Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78842
Title: การประยุกต์ใช้หัวเชื้อแบคทีเรียผสมเพื่อส่งเสริมการย่อยสลายขยะพลาสติกพอลิแลคติก
Other Titles: Application of bacterial inoculum to enhance degradation of Polylactic acid plastic waste
Authors: ภาวิมล เพ็ชรประภา
Advisors: เอกวัล ลือพร้อมชัย
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Subjects: กรดโพลิแล็กติก
ขยะพลาสติก
ขยะ -- การย่อยสลายทางชีวภาพ
Polylactic acid
Plastic scrap
Refuse and refuse disposal -- Biodegradation
Issue Date: 2563
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: พอลิแลคติกแอซิด (PLA) เป็นพลาสติกชีวภาพที่กำลังได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในปัจจุบัน โดย ขยะพลาสติก PLA สามารถย่อยสลายได้ด้วยกระบวนการทางชีวภาพ แต่ใช้เวลานาน งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อคัดเลือกหัวเชื้อแบคทีเรียผสม (Microbial consortium) ที่มีความสามารถสร้างไบโอฟิล์มบนพื้นผิว พลาสติก PLA เพื่อใช้ส่งเสริมการย่อยสลายพลาสติก PLA โดยเริ่มจากการทดสอบการเจริญของแบคทีเรีย 5 ชนิด แล้วพบว่าแบคทีเรีย 3 ชนิด ได้แก่ Bacillus subtilis GY19, Gordonia amicalis JC11 และ Weissella cibaria PN3 ซึ่งเป็นแบคทีเรียแกรมบวก และมีความสามารถในการสร้างไบโอฟิล์มและผลิตสาร ลดแรงตึงผิวชีวภาพ (Biosurfactant) สามารถเจริญร่วมกันบนอาหารเลี้ยงเชื้อแข็ง Tryptone Soya Broth โดยโคโลนีมีลักษณะเป็นเมือกและเจริญทั่วจานอาหาร จึงนำแบคทีเรียทั้ง 3 ชนิด มาใช้เป็นหัวเชื้อแบคทีเรีย ผสม พบว่าหัวเชื้อแบคทีเรียผสมมีการเจริญได้ดีกว่าการเจริญแบบเชื้อเดี่ยว โดยมีจำนวน 1.1 x 109 CFU/mL เมื่อเพาะเลี้ยงเป็นเวลา 6 วัน นอกจากนั้นหัวเชื้อแบคทีเรียผสมสามารถสร้างไบโอฟิล์มในไมโครไทเทอร์เพลท ซึ่งคาดว่าจะช่วยส่งเสริมความสามารถในการเกาะของหัวเชื้อแบคทีเรียบนผิวของขยะพลาสติก PLA และ อาจจะเพิ่มความสามารถในการย่อยสลายพลาสติก PLA ต่อไป โดยในอนาคตจะนำหัวเชื้อแบคทีเรียผสมไป ทดสอบการย่อยสลายพลาสติก PLA โดยศึกษาปัจจัยต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อการย่อยสลาย PLA ได้แก่ ความเข้มข้น ของแหล่งคาร์บอนและไนโตรเจนที่เหมาะสม อุณหภูมิที่ใช้ในการย่อยสลาย ความเป็นกรดด่าง (pH) ของ อาหารเลี้ยงเชื้อ เป็นต้น นอกจากนี้ศึกษาการเปลี่ยนแปลงลักษณะพื้นผิวของพลาสติกที่เวลาต่างๆ ความรู้ที่ ได้จะนำไปใช้สำหรับการออกแบบระบบบำบัดขยะพลาสติกต่อไป
Other Abstract: Poly-lactic acid (PLA) is one of the most popular bioplastics available today. PLA plastic waste is degradable through biological process, but it takes a long time. The objective of this research was to select microbial consortium capable of producing biofilm on PLA substrates, which will promote the degradation of PLA plastic waste. The study started by investigating growth pattern of 5 bacterial strains and found that three bacteria including Bacillus subtilis GY19 Gordonia amicalis JC11 and Weissella cibaria PN3 grew well together on Tryptone Soya Broth solid culture media and formed slimy colonies over the agar surface. These bacteria are Gram-positive and have an ability to form biofilms and produce biosurfactants. Therefore, they were selected to use as a bacterial consortium. It was found that the bacterial consortium grew better than the single isolate. The number of mixed bacteria was 1.1 x 10⁹ CFU / mL when cultured for 6 days. In addition, the bacterial consortium formed biofilm in microthermal plates. It is expected to promote the bacterial attachment on the surface of PLA plastic waste and may further enhance its degradation. In the future, the bacterial consortium will be tested for plastics degradation and various factors that affect the degradation of PLA will be investigated such as an optimum concentration of carbon and nitrogen sources, optimum temperature, acidity and alkalinity (pH) of the culture media and etc. In addition, the changes of plastic surface will be monitored over time. The acquired knowledge will be used for designing a plastic waste treatment process.
Description: โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2563
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78842
Type: Senior Project
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
63-SP-MICRO-015 - Phawimol Petchprapa.pdf34 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.