HNO₃ ความเข้มข้น 0.1 โมลาร์ ที่อุณหภูมิ 80 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 2 ชั่วโมง และเผาที่อุณหภูมิ 500 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 6 ชั่วโมง จะได้ตัวเร่งปฏิกิริยาซีโอไลต์ HUSY ที่ดัดแปรที่ได้มาใช้ในการเร่งปฏิกิริยาการสังเคราะห์ HMF โดยใช้สารละลายกลูโคสที่มีความเข้มข้น 0.2 โมลาร์ ที่อุณหภูมิ 170 องศาเซลเซียส ความดัน 10 บาร์ เป็นเวลา 1 ชั่วโมง การศึกษาผลิตภัณฑ์ที่เกิดขึ้นในปฏิกิริยาใช้เทคนิค High performance liquid chromatography (HPLC) ตัวเร่งปฏิกิริยาที่ผ่านการใช้งานแล้ว (spent catalyst) จะผ่านกระบวนการฟื้นฟูสภาพโดยนำไปอบที่อุณหภูมิ 120 องศาเซลเซียส ข้ามคืน และเผาที่อุณหภูมิ 500 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 6 ชั่วโมง แล้วนำไปใช้ซ้ำในกระบวนการสังเคราะห์ HMF จากนั้นศึกษาลักษณะทางกายภาพและเคมีของตัวเร่งปฏิกิริยาที่ผ่านการใช้งานแต่ละครั้งด้วยเทคนิค X-ray diffraction (XRD) และ thermogravimetric analysis (TGA) พบว่าจากการใช้ซ้ำของตัวเร่งปฏิกิริยา HUSY ให้การเปลี่ยนกลูโคส และผลได้ HMF ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนี้พบว่าอาจมี Al₂O₃ เกิดขึ้นที่โครงร่างผลึกของซีโอไลต์ HUSY
Other Abstract: Zeolite is heterogenous catalyst that has researched popularly in synthesis of 5- hydroxymethylfurfural (HMF) from glucose. From the research modified HUSY zeolite in synthesis of HMF, it was found the commercial HUSY zeolite with a SiO₂/Al₂O₃ molar ratio of 5.5 (HUSY 5.5), which was modified by washing with nitric acid solution (HNO₃), was a suitable catalyst. Glucose conversion and HMF yield were 99.6% and 65.6%, respectively. But there are no research studies on stability of catalyst. The purpose of this study to regenerate and reuse HUSY (5.5) for synthesis of HMF from glucose. The first step is to prepare the modified HUSY (5.5) by 0.1 M HNO₃ solution at 80 °C for 2 h and calcination at 500 °C for 6 h. It will obtain modified HUSY zeolite. The second step is to use the modified HUSY zeolite in the synthesis of HMF from aqueous glucose solution (0.2 M) at 170 °C, pressure 10 bar for 1 h. The products from this reaction were analyzed by high performance liquid chromatography (HPLC). Regeneration of spent catalysts was done by drying the spent catalyst at 120 °C overnight and calcining at 500 °C for 6 h, then reused in the synthesis of HMF. The physicochemical properties of catalysts in each round were analyzed by X-ray diffraction (XRD), and thermogravimetric analysis (TGA). The spent catalysts showed a significant decrease in glucose conversion and HMF yield. Moreover, the spent catalyst was composed of Al₂O₃ on HUSY framework.
Description: โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต ภาควิชาเคมีเทคนิค คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2563
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78723
Type: Senior Project
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
63-SP-CHEMENG-006 - Suppawit Thiamhong.pdf26 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.