Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78839
Title: | ทรานสเฟคชันของไมคอไวรัสใน Phytophthora botryosa |
Other Titles: | Mycovirus transfection in Phytophthora botryosa |
Authors: | ธนากร เดชโชติ |
Advisors: | วันชัย อัศวลาภสกุล |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ |
Subjects: | โรคเกิดจากเชื้อราในพืช เชื้อราน้ำ Fungal diseases of plants Aquatic fungi |
Issue Date: | 2563 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ไมคอไวรัส (Mycovirus) คือไวรัสที่ติดเชื้อและเพิ่มจำนวนในรา โดยพบได้อย่างแพร่หลายในราและ สิ่งมีชีวิตคล้ายรา ไมคอไวรัสส่วนใหญ่มีสารพันธุกรรมชนิดอาร์เอ็นสายคู่ โดยทั่วไปเมื่อราติดไวรัสมักจะไม่มีการ แสดงอาการ แต่ไวรัสบางชนิดมีความสามารถในการลดความรุนแรงของราในการก่อโรค ซึ่งในปัจจุบันนี้ได้รับความ สนใจเป็นอย่างมากในการนำมาใช้ควบคุมราก่อโรคพืช โดยในงานวิจัยนี้ผู้วิจัยได้ศึกษาไวรัสอาร์เอ็นเอสายคู่ในรา น้ำไอโซเลท R152 ซึ่งก่อโรคใบร่วงในต้นยางพาราที่เคยมีรายงานมาในงานวิจัยก่อนหน้านี้ จากการทดลองการทำ ราให้บริสุทธิ์ด้วยวิธีแยกสปอร์เดี่ยวพบว่าราน้ำไอโซเลท R152 มีไฟทอฟธอราและพิเทียมอยู่ร่วมกัน แต่ไฟทอฟ ธอราไม่สร้างสปอร์แรงเจียมจึงไม่สามารถแยกออกจากกันได้ ต่อมาผู้วิจัยได้สกัดสารพันธุกรรมจากสายใยของรา และพบสารพันธุกรรมที่คาดว่าเป็นอาร์เอ็นเอสายคู่ในไฟทอฟธอราจำนวน 2 แถบ ที่มีขนาดประมาณ 1.0 และ 0.8 กิโลเบส ซึ่งมีจำนวนและขนาดแตกต่างกับที่เคยมีรายงานไว้ก่อนหน้านี้ ดังนั้นผู้วิจัยจึงมีความสนใจที่จะทำการ ทดลองส่งผ่านสารพันธุกรรมที่คาดว่าเป็นอาร์เอ็นเอสายคู่ไปยัง Phytophthora botryosa เพื่อสร้างสายพันธุ์ไอ โซเจนิกทั้งที่มีและไม่มีไวรัส โดยพบว่าสามารถส่งผ่านสารพันธุกรรมที่คาดว่าจะเป็นอาร์เอ็นเอสายคู่จำนวน 2 แถบ ที่มีขนาดประมาณ 1.0 และ 0.8 กิโลเบส และจากการศึกษาลักษณะทางสัณฐานวิทยาของ P. botryosa ที่ถูก ส่งผ่านไวรัสพบการสร้างสปอร์แรงเจียมที่เพิ่มมากขึ้นกว่าในสายพันธุ์ปกติ ซึ่งการเพิ่มขึ้นของสปอร์แรงเจียมนั้นมี ความหมายว่าโอกาสในการก่อโรคที่เพิ่มขึ้นมากอีกด้วย แต่ทั้งนี้ยังไม่สามารถสรุปได้ว่าการสร้างสปอร์แรงเจียมที่ เพิ่มขึ้นเป็นผลมาจากไวรัสจริงหรือไม่ |
Other Abstract: | Mycovirus is a virus that infects and replicates in fungi. It can be found widely in fungi and fungal-like organisms. Most mycoviruses genome contain double-stranded RNA. When fungi were infected, they typically showed no signs. But some viruses were capable of decreasing (Hypovirulence) the severity of the phytopathogenic fungi which presently received a lot of interest in using mycovirus as an application for plant disease control. In this research, researcher studied the double-stranded RNA virus in an isolate R152, which cause leaf fall in para rubber tree (Hevea brasiliensis), which has been reported in the previous study. Isolation of fungi by single sporing technique was found that an isolate R152 was a co-culture of Phytophthora sp. and Pythium sp. Surprisingly, Phytophthora sp. was incapable of producing sporangia. Therefore, they cannot be separated. Screening for double-stranded RNA virus was conducted. An isolate R152 was found to carry elements those expected to be double-stranded RNA elements with estimated size of approximately 1.0 and 0.8 kb by agarose gel electrophoresis. The attempt to transmit the expected viral elements to Phytophthora botryosa virus-free strain was succeed. Therefore, the isogenic strains of P. botryosa both virus-containing and virus-free were generated. The morphology study of its isogenic strains showed the transmitted P. botryosa was increasing in sporangia production, which means a higher chance of phytopathogenic fungi to cause diseases. However, it cannot be concluded whether the increasing in sporangia production is an effect of mycovirus. |
Description: | โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2563 |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78839 |
Type: | Senior Project |
Appears in Collections: | Sci - Senior Projects |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
63-SP-MICRO-005 - Thanakorn Detechote.pdf | 30.34 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.