Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78812
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสริสา ณ ป้อมเพ็ชร์-
dc.contributor.authorเมษศิรินทร์ คนแรง-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์-
dc.date.accessioned2022-06-15T08:24:19Z-
dc.date.available2022-06-15T08:24:19Z-
dc.date.issued2562-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78812-
dc.descriptionโครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต ภาควิชาจุลชีววิทยา. คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2562en_US
dc.description.abstractเอนไซม์ไนเตรทรีดักเทส (nitrate reductase) มีรายงานว่ามีความเกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์อนุภาคนาโนเงิน (Silver nanoparticles, AgNPs) ทางชีวภาพ ในการศึกษานี้จึงสนใจไปที่การชักนำการหลั่งเอนไซม์ไนเตรทรีดักเทสและผลของการชักนำต่อกระบวนการผลิตอนุภาคนาโนเงินของเชื้อรา Aspergillus niger เริ่มจากการศึกษาความเหมือนกันของยีนไนเตรทรีดักเทสของ A.niger กับจุลินทรีย์ชนิดอื่น ๆ พบว่าไนเตรทรีดักเทสมีตำแหน่งอนุรักษ์ (conserved sequence) ที่พบได้ทั้งในเชื้อราและแบคทีเรีย โดยไนเตรทรีดักเทสของ A. niger มีความเหมือนกันกับไนเตรทรีดักเทสจาก Fusarium oxysporum มากที่สุดตามด้วย Aspergillus clavatus, Pseudomonas aeruginosa และ Bacillus clausii ตามลำดับ แสดงให้เห็นว่ายีนที่ถอดรหัสให้เอนไซม์ไนเตรทรีดักเทสในเชื้อราต่างชนิดกันมีตำแหน่งอนุรักษ์ (conserved sequence) ที่เหมือนกันมากกว่าในแบคทีเรีย การชักนำการหลั่งเอนไซม์ไนเตรทรีดักเทสโดยใช้สารละลายโพแทสเซียมไนเตรท (KNO₃) สามารถตรวจสอบได้โดยวิธี enzyme assay ซึ่งผลที่ได้คือสารละลายโพแทสเซียมไนเตรทควาเข้มข้น 25 มิลลิโมลาร์ สามารถชักนำการหลั่งเอนไซม์ไนเตรทรีดักเทสได้มากที่สุดและเมื่อตรวจสอบผลของการนำการหลั่งเอนไซม์ที่เกิดขึ้นต่อการสังเคราะห์อนุภาคนาโนเงินของเชื้อราโดยวัดปริมาณอนุภาคนาโนเงินที่ผลิตได้โดยใช้เทคนิค UV-visible-spectrometry พบว่าสารละลายโพแทสเซียมไนเตรทความเข้มข้น 20 มิลลิโมลาร์ สามารถสังเคราะห์อนุภาคนาโนเงินได้มากที่สุดโดยอนุภาคนาโนเงินที่สังเคราะห์ได้มีค่าการดูดกลืนแสง 400 นาโนเมตร จึงสรุปได้ว่าสารละลายโพแทสเซียมไนเตรทสามารถชักนำการหลั่งเอนไซม์ไนเตรทรีดักเทสได้และส่งผลให้เกิดการสังเคราะห์อนุภาคนาโนเงินที่มากขึ้นอีกด้วยen_US
dc.description.abstractalternativeNitrate reductase has been reported to be involved in the biosynthesis of silver nanoparticles (AgNPs). In this study, we focused on the induction of nitrate reductase in Aspergillus niger that might affect the synthesis of silver nanoparticles. First, the multiple alignment analysis of nitrate reductase gene in A. niger with other microbes showed many conserved sequences among fungi and bacteria. Nitrate reductase of A. niger was the most similar to Fusarium oxysporum, followed by Aspergillus clavatus, Pseudomonas aeruginosa, and Bacillus clausii, respectively. Next, we examined the effect of potassium nitrate (KNO₃) on the induction of nitrate reductase secretion by enzyme assay. The result showed that 25 mM of KNO₃ was the most effective concentration for the induction of nitrate reductase. Then the study of an effect of KNO₃-inducing nitrate reductase on the biosynthesis of silver nanoparticles showed that 20 mM of KNO₃ was the most effective concentration for the biosynthesis of silver nanoparticles. In summary, KNO₃ could induce nitrate reductase secretion and lead to a higher level of silver nanoparticles production than the uninduced condition.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectอนุภาคนาโนen_US
dc.subjectเงินไนเตรทen_US
dc.subjectเชื้อราen_US
dc.subjectNanoparticlesen_US
dc.subjectSilver nitrateen_US
dc.subjectFungien_US
dc.titleการชักนำการหลังเอนไซม์ไนเตรทรีดักเทสและผลต่อกระบวนการผลิตอนุภาคนาโนเงินของเชื้อราen_US
dc.title.alternativeInduction of Nitrate Reductase and Its Effect on Biosynthesis of Silver Nanoparticles Using Fungien_US
dc.typeSenior Projecten_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
62-SP-MICRO-029 - Metsirin Khonrang.pdf1.24 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.