Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78848
Title: แอนตาโกนิสติกแบคทีเรียเพื่อยับยั้ง Marasmius sp. ที่ก่อโรคในปาล์ม
Other Titles: Antagonistic bacteria against Marasmius sp., pathogenic fungus of oil palm
Authors: ณัฐมณ วาจรัส
Advisors: ปาหนัน เริงสำราญ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Subjects: ปาล์ม -- โรคและศัตรูพืช
เชื้อราปฏิปักษ์
โรคเกิดจากเชื้อราในพืช
Palms -- Diseases and pests
Antagonistic fungi
Fungal diseases of plants
Issue Date: 2562
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้มุ่งหาแบคทีเรียที่มีความสามารถในการยับยั้ง Marasmius sp. ที่ก่อโรคทะลายเน่าใน ปาล์มน้ำมัน โดยนำแบคทีเรีย 10 สายพันธุ์ มาทดสอบความสามารถในการยับยั้งราด้วยวิธี dual culture พบว่าแบคทีเรียที่มีความสามารถในการยับยั้ง Marasmius sp. ได้สูงที่สุดสามอันดับแรกคือ สาย พันธุ์ M27, M25 และ M22 ซึ่งมีเปอร์เซ็นต์การยับยั้ง 22.34, 21.99 และ 19.86 % ตามลำดับ ดังนั้นจึง นำแบคทีเรียทั้ง 3 สายพันธุ์ไปทดสอบความสามารถของน้ำเลี้ยงเชื้อที่ปราศจากเซลล์ในการยับยั้งรา ซึ่ง พบว่าน้ำเลี้ยงเชื้อที่ปราศจากเซลล์ของแบคทีเรียสายพันธุ์ M27 มีเปอร์เซ็นต์การยับยั้ง 65.59% รองลงมาคือสายพันธุ์ M25 ซึ่งมีเปอร์เซ็นต์การยับยั้ง 62.37% และสายพันธุ์ M22 ซึ่งมีเปอร์เซ็นต์การ ยับยั้ง 55.91% จากนั้นนำแบคทีเรียทั้ง 3 สายพันธุ์ ไปทดสอบเพื่อหาภาวะที่เหมาะสมต่อประสิทธิภาพ ในการยับยั้งรา พบว่าอาหารเลี้ยงเชื้อที่ทำให้แบคทีเรียมีประสิทธิภาพสูงสุดในการยับยั้ง Marasmius sp. คือ อาหาร LB โดยแบคทีเรียที่มีความสามารถในการยับยั้งรามากที่สุดคือ สายพันธุ์ M27 โดยมีเปอร์เซ็นต์ การยับยั้งสูงถึง 65.59%, รองลงมาคือ สายพันธุ์ M25 ซึ่งมีเปอร์เซ็นต์การยับยั้งเท่ากับ 62.37% และสาย พันธุ์ M22 ซึ่งมีเปอร์เซ็นต์การยับยั้งเท่ากับ 55.91% จากนั้นทดสอบเพื่อหา pH ของอาหาร LB ที่ เหมาะสมต่อประสิทธิภาพในการยับยั้ง Marasmius sp. ซึ่งพบว่าค่า pH ของอาหาร LB เท่ากับ 7 ทำให้ แบคทีเรียมีประสิทธิภาพสูงสุดในการยับยั้งรา โดยแบคทีเรียที่มีความสามารถในการยับยั้งรามากที่สุดคือ สายพันธุ์ M27 ที่แสดงเปอร์เซ็นต์การยับยั้งสูงสุดคือ 67.78%, รองลงมาคือ สายพันธุ์ M25 ที่มีเปอร์เซ็นต์ การยับยั้งเท่ากับ 62.23% และสายพันธุ์ M22 ที่มีเปอร์เซ็นต์การยับยั้งเท่ากับ 61.11% งานวิจัยนี้ทำให้ ทราบถึงความสามารถของแบคทีเรียทั้งสามสายพันธุ์ในการยับยั้ง Marasmius sp. ที่ก่อโรคในต้นปาล์ม น้ำมัน และทราบถึงภาวะเบื้องต้นที่ส่งเสริมความสามารถในการยับยั้งราของแบคทีเรีย ที่อาจนำไปปรับใช้ เพื่อการควบคุมราที่ก่อโรคในพืชได้ต่อไป
Other Abstract: This research aimed to find bacteria that have ability to inhibit Marasmius sp. that causes Marasmius bunch rot in oil palm. Ten strains of bacteria were tested for their antifungal abilities using dual culture assay. The result found that top three bacteria that showed the highest antifungal ability against Marasmius sp. were strain M27, M25 and M22 with percentage of inhibition at 22.34, 21.99 and 19.86%, respectively. Therefore, these 3 bacterial strains were further evaluated for the antifungal activity using cell free supernatant. The result showed that the cell free supernatant of strain M27 gave the highest percentage of inhibition against Marasmius sp. at 65.59%, followed by strain M25 with 62.37% and strain M22 with 55.91% inhibition. After that, suitable media and pH conditions for these 3 strains to yield effective inhibition against Marasmius sp. were tested. It was found that LB medium gave the highest antifungal activity for all tested strains with 65.59%, 62.37% and 55.91% inhibition by strain M27, M25 and M22, respectively. Then pH of LB medium was varied, and it was found that pH 7 showed the highest inhibition against Marasmius sp. with 67.78%, 62.23% and 61.11% inhibition by strain M27, M25 and M22, respectively. This research demonstrated the ability of the three bacterial strains to inhibit Marasmius sp. which causes disease in oil palm, and obtained basic conditions that enhance antifungal ability of bacteria which may be applied to control fungal plant pathogens.
Description: โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต ภาควิชาจุลชีววิทยา. คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2562
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78848
Type: Senior Project
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
62-SP-MICRO-008 - Nattamon Vajaras.pdf2.75 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.